͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ขาใหญ่' ลดพอร์ตลงทุนหุ้น หวั่นโควิดลากยาวฉุดดัชนีร่วง  (อ่าน 185 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ความเคลื่อนไหวดัชนีหุ้นไทยวานนี้ (20 ก.ค.) เปิดตลาดปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยร่วงหนักช่วงปิดตลาดภาคเช้าลดลง 25.39 จุด อยู่ที่ 1,530.62 จุด ก่อนรีบาวด์ในช่วงบ่าย กลับมาปิดตลาดที่ 1,538.86 จุด ลดลง 17.15 จุด หรือ 1.10% มูลค่าซื้อขาย 92,956.58 ล้านบาท

นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 5,410.89 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 811.83 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,062.54 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อสุทธิ 5,160.17 ล้านบาท

นายวัชระ แก้วสว่าง นักลงทุนรายใหญ่ ที่เน้นกลยุทธ์การลงทุนเชิงเทคนิค กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลงหลุดแนวรับทางเทคนิคต่อเนื่อง ตั้งแต่แนวรับ 1,585 จุด และล่าสุดแนวรับ 1,546 จุด โดยตนมองแนวรับดัชนีถัดไปที่ 1,515-1,500 จุด ตามลำดับ และในกรณีเลวร้ายที่สุดไม่ควรหลุด 1,483 จุด เพราะจะส่งผลให้ตลาดหุ้นพลิกกลับไปเป็นขาลง

ขณะที่การลงทุนส่วนตัวได้ลดน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยตั้งแต่ดัชนีหลุดแนวรับ 1,585 จุดไปแล้ว ส่วนโอกาสที่ดัชนีจะปรับขึ้นอีกครั้งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายเพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน


นายนิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนรายใหญ่แบบเน้นคุณค่า (นักลงทุนวีไอ) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลงตอบรับความเสี่ยงที่สถานการณ์โควิด-19 ลุกลามและมีการติดเชื้อเพิ่ม รวมถึงความกังวลมาตรการล็อกดาวน์อาจมีความเสี่ยงต้องขยายออกไปอีก อย่างไรก็ดี เชื่อว่าท้ายที่สุดสถานการณ์จะสงบลงได้ เพราะโควิด-19 เป็นวิกฤติที่ประเทศขนาดใหญ่เผชิญเช่นกัน จึงมีการส่งต่อความช่วยเหลือมายังประเทศขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำ ขณะที่การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้วิกฤติจบลง

ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นในระยะสั้นคาดว่านักลงทุนจะยังขายหุ้นเพราะตื่นตระหนก และมีความเสี่ยงที่ดัชนีอาจหลุดแนวรับ 1,500 จุด แต่เชื่อว่าจะสามารถปรับขึ้นได้ในระยะถัดไป

ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในระยะยาวยังสามารถลงทุนได้ เพราะบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไม่ได้เจ็บหนักจากโควิด-19 แต่สำหรับกลุ่มที่ถูกผลกระทบจากการระบาดโดยตรง เช่น กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มโรงแรม ยังไม่แนะนำลงทุน เพราะหากสถานการณ์โควิด-19 ลากยาวจะเป็นความเสี่ยงให้ถึงจุดหนึ่งหุ้นกลุ่มนี้ต้องเพิ่มทุนหรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น


 นายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาด และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า หุ้นไทยปรับฐานรอบนี้ จากการแพร่ระบาด โควิด -19 สายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงขึ้นทั่วโลกและไทย โดยยอดผู้ติดเชื้อในไทยยังไม่เห็นจุดสูงสุด และยกระดับมาตรการล็อกดาวน์ ยังต้องติดตามผลในช่วง 2 สัปดาห์ถึง1 เดือน ว่ายอดผู้ติดเชื้อในไทยจะลดลงได้หรือไม่

       ประกอบกับตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงมาหลังจากปรับขึ้นมาต่อเนื่องก่อนหน้านี้ และค่อนข้างอ่อนไหวต่อปัจจัยการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าทั่วโลกกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก  ทำให้มีผลต่อราคาตลาดหุ้นในสหรัฐและยุโรป แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงการระบาดรอบนี้ไม่รุนแรงเท่าปีก่อน เพราะสหรัฐและยุโรป มีประชากรที่ได้รับวัคซีนไปมากกว่าครึ่งของประชากรแล้ว ทำให้อัตราการเสียชีวิตและยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังอยู่ระดับต่ำ และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดน่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป มีโอกาสเลื่ือนการลดคิวอีออกไปได้  

        ดังนั้น เรายังมองว่า ตลาดหุ้นไทยปรับฐานรอบนี้แค่ระยะสั้นและไม่น่ากลัว เท่าช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนหากดัชนีรอบนี้ยังยืนที่ระดับ 1,530 จุด บวกลบต่อได้ โดยยังมีอัพไซด์ปลายปีนี้คาดไว้ที่1,600 จุด  กลุ่มหุ้นที่น่าสนใจลงทุนขณะนี้เปลี่ยนโหมดมาเป็นหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตและปรับตัวลงกว่า คือ กลุ่มเทคโนโลยี  และกลุ่มส่งออก ที่ได้ประโยชน์จากผลประกอบการปรับตัวดีต่อเนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าและการส่งออกขยายตัวสูง 

       แต่การเข้าลงทุนหุ้นไทยยังต้องระมัดระวังรอความชัดเจนของสถานการณ์คุมการแพร่ระบาดรอบนี้ เพราะตอนนี้ยังคาดเดายากว่ายอดผู้ติดเชื้อรายวันจะทะลุ 20,000คนหรือไม่ยังเป็นความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นไทย

       นายวิริยะชัย จิตตวัฒนรัตน์   รองผู้อำนวยการฝ่าย กลยุทธ์การลงทุน ไพรเวทเมเนจท์เม้นท์ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เราแนะนำนักลงทุนปรับลดน้ำหนักการลงทุน (Underweight)หุ้นไทย โดยคาดแนวโน้มหุ้นไทยมีแนวรับทางเทคนิคที่ 1,500จุด    หลังจากการระบาดอย่างหนักของ โควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า รอบล่าสุดส่งผลไปถึงการประกาศล็อดดาวน์  ทำให้เรามองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มซบเซาหนักและยาวนานกว่า โดยมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจจะไม่ขยายตัวเลย ซึ่งสุดท้ายจะสะท้อนในการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่แย่ลงในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้   แต่สิ้นปีนี้ยังมองแนวโน้มดัชนีที่ 1,600จุด หากสามารถคุมการแพร่ระบาดคลี่คลายได้และตลาดต่างประเทศปรับฐานระยะสั้น 

นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลงต่อเนื่องจากวันทำการแรกของสัปดาห์ (19 ก.ค.) โดยถูกกดดันจากการขยายมาตรการล็อกดาวน์และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังทรงตัวสูงที่ 1.1 หมื่นราย รวมถึงแรงขายตามข่าว (Sell on Fact) ภายหลังบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศกำไรไตรมาส 2 ปี 2564 นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับลงล้อกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปิดลบจากความกังวลไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรง

อย่างไรก็ดี ระยะข้างหน้าคาดว่าดัชนีหุ้นจะเริ่มปรับลงอย่างจำกัด เพราะกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักต่อดัชนีสูง ราคาหุ้นได้ปรับลงไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร และกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวกับการเปิดเศรษฐกิจ (Reopening) และประเมินแนวรับดัชนีที่ 1,530 จุด และถัดไปที่บริเวณ 1,510-1,500 จุด ตามลำดับ ดังนั้น การลงทุนจึงแนะนำสะสมหุ้นบริเวณแนวรับเพื่อรอขายในช่วงที่ดัชนีฟื้นตัว

“เราไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวลงต่อเนื่องแบบไม่มีแนวรับ เพราะได้แรงหนุนจากกำไรบจ.ไตรมาส 2 ที่ออกมาดี รวมถึงปัจจัยบวกจากเงินเยียวยาเศรษฐกิจของรัฐบาล และความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีน ยกเว้นในกรณีเลวร้ายที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตต้องหยุดนิ่ง คาดว่าดัชนีจะหลุดแนวรับ 1,500 จุด และเลวร้ายสุด 1,300 จุดอาจเอาไม่อยู่”