͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: BAY ปรับกลยุทธ์ดันยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลผ่านดิจิทัล 3.12 แสนลบ.ปีนี้  (อ่าน 27 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
BAY ปรับกลยุทธ์ดันยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลผ่านดิจิทัล 3.12 แสนลบ.ปีนี้
 
นางสาวณญาณี เผือกขำ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 65 อยู่ที่ 3.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 2.85 แสนล้านบาท

พร้อมทั้งตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ 8.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนทำได้ 7.65 หมื่นล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 1.39 แสนล้านบาท

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เตรียมปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรให้พร้อมก้าวสู่โลกการเงินยุคใหม่โดยได้วางกลยุทธ์หลัก 3 อย่างในปี 65

1. การใช้ระบบดิจิทัลและข้อมูลในการทำธุรกิจสำหรับอนาคต โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัล ผ่านการขยายแพลตฟอร์มข้อมูล และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการใหม่ๆผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งการพัฒนาบัตรเครดิตดิจิทัลใหม่ๆ ที่มีจุดเด่นหลากหลาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง ซึ่งจะทยอยเปิดตัวภายในปีนี้ รวมถึงบริการใหม่ๆ เช่น การปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล โดยกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย และคาดว่าจะเริ่มให้บริการในครึ่งปีหลังของปี 65

พร้อมกับการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ายิ่งขึ้น โดยพัฒนาบริการใหม่ เช่น การขยายจุดรับบริการยืนยันตัวตนในการสมัครบัตรในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์, การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ในแอป UCHOOSE เช่น บริการสมัครบัตรใหม่ผ่านแอป, บริการ UCASH บริการเบิกเงินสดจากวงเงินบัตรผ่านแอปโดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร, บริการผ่อนก่อนจ่ายทีหลัง (BNPL ? Buy Now Pay Later) ผ่านแอป ซึ่งสามารถขอทำรายการผ่อนชำระสินค้าด้วยตนเอง, รวมถึง การนำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการทำการตลาดเฉพาะบุคคล เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และโปรโมชันที่ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

2. การสร้างความเติบโตโดยผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี และพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจ รวมทั้งการขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการทำงานแบบ Krungsri One Retail ซึ่งจะผสานความร่วมมือระหว่างหลายกลุ่มธุรกิจในเครือกรุงศรี โดยมุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ และช่องทางการขาย โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น, ควบคู่กับการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในธุรกิจ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และโปรโมชันที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า พร้อมกับการปรับโมเดลธุรกิจเพื่อแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เช่น นำเสนอบริการ Call Center as a Service, Collection as a Service เพื่อให้บริการกับพันธมิตร เป็นต้น รวมทั้งขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน เช่น ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี ในภูมิภาค

3. การพัฒนาศักยภาพองค์กร โดยเฉพาะการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันโลกธุรกิจยุคใหม่ พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่โลกการเงินแห่งอนาคต

"กลยุทธ์ทั้งสามประการนี้เป็นไปเพื่อเสริมศักยภาพของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในโลกยุคใหม่ รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจการเงินไว้ได้อย่างต่อเนื่อง" นางสาวณญาณี กล่าว
สำหรับในปี 65 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอลงบ้าง จากการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยหนุนจากมาตรการพยุงกำลังซื้อประชาชน และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ส่วนภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อในปีนี้คาดว่าการแข่งขันจะสูงขึ้น รวมไปถึงจะเห็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินกับธุรกิจต่างๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆมากขึ้น และผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะนำเอาระบบดิจิทัลและข้อมูล มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตในรูปแบบดิจิทัล หรือการขอสินเชื่อแบบดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของคุณภาพสินเชื่อในพอร์ตสินของของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังคงเน้นการรักษาคุณภาพของพอร์ตให้ดีต่อเนื่องในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยที่จะควบคุมให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิตอยู่ที่ระดับ 1.1% และสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระอยู่ที่ระดับ 2.8% ซึ่งถือว่ายังเป็นระดับที่ต่ำกว่าภาพรวมของอุตสาหกรรม