͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “คังคุไบ” สะท้อนภาพส่วย โสเภณีไทย ถูกสังคมดัดจริตย่ำยี ไม่ให้มีปากเสียง  (อ่าน 345 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ B001

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 575
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
“คังคุไบ” สะท้อนภาพส่วย โสเภณีไทย ถูกสังคมดัดจริตย่ำยี ไม่ให้มีปากเสียง
จากกระแสหนังคังคุไบ หญิงแกร่งแห่งมุมไบ หรือ Gangubai Kathiawadi สะท้อนภาพการต่อสู้ของโสเภณีอินเดีย ทำให้หลายคนเห็นถึงปัญหา และมองกลับมายังประเทศไทย ที่ปัญหาการค้าบริการทางเพศ ยังคงไม่ได้รับการดูแล แม้ที่ผ่านมาจะมีการเรียกร้องอยู่หลายหน แต่สุดท้ายภาพฝันของพวกเขาก็พังทลาย และไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ จนกลายเป็นเสียงสะท้อนที่หนาหู หลังจากมีกระแสความนิยมของหนังเรื่องนี้
mgwin88
“สุรางค์ จันทร์แย้ม” ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) กล่าวว่า จากกระแสของหนัง “คังคุไบ” ทำให้ผู้ชมคนรุ่นใหม่ตื่นตัวกับสิทธิของหญิงขายบริการมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสิทธิ ที่ไทยมีความอึมครึมมากว่า 50-60 ปี แม้จะมีการพูดถึงมาแล้วหลายครั้ง แต่สังคมมีความดัดจริต พอถึงเวลาจะแก้กฎหมายจริงๆ ก็มีการต่อต้าน เพราะกลัวว่าจะทำให้คนในสังคมเสื่อมเสีย เลยเป็นสิ่งที่กดทับคนทำอาชีพนี้มายาวนาน ไม่ต่างจากในหนัง ที่พยายามเรียกร้องสิทธิให้เกิดขึ้น      ปัญหาโสเภณีของไทยคล้ายกับในหนังของอินเดีย ที่คนในอาชีพนี้พยายามต่อสู้มายาวนาน แต่การต่อสู้ทุกครั้งก็มักถูกหลอกให้ฝัน สุดท้ายโสเภณี ก็ยังเป็นผู้ถูกกระทำ ทั้งจากแขกที่เข้ามาใช้บริการ และสถานบันเทิง พยายามกดพวกเขาไว้ไม่ให้มีปากเสียง   จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลล่าสุด พบว่าผู้ที่ขายบริการส่วนใหญ่ ต้องการจะจ่ายภาษีให้กับรัฐ เพื่อให้มีการคุ้มครองด้านสิทธิ และการรักษาพยาบาล แม้ยังทำให้อาชีพนี้ถูกกฎหมายไม่ได้ แต่หลายคนเห็นถึงช่องของกฎหมายแรงงาน อย่างน้อยการบรรจุอาชีพนี้ไว้ในกฎหมายแรงงาน จะทำให้พวกเขาได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน      mgwin88 ?????       กระแสหนังคังคุไบ ทำให้มีความหวัง เพราะเชื่อว่าอนาคตคนรุ่นใหม่ จะเป็นความหวัง และค่อยๆ แก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับสิทธิของอาชีพค้าบริการในประเทศไทยให้เป็นระบบมากขึ้น เพราะช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด หลายอาชีพได้รับเงินทดแทนในช่วงที่หยุดไป แต่คนทำอาชีพค้าบริการ ไม่ได้รับสิทธิ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหา ที่ต้องทำให้พวกเขาได้รับสิทธิทางกฎหมาย    ขณะที่ “ธนัดดา สว่างเดือน” ผู้เคยไปค้าบริการในต่างประเทศ และนำประสบการณ์มาเขียนหนังสือเรื่อง "ฉันคือเอรี่ กับประสบการณ์ข้ามแดน" กล่าวว่า ในหนังยังไม่ได้เล่าถึงความเจ็บปวดของโสเภณีในชีวิตจริง แต่ส่วนใหญ่เลือกเล่าแต่ความสวยงาม ทั้งที่ชีวิตจริง ไม่มีสิทธิจะเลือกแขก และหายากมากที่แม่เล้าจะเอื้อเฟื้อเหมือนญาติพี่น้อง     หากใครที่เคยไปค้าบริการทางเพศในต่างประเทศ จะรู้ว่าผู้ใช้บริการบางคน จะใช้ความรุนแรง เหมือนที่ “คังคุไบ” เจอ จากประสบการณ์ เป็นที่เลื่องลือว่า อาหรับและญี่ปุ่น มักจะมีพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง ส่วนตัวจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับแขกประเภทนี้      อีกสิ่งที่เหมือนกันจากในหนังและชีวิตจริง คือ ส่วย ที่เจ้าของกิจการจะจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งไทย แม้มีการปรับเปลี่ยนสถานบันเทิงไปตามยุคสมัย แต่ระบบส่วยที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ไม่ได้หมดไป นี่จึงเป็นอีกประเด็นที่ผู้ค้าบริการพยายามต่อสู้ แต่เป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่มีกฎหมายมารองรับอาชีพนี้        mgwin        อาชีพค้าบริการในไทยไม่ได้หมดไปง่ายๆ แม้ขณะนี้สถานบันเทิงต่างๆ ทยอยปิดตัว แต่เด็กที่ขายบริหารหันมารับงานเองที่ห้องพัก โดยไม่ต้องผ่านสถานประกอบการ หรือแม่เล้าเหมือนแต่ก่อน ทำให้ปัญหานี้ยิ่งขยายวงกว้าง และยากจะควบคุม เพราะหลายคนก็ประกอบอาชีพอื่นๆ ด้วย จึงอยากเตือนคนอินกับกระแสนี้ ให้มองเห็นถึงความเจ็บปวด และอยากให้เห็นคนที่ค้าบริการทางเพศเป็นมนุษย์ เพื่อการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม และไม่กดขี่พวกเขาอย่างที่เคยเป็นมา      “แอนนา” สาวประเภทสอง ทำอาชีพค้าบริการมากว่า 14 ปี เล่าว่า การที่รัฐไม่ทำอาชีพนี้ให้ถูกกฎหมาย เนื่องจากผลประโยชน์ที่ผู้มีอำนาจได้รับส่วย จนเคยชิน สิ่งนี้ทำให้อาชีพการค้าบริการถูกกดทับ เห็นได้จากบางข้อหาที่ถูกจับมักจะเป็นข้อหาที่ไม่สมเหตุสมผล เช่น ข้อหาแต่งกายคล้ายผู้หญิง เพื่อหลอกลวงนักท่องเที่ยวต่างชาติ, ข้อหาค้าประเวณีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา สิ่งนี้เป็นกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นมาเอง    การจะช่วยเหลือผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ได้ ต้องมีกฎหมายที่รองรับอาชีพ เพราะเมื่อถูกแขกทำร้ายมักจะถูกฟ้องกลับข้อหาค้าประเวณี สิ่งนี้ทำให้เมื่อเกิดเรื่อง จึงไม่ไปแจ้งตำรวจ และควรมีการแก้ พ.ร.บ.การค้าประเวณี 2539 ให้มีความทันยุคสมัยมากขึ้นด้วย.
mgwin88 ?????