͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: พาณิชย์วอน ลดการตื่นตระหนก ของมีเพียงพอ ไม่ต้อง กักตุนสินค้า  (อ่าน 515 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14907
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
กักตุนสินค้า - วันที่ 16 มี.ค. นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน (คน. ) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น แม็คโคร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย บริษัท ยูนิลิเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เพื่อติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภค ว่า จากกระแสความต้องการสินค้าของประชาชนที่มีเพิ่มขึ้น

จากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีสินค้าหายจากชั้นวางของนั้น กรมได้เชิญผู้ประกอบการกว่า 56 ราย มาหารือและสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชน ลดการตื่นตระหนก ไม่เร่งกักตุนสินค้าโดยให้ความมั่นใจว่าสินค้ายังมีเพียงพอและกำลังการผลิตยังสามารถผลิตเพื่อกระจายสินค้าให้กับตลาดได้อย่างแน่นอน

เฟกนิวส์ทำแตกตื่น คนแห่กักตุนสินค้า กวาดอาหารแห้ง น้ำเกลี้ยงชั้น
นายประโยชน์ กล่าวว่า จากการติดตามสต๊อกสินค้าภายหลังประชาชนแห่ซื้อสินค้ามากักตุน จนสินค้าหลายรายการไม่มีในชิ้นวางของ จากการหารือผู้ประกอบการต่างยืนยันสินค้ายังไม่ขาดแคลน และยังมีเพียงพอสำหรับประชาชน แต่สินค้าที่หายออกไปจากชั้นวางของนั้นเกิดจากการเติมสินค้า และการขนส่งสินค้าที่ล่าช้าไปบ้าง

แต่ยืนยันว่าสินค้ายังมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ส่วนกำลังการผลิตปัจจุบันยังคงมีอยู่ 70% และผู้ผลิตยืนยันว่ายังเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 30% หากประชาชนมีความต้องการสินค้า เช่น อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร ปลากระป๋อง และกระดาษทิชชู เป็นต้น พร้อมที่จะเพิ่มการผลิตได้

ส่วนกรณีที่ห้างสรรพสินค้าบางแห่ง ได้จำกัดการซื้อ หรือปิดป้าย สินค้ามีจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย ระบุ อาจจะต้องไปปรับวิถีการสื่อสารกับห้างสรรสินค้าใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นตระหนก และเร่งการซื้อเพื่อนำไปกักตุน เพราะกังวลว่าสินค้าจะขาดแคลนด้วย

สำหรับการแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน ขณะนี้ ได้เร่งให้โรงงานผลิตทั้ง 11 แห่ง เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่ง ขณะนี้สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ 1.7 ล้านชิ้นต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 ล้านชิ้นในสัปดาห์นี้ซึ่งจะทำให้การจัดสรรหน้ากากอนามัยไปยังหน่วยงานที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงพยาบาล

บิ๊กตู่ประชุมศูนย์โควิด บิ๊กป๊อกสั่งกำนัน-ผญบ.รับมือโควิด โยน พณ. แจงปมกักตุนสินค้า
ส่วนการส่งออกอนามัยยืนยันว่า อนุญาตให้ส่งออกตามเงื่อนไขและความจำเป็นเท่านั้น เช่น สินค้าที่ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ และสินค้าที่ติดลิขสิทธิ์โดยที่ผ่านมาอนุญาตให้มีการส่งออกแล้วกว่า 12 ล้านชิ้นจากที่ขอส่งออก 53 ล้านชิ้น ส่วนอื่นๆยังไม่มีการอนุญาตแต่อย่างใด

ด้านนายฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า สถานการณ์ของโควิด-19 แตกต่างจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ซึ่งตอนน้ำท่วมนั้น โรงงานต้องปิดการผลิต การขนส่งไม่สามารถทำได้ จึงทำให้สินค้าไม่เพียงพอ ต่างจากสถานการณ์โควิด-19 เพราะยังสามารถผลิตสินค้าได้ตามปกติจึงไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้ากักตุน และอยากให้ภาครัฐสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อลดความตื่นตระหนก

โดยขณะนี้กำลังการผลิตของผู้ประกอบการเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70-80 และยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ โดยสต๊อกสินค้าอุปโภคบริโภค เวลานี้เฉลี่ยมีล่วงหน้า 15-30 วัน โดยเฉพาะสินค้าข้าวได้รับการยืนยันว่า ยังมีจำหน่ายเพียงอย่างน้อย3เดือน