͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: บล.พาย คงแนะ 'ลดน้ำหนักลงทุน' ไร้ปัจจัยบวกโดดเด่น ระยะสั้นเลือก CENTEL,KKP  (อ่าน 20 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
บล.พาย คงแนะ 'ลดน้ำหนักลงทุน' ไร้ปัจจัยบวกโดดเด่น ระยะสั้นเลือก CENTEL,KKP

บล.พาย (Pi) ออกบทวิเคราะห์ว่า สัปดาห์นี้ตลาดจะจับตาไปยังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 30 มี.ค. เพื่อดูสัญญาณของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 65 จากประมาณการล่าสุดคาด GDP จะขยายตัวได้ 3.4%YoY อย่างไรก็ตามกับประชุมครั้งที่จะถึงเชื่อว่าจะเห็นการปรับลดประมาณการ GDP สะท้อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นมา อาทิ น้ำมัน แก๊ส กดดันการบริโภคในประเทศให้ทรุดตัวหนักกว่าประมาณการเดิมของ กนง. ซึ่งล่าสุดหลายสำนักเริ่มปรับลด GDP ลงมาเหลืออยู่ในช่วงเพียง 2% +/- จากประมาณการเดิมคาดกันราว 3-4%

ขณะเดียวกันต้องติดตามประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติว่า กนง. จะปรับลดหรือไม่หลังเกิดการระบาดของ Omicron ครั้งล่าสุดคาดไว้ที่ 5.6 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าที่ประชุม กนง. จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม เนื่องจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวมาจากต้นทุนพลังงานเป็นหลัก มิใช่เงินเฟ้อที่มาจากอุปสงค์เร่งตัว ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยมิใช่ทางแก้ปัญหาเงินเฟ้อ สอดคล้องกับ Bloomberg คาด ที่ประชุมจะคงดอกเบี้ยเช่นกัน โดยเป็นการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 15 คนที่เห็นตรงกัน สำหรับอุตสาหกรรมมองเป็นลบต่อค้าปลีก และ ธนาคาร

ถัดมาจะเป็นประชุมโอเปกพลัส (OPEC+) ในวันที่ 31 มี.ค. ตลาดฯ คาดว่าที่ประชุมจะเพิ่มกำลังการผลิต 4 แสนบาร์เรล/วันตามเดิม ซึ่งจะมีผลต่อราคาน้ำมันไม่มากนัก ปัจจัยสุดท้ายตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ (1) การจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP ในวันพุธ Bloomberg คาด 4.5 แสนตำแหน่ง (2) การจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์ Bloomberg คาดที่ 4.85 แสนตำแหน่ง พร้อมอัตราการว่างงานที่ 3.7% เชื่อว่าตลาดอยากเห็นตัวเลขที่มิร้อนแรงเพื่อให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่เพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงิน

ดังนั้น ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่เห็นปัจจัยบวกที่โดดเด่น ประกอบกับสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ยังคงรุนแรงต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุด ณ วันเสาร์ยังคงเกิดการโจมตียูเครนต่อเนื่อง นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นต่อเนื่องทำ New High ในรอบ 3 ปี ซึ่งอดีตที่ผ่านมามักจะส่งผลให้ Bond Yield ไทยปรับตัวขึ้นเช่นกัน มองเป็นลบต่อการ Valuation ผ่าน Earnings Yield Gap ที่จะแคบลง

โดยประเมินสิ้นสัปดาห์นี้มีโอกาสที่ SET จะปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนคาดกรอบการเคลื่อนไหว 1,655-1,685 จุด เชิงกลยุทธ์การลงทุนเน้นลดพอร์ตเช่นเดิมจากความกังวลปรับลดประมาณการและระดับ Valuation ที่แพง ส่วนเก็งกำไรระยะสั้นเลือกกลุ่มท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MIINT SPA) ปัจจัยบวกมาตรการเข้าประเทศไทยที่ง่ายมากขึ้นและเริ่มดำเนินการ 1 เม.ย. กลุ่มส่งออก (HANA KCE TU)

CENTEL (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 43 บาท) คาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวดีขึ้น และกลับมามีกำไรในปี 23 สนับสนุนจากการฟื้นตัวของมัลดีฟส์ และการเปิดโรงแรมใหม่ที่ดูไบ รวมไปถึงแผนการเปิดโรงแรมใหม่ที่จะเน้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก อีกทั้งการคลายล็อคดาวน์ที่จะสนับสนุนผลประกอบการทั้งธุรกิจอาหารและโรงแรมในไทย

KKP (ซื้อ/ราคาเป้าหมาย 79 บาท) เริ่มต้นบทวิเคราะห์ด้วยคำแนะนำ 'ซื้อ' KKP เป็นหุ้นเติบโตดี และเงินปันผลสูง คาดกำไรสุทธิงวด 1Q22 ที่ 1.8 พันล้านบาท เติบโต 23% YoY (-12% QoQ) การเติบโตหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้น และระดับสำรองหนี้ลดลงคาดกำไรสุทธิปี 2022-23 จะขยายตัวต่อเนื่อง 11-12% YoY หนุนจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และสำรองหนี้ลดลง