͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: รัสเซียเสียงอ่อน ไม่ยืนยัน 'ปูติน' ร่วมซัมมิต G20 หลังสหรัฐเตรียมบอยคอตต์  (อ่าน 30 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
รัสเซียเสียงอ่อน ไม่ยืนยัน 'ปูติน' ร่วมซัมมิต G20 หลังสหรัฐเตรียมบอยคอตต์

นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่า รัสเซียยังไม่ได้ทำการตัดสินใจในขณะนี้เกี่ยวกับการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของกลุ่ม G20 ของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย

นายเพสคอฟกล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะมีขึ้นในช่วงต่อไปในปีนี้ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์

'เราจะชี้แจงเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป ขณะที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว' นายเพสคอฟกล่าวต่อผู้สื่อข่าว หลังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการที่ผู้นำบางรายของกลุ่ม G20 เรียกร้องให้งดการเชิญปธน.ปูตินเข้าร่วมการประชุม เพื่อตอบโต้ต่อการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน

ก่อนหน้านี้ นางลุดมีลา โวโรบิเอวา เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำอินโดนีเซีย กล่าวยืนยันเมื่อเดือนที่แล้วว่า ปธน.ปูตินจะเข้าร่วมการประชุม G20 ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพในเดือนพ.ย. แม้สมาชิกบางรายเรียกร้องให้มีการขับรัสเซียออกจากกลุ่ม

ทั้งนี้ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าววานนี้ว่า รัสเซียควรถูกขับออกจากกลุ่ม G20 และสหรัฐจะคว่ำบาตรการประชุม G20 หากเจ้าหน้าที่รัสเซียเข้าร่วมด้วย 'ท่านประธานาธิบดีไบเดนชี้แจงไว้อย่างชัดเจน และดิฉันก็เห็นด้วยกับท่านประธานาธิบดีว่า เราไม่สามารถให้รัสเซียดำเนินกิจกรรมตามปกติในสถาบันการเงินใดๆ โดยท่านประธานาธิบดีขอให้ขับรัสเซียออกจาก G20 และดิฉันได้ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียแล้วว่า เราจะไม่เข้าร่วมการประชุม หากมีรัสเซียร่วมด้วย' นางเยลเลนกล่าว

ด้านนายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แสดงความกังวลที่ปธน.ปูตินจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G20 ที่อินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพปลายปีนี้ โดยระบุว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เนื่องจากรัสเซียใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน

'ความคิดที่จะนั่งร่วมโต๊ะกับวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้ซึ่งสหรัฐเรียกว่าเป็นอาชญากรสงคราม สำหรับผมเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ โดยคนที่อยู่ในห้องประชุมต้องไม่ใช่ผู้ที่รุกรานประเทศอื่น' นายมอร์ริสันกล่าว
ทั้งนี้ กลุ่ม G20 ตั้งขึ้นในปี 2542 เพื่อหารือนโยบายในการสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงินโลก หลังเกิดวิกฤต 'ต้มยำกุ้ง' ในปี 2540 ซึ่งทำให้เงินบาททรุดตัวลง และส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินระหว่างประเทศ

สมาชิก G20 ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐ และสหภาพยุโรป (EU)