คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย -คอร์สติวสอบ 9 วิชาสามัญ 9 วิชาสามัญ คือ ระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางเคยมีชื่อว่า "7 วิชาสามัญ" มาก่อน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มวิชาเข้ามา 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1. วิชาภาษาไทย
2. วิชาสังคมศึกษา
3. วิชาภาษาอังกฤษ
4. วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5. วิชาฟิสิกส์
6. วิชาเคมี
7. วิชาชีววิทยา
8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9. วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา) เป็นข้อสอบที่ออกโดย สทศ (สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ) เช่นเดียวกับ GAT PAT
การสอบ 9 วิชาสามัญนั้น ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า ม.6 ขึ้นไป (เด็กซิ่วสามารถสอบได้) โดยมีวิชาให้เลือกสอบทั้งหมด 9 วิชา ให้เวลาสอบวิชาละ 90 นาที (1.5 ชม.) แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง 9 วิชา ซึ่งคนสอบจะต้องตรวจสอบกับทางคณะ มหาวิทยาลัยที่เรายื่นคะแนนว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง
หัวข้อ Admission 9 วิชาสามัญ
ข้อสอบ O-Net
ใช้คำนวณคะแนนด้วย
ไม่ใช้คำนวณคะแนน
GPA
นำมาคิดคะแนนด้วย ทำให้เด็กจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงเสียเปรียบ
ไม่นำมาคิดคะแนน แต่จะกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเอาไว้แทน ถ้าเกรดสูงกว่าเกณฑ์ก็สามารถยื่นคะแนนได้
สัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชา
เท่ากันหมด
สัดส่วนคะแนนแต่ละวิชาไม่เท่ากัน เช่น คณะวิศวะอาจจะให้สัดส่วนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิชาอื่นๆ
ความยากของข้อสอบ
ยากกว่ามาก ทำให้คะแนนสอบของนักเรียนทั่วประเทศไม่ค่อยกระจาย
ง่ายกว่า คะแนนกระจายกว่า
วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
Admission รวมวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ เข้าเป็นวิชาเดียวกันคือ PAT2 เลือกแยกสอบไม่ได้ต้องสอบรวมกันหมด มีปัญหากับคณะสถาปัตย์บางมหาลัยไม่ต้องการให้สอบเคมี
เลือกสอบได้ อิสระกว่า
หลักๆ ก็จะมีทั้งหมด 27 มหาวิทยาลัย ที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญยื่นคะแนน ได้แก่
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ทั้งนี้ บางมหาวิทยาลัยอาจจะเลือกใช้ข้อสอบอื่นๆ ได้ตามแต่ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องศึกษาระเบียบการก่อนการสมัครรับตรงตามโครงการต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง