͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ฉีดวัคซีนช้า-เดลตาระบาด' ทุบภาคการผลิตอาเซียน  (อ่าน 132 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การสำรวจโรงงานหลายระลอกในสัปดาห์นี้ชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ดิ่งลงอย่างรวดเร็วในเดือน ก.ค. ตรงข้ามกับในเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแถบเอเชียตะวันเฉียงเหนือและตะวันตก ที่แม้ภาคธุรกิจเติบโตชะลอลงแต่ก็ยังขยายตัว

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากร 600 ล้านคน สะดุดลงเพราะโควิดระบาด ถูกซ้ำเติมด้วยการฉีดวัคซีนช้า รัฐบาลนานาประเทศดิ้นรนหาวัคซีนและออกมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้โรงงานหลายแห่งร้างไร้คนงาน กระทบไปถึงเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ฟื้นตัวเร็วแห่งหนึ่งของโลก หลังจากที่ต้านทานวิกฤติเศรษฐกิจโลกอันหลายหลายในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาได้ เนื่องจากมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งเป็นวงกว้าง และอยู่ติดกับจีน

นักเศรษฐศาสตร์จากเอชเอสบีซีเตือนว่า อัตราการฉีดวัคซีนต่ำในอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย รวมถึงประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอนของวัคซีนที่ฉีดทำให้ประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง

“นี่หมายความว่า ประชากรในประเทศเหล่านี้อาจยังคงเสี่ยง ไม่เพียงแค่กับการระบาดปัจจุบัน แต่ยังเสี่ยงกับการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ข้อจำกัดการเดินทางมีแนวโน้มคงอยู่ต่อไป ส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น” เอชเอสบีซีระบุ

สำหรับผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสามารถในการแข่งขันส่วนใหญ่มาจากต้นทุนค่าแรงถูก และเข้าถึงวัตถุดิบได้ ผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ที่มีต่ออุปทานแรงงานส่งผลให้เกิดคอขวดในการผลิตครั้งใหญ่

ในไทยผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของเอเชีย และเป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์ใหญ่ระดับโลก เมื่อเดือน ก.ค.โตโยต้ามอเตอร์คอร์ป ระงับการผลิตที่โรงงานสามแห่งเนื่องจากอะไหล่ขาดแคลนเพราะโควิดระบาด


บริษัทสยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ผู้ส่งออกผลไม้แปรรูปของไทย ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติสูงมาก โดยเพิ่งหาคนงานได้ 400 ตำแหน่งจาก 550 ตำแหน่งเท่านั้น เนื่องจากคนงานกลับประเทศไปแล้วยังมาไทยไม่ได้เพราะยังไม่เปิดพรมแดน

“แต่ละวันมีผลไม้ถึง 350 ตันแต่เราแปรรูปได้แค่ 250 ตัน เพราะแรงงานไม่พอ ความต้องการในตลาดส่งออกอย่างสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักมีสูงมาก แต่ปัญหาตอนนี้อยู่ที่การผลิต” กัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานกรรมการบริษัทกล่าว

ในเวียดนาม ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานบริษัทระดับโลกหลายแห่ง อาทิ ซัมซุง ฟ็อกซ์คอนน์ และไนกี้ บริษัทที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจำเป็นต้องกักตัวคนงาน ด้วยการให้นอนค้างที่โรงงานยามค่ำคืนไม่ต้องออกไปที่อื่น

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติรัฐบาลเวียดนามเมื่อสัปดาห์ก่อน พบว่า การควบคุมการเดินทางอย่างเข้มงวดในหลายเมืองและหลายจังหวัดทางตอนใต้เมื่อเดือน ก.ค. ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างรวดเร็ว

ในมาเลเซีย ที่ผลิตถุงมือยางป้อนตลาดโลกราว 67% การล็อกดาวน์ทำให้ต้องระงับการผลิตในเดือน มิ.ย.และ ก.ค.

สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซียต้องร้องขอต่อรัฐบาลให้กลับมาผลิตได้อีกโดยให้เหตุผลว่า เป็นห่วงผู้ซื้อทั่วโลก รัฐบาลจึงยอมผ่อนคลายอนุญาตให้คนงานกลับมาทำงานได้ 60% ตอนนี้สมาชิกเรียกร้องขอกลับมาปฏิบัติการเต็มรูปแบบ

ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในที่อื่นๆ ด้วย เช่น อินฟินอนเทคโนโลยีส์ บริษัทผลิตชิพจากเยอรมนี คาดว่าต้องเสียหายหลายสิบล้านดอลลาร์จากการปิดโรงงานในมาเลเซีย ส่งผลต่อเนื่องไปถึงลูกค้าผลิตรถยนต์ของบริษัท

แดเนียล เบิร์นเบค ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) หอการค้าและอุตสาหกรรมมาเลเซีย-เยอรมนี กล่าวว่า ระเบียบกักตัวอันเข้มงวดของมาเลเซียยังทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่จำเป็นมากในบริษัทเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์เข้ามาเลเซียได้ยาก นักวิเคราะห์เตือนว่า ความเสี่ยงนี้จะสร้างความเสียหายมากยิ่งกว่าแค่การผลิต

ด้านมูดีส์อินเวสเตอร์เซอร์วิส กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจกระจุกตัวและสถาบันต่างๆ อ่านแอจะได้รับความเสียหายหนักสุด ได้แก่ เขตเศรษฐกิจที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ความเสียหายร้าวลึกมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงทางสังคม

“ในเขตเศรษฐกิจเหล่านี้บางแห่ง การมีภาระหนี้สูงทำให้รัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลังรับมือการแพร่ระบาดได้อย่างจำกัด” มูดีส์ย้ำ

ด้านวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานเมื่อวันจันทร์ (2 ส.ค.) อ้างข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ขณะที่ประชากรในเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้วฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเกือบ 40%เขตเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ยังฉีดได้ไม่ถึงครึ่งของตัวเลขดังกล่าว

บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต่ำกว่านั้นด้วยซ้ำ เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วราว 8% ในไทยราว 6%

“กลยุทธ์สกัดโควิดปี 2563 เป็นกลยุทธ์ไม่ยั่งยืนเมื่อเวลาผ่านไป เพราะทำได้แค่ซื้อเวลาเท่านั้น” จินห์ เหวียน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารเพื่อการลงทุน Natixis ในฮ่องกงกล่าว

เมื่อต้นเดือน มิ.ย. มาเลเซียสั่งปิดโรงงานในภาคส่วนไม่จำเป็น เช่น โรงงานเสื้อผ้า หลังเกิดโควิดระบาดในสถานประกอบการหลายระลอก

ตัน เทียนโปห์ ประธานบริษัทผลิตเสื้อผ้าเอเชียแบรนด์ส จำกัด กล่าวว่า ระเบียบดังกล่าวหมายถึงเขาไม่สามารถผลิตเสื้อผ้าได้ถึงสองเดือน การส่งมอบให้ผู้ซื้อต่างชาติต้องล่าช้าถ้าเป็นเช่นนั้นลูกค้าก็อาจเปลี่ยนไปหาซัพพลายเออร์จากประเทศอื่นแทน

“ความไม่แน่นอนนี้ส่งผลกระทบกับพวกเราอย่างรุนแรงมากๆ” นักธุรกิจมาเลเซียกล่าวทิ้งท้าย