͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “จุรินทร์”เคาะงบกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร 2,500 ล้าน ใช้ดูแลสินค้า 10 กลุ่มในปี 65  (อ่าน 120 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 250) ผ่านระบบ Zoom เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยมีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม

น.ส.รัชดากล่าวว่า นายจุรินทร์ได้ให้นโยบายการดูแลเกษตรกรภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องเป็นไปอย่างครอบคลุม เข้าถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว และดูแลอย่างเป็นธรรม โดยในปีงบประมาณ 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 2,562 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือสินค้าเกษตร 10 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ผลไม้ พืชหัว พืชผัก ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ ประมง กล้วยไม้

สำหรับการช่วยเหลือ จะดำเนินการผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ 1.เพิ่มช่องทางระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต 2.เสริมสภาพคล่องด้านเงินทุน ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ในการรับซื้อผลผลิตจากการเกษตรกรเพื่อจำหน่ายหรือเก็บสต๊อกไว้รอจำหน่าย 3.สร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มการบริโภค กระตุ้นการบริโภค 4.ผลักดันและบริหารจัดการส่งออก เพื่อลดอุปทานส่วนเกินในประเทศ 5.ส่งเสริมด้านปัจจัยการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพปรับคุณภาพและด้านทุนการผลิต ทั้งนี้ จะมีการกำหนดราคาเป้าหมายสินค้าเกษตรปี 2565 เพื่อกองทุนฯ จะได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ส่วนผลการดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2563-15 ก.ค.2564 กองทุนฯ ได้จัดสรรงบประมาณไปแล้ว 2,100 ล้านบาท ในการดูแลเกษตรกรในกลุ่มสินค้าผลไม้ ไข่ไก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน พืชหัว พริก ข้าวเหนียว ปศุสัตว์ ประมง เป็นการช่วยเหลือผ่านการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าออกนอกแหล่งผลิต ผลักดันการส่งออก และชดเชยดอกเบี้ยเพื่อการชะลอการจำหน่ายโดยการเก็บสต๊อก