͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.04 อ่อนค่าจากช่วงเช้า นลท.  (อ่าน 16 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.04 อ่อนค่าจากช่วงเช้า นลท.จับตาผลประชุมเฟดวันพรุ่งนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.04 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.95/98 บาท/ดอลลาร์

วันนี้บาทค่อนข้าง sideway ตามแรงซื้อแรงขายในตลาดทั่วไป โดยระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ เนื่องจากตลาดรอดูผล การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในคืนพรุ่งนี้เป็นหลัก โดยระหว่างวันบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 32.96 - 33.08 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ที่ 32.90 - 33.15 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.07 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.80 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1289 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1317 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,639.09 จุด ลดลง 1.45 จุด, -0.09%
สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,376.49 ลบ.(SET+MAI)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวง
การคลัง (กค.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสิน
ทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทาง
การเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า
และบริการตั้งแต่วันนี้ - 8 ก.พ. 65 จากนั้นจะรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อออกเป็นประกาศต่อไป
วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ภาคส่งออกจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในปี 65 โดยคาดว่าจะขยายตัว
4.5% ในส่วนภาคท่องเที่ยวแม้ยังฟื้นช้า แต่จะได้แรงหนุนจากทางการนำมาตรการ Test&Go กลับมาใช้อีกครั้งต้นเดือนก.พ.65
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดส่งออกไทยในปี 2565 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
โดย EIC ประเมินส่งออกเติบโตที่ 3.4% ในปีนี้ จากอานิสงส์ของการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
กับน้ำมันที่อาจเพิ่มสูงขึ้น และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท ประกอบกับประโยชน์จากการเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนมกราคม ที่จะทำให้ไทยเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่การผลิตได้มากขึ้น ผ่านการลดภาษีนำ
เข้าสินค้าและการลดมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีการค้าโลก ทำให้การส่งออกของ
ไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.9% ภายในปี 2573
รายงานมุมมองเศรษฐกิจประจำไตรมาสของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) คาดว่า
ภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังคงแข็งแกร่งในปี 2565 แม้จะมีความท้าทายใหม่ ๆ จากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เริ่มระบาดเมื่อปลายปี
2564 จนทำให้เกิดความไม่แน่นอน และชะลอความคืบหน้าในการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี อัตราการฉีดวัคซีนในระดับสูงที่
ผ่านมาช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการล็อกดาวน์ทั่วประเทศแบบเดียวกับในช่วงแรก ๆ ของการระบาดได้
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในวันนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน โดยระบุว่า
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในภูมิภาคต่าง ๆ กำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ประกาศใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินในวันนี้ ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการ
เงิน โดยการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินครั้งนี้เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากเงินเฟ้อ หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งขึ้นและเกิดภาวะคอขวดด้านอุปทานทั่วโลก