อาการปวดหลังจากการนั่งทำงานบน
เก้าอี้สำนักงานเกิดขึ้นได้บ่อยมาก โดยเฉพาะชาวออฟฟิศ หรือผู้ที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ การศึกษาถึงท่านั่งที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ลงได้อย่างดี แต่จะต้องนั่งอย่างไรบ้างนั้น ใครรู้ตัวว่ากำลังเผชิญปัญหานี้อยู่รีบไปติดตามคำตอบกันได้เลย
แนะนำการนั่งบนเก้าอี้สำนักงานให้เหมาะสม ลดเสี่ยงปวดหลัง1. เวลานั่งต้องหลังตรง
อย่างแรกที่ไม่อาจมองข้ามกันไปได้ก็คือเรื่องของการนั่งหลังตรงในการทำงานบน
เก้าอี้ทำงาน เพราะการนั่งงอหลังเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้กระดูกสันหลังคดงอได้ สุดท้ายก็จะปวดเมื่อย หรือปวดหลังในที่สุด แถมยังทำให้บุคลิกภาพดูแย่ไปอีก ดังนั้น เวลานั่งก็อยากให้นั่งหลังตรง หรือหาหมอนพิง หรือเลือกพนักพิงให้เหมาะกับสรีระร่างกายดีกว่า
2. รู้จักเก้าอี้ให้ดี
เก้าอี้ประเภทสำนักงานนั้นจะมีลักษณะเป็นล้อเลื่อน หรือแบบไม่มีล้อเลื่อน ซึ่งการนั่งจะลงสมส่วนกับสรีระของเราอย่างดี โดยที่จะมีทั้งเบาะนั่ง ล้อเลื่อนเคลื่อนไหวสะดวก ที่พิงแขน หรือการปรับเก้าอี้ขึ้นลงได้ ลดความเสี่ยงเวลานั่งทำงานนาน ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ตำแหน่งการนั่งต้องเหมาะสม
ต่อมาคือเรื่องของการนั่งห่างจากหน้าจออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปให้นั่งบน
เก้าอี้คอมพิวเตอร์ห่างที่ 12 – 18 นิ้ว ซึ่งจะช่วยให้การมองเห็นดีมากขึ้น ถนอมสายตา และไม่ทำให้การนั่งอยู่ในท่าที่ผิดไปได้
4. ห้ามนั่งไขว่ห้าง
อีกท่านั่งที่ไม่เหมาะมาก ๆ ก็คือการนั่งท่าไขว่ห้าง และนั่งไขว่ห้างติดต่อกันนานเกินไปด้วย เพราะจะทำให้ปวดเมื่อยทั้งขา และหลังที่เกิดจากการคดงอ นั่งท่าหลังเบี้ยวไปนั่นเอง ทั้งนี้ ไม่ควรนั่งขัดสมาธิยกขึ้นมาบนเก้าอี้ด้วย
5. ให้ลุกขึ้นเดินบ้าง
ไม่ใช่แค่การนั่งในท่าที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ควรลุกเดินไปไหนมาไหนบ้าง เพราะการนั่งอยู่บนเก้าอี้ทำงานมากกว่า 8 ชม. จะทำให้เกิดเส้นยึด กล้ามเนื้อหดเกร็งมากขึ้น ทางที่ดีเมื่อนั่งไปแล้ว 2 ชม. ก็ควรลุกออกไปยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อให้คลายกล้ามเนื้อ ทำได้ดีมากขึ้น
6. ขนาดเก้าอี้ต้องพอดีสรีระ
สุดท้ายคือเรื่องของขนาดเก้าอี้ ที่เวลาเลือกซื้อใช้งานควรต้องให้มีเบาะนั่งที่เหมาะสมกับสรีระด้วย โดยเฉพาะสะโพกและขาที่ต้องตั้งฉากวางพอดีพื้น ห้ามขาลอย จะช่วยให้นั่งในท่าที่สบายมากขึ้น ไม่คับแคบแออัด
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วหวังว่าทุก ๆ คนจะเลือกนั่งเก้าอี้สำนักงานที่พอดีกับสรีระร่างกายของเรา พร้อมนั่งในท่าที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงปวดหลัง กลายเป็นออฟฟิศซินโดรม ต้องทนทุกข์ทรมานเวลานั่งทำงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ไปอีก