͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: SCGC ปิดดีลซื้อหุ้น ซีพลาสต์ โปรตุเกส ลุยขยายกำลังการผลิตฝั่งยุโรป  (อ่าน 27 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
SCGC ปิดดีลซื้อหุ้น ซีพลาสต์ โปรตุเกส ลุยขยายกำลังการผลิตฝั่งยุโรป พร้อมรับความเติบโตของตลาดพลาสติกรีไซเคิล

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ตอกย้ำทิศทางบริษัทฯ ที่มุ่งสู่การเป็น "ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน" ฉลองความสำเร็จในการปิดดีลซื้อหุ้นกว่าร้อยละ 70 ของบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส ผนึกกำลังเพิ่มกำลังการผลิตพร้อมปรับปรุงคุณภาพ เดินหน้ารุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) ในโปรตุเกสและยุโรป ภายใต้แบรนด์เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER(TM)) รองรับความเติบโตของตลาดพลาสติกรีไซเคิลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเอสซีจีซี ที่จะผลิตสินค้า เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573

โดยเอสซีจีซี ได้ดำเนินการผ่านบริษัท SCG Chemicals Trading (Singapore) Pte, Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเอสซีจีซี ในการเข้าซื้อหุ้นกว่าร้อยละ 70 ของบริษัท Sirplaste-Sociedade Industrial de Recuperados de Pl?stico, S.A. (Sirplaste) เพื่อตอบรับการขยายตัวของตลาดพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยมีการใช้พลาสติกประเภทนี้เกือบ 3.7 ล้านตันในปี 2564 และคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปี จะมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 10.6 ต่อปี (อ้างอิงข้อมูลจาก NexantECA)

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือเอสซีจีซี เผยว่า "การตัดสินใจลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ถือเป็นก้าวสำคัญของเอสซีจีซี ในการมุ่งสู่การเป็น "ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน" โดยดำเนินการด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็นหนึ่งในก้าวที่ยิ่งใหญ่สู่การบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเอสซีจีซี ในการผลิตสินค้า เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER(TM)) ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 และยังเป็นการส่งเสริมให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีนพอลิเมอร์ ได้ขยายตัวไปสู่ระดับนานาชาติอีกด้วย โดยซีพลาสต์ ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกรีไซเคิลของโปรตุเกส ที่ประกอบธุรกิจมายาวนานกว่า 40 ปี ทำให้สามารถต่อยอดแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่วิจัยร่วมกัน พร้อมทั้งยังสร้างโอกาสทางธุรกิจจากฐานลูกค้าเดิมของซีพลาสต์ ซึ่งมีทั้งในโปรตุเกสและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตของซีพลาสต์ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน 36,000 ตันต่อปี เพื่อตอบรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดพลาสติกรีไซเคิล"

"นอกจากนี้ เอสซีจีซี ยังมีข้อได้เปรียบอย่างเม็ดพลาสติกที่ผลิตจากเทคโนโลยี SMX(TM) ที่มีความแข็งแรงมากกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป จึงสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลาสติกรีไซเคิลได้อย่างมาก และเมื่อทั้งสององค์กรได้นำจุดเด่นของตนมาผสานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นการช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง และเพิ่มโอกาสในการบุกตลาดยุโรปได้เหนือคู่แข่งรายอื่นอีกด้วย" นายธนวงษ์ กล่าว

นายริคาโด เพอร์เรียรา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีพลาสต์ กล่าวว่า "เอสซีจีซี และซีพลาสต์ ต่างมีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกัน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การได้ดำเนินงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มศักยภาพของพลาสติกรีไซเคิลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยซีพลาสต์ได้มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ให้กับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกมาอย่างยาวนาน และมีการลงทุนกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังผ่านการรับรองมาตรฐาน EuCertPlast ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปที่รับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้นผลิตจากพลาสติกใช้แล้วซึ่งมีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ช่วยลดปัญหาขยะ และสร้างคุณค่าใหม่ให้กับพลาสติกใช้แล้ว สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจและโลกใบนี้อย่างแท้จริง"

การซื้อหุ้นของบริษัทซีพลาสต์ในครั้งนี้ นับเป็นการเสริมทัพที่สำคัญให้กับธุรกิจของเอสซีจีซี ในด้านเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งนับเป็นหนึ่งสินค้าหลักภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER(TM)) ที่ประกอบไปด้วยโซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) REDUCE ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) RECYCLABLE โซลูชันเพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) RECYCLE โซลูชันเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนมารีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ทรัพยากร และ (4) RENEWABLE โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม