จากวิกฤติโควิด-19 ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสนใจในด้านระบบสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการเฝ้าระวังและการป้องกัน รวมถึงแง่มุมของการ “ฟื้นฟู” จากเดิมที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของชาวต่างชาติ เนื่องจากมีทรัพยากรทางการแพทย์ที่ครบครัน และความง่ายในการเข้าถึงการรักษาทำให้แนวทางการพัฒนาประเทศไทยให้เป็น Medical Hub ถูกพูดถึงอย่างมาก
หนึ่งในข้อจำกัดของวงการสาธารณสุขไทย คือ ข้อมูลสุขภาพของคนไข้ถูกจัดเก็บไว้ที่สถานพยาบาล หน่วยงาน หรือแพลตฟอร์ม แต่ละแห่งอย่างกระจัดกระจาย ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาวิเคราะห์การรักษา และต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร แม้ว่าในปัจจุบันทุกแห่งจะเก็บข้อมูลอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แล้วก็ตาม ทั้งนี้ความท้าทายในการจัดทำระบบส่งข้อมูลคนไข้ระหว่างสถานพยาบาลอีกประการ คือจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลที่จะบังคับใช้งานในกลางปี 2565 นี้ได้อย่างไร
จากแนวทางทั้งหมดทำให้ นพ.เดโชวัต พรมดา พัฒนาเป็น Solution ที่เรียกว่า HealthTAG ขึ้นPrivacy-first, Smart data exchangeHealthTAG มีแนวคิดเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลจากแบบรวมศูนย์ (ศูนย์กลางอยู่ที่สถานพยาบาลแต่ละแห่ง) มาเป็นแบบกระจายศูนย์ (ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคล) ด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริง
นพ.เดโชวัต พรมดา ผู้ก่อตั้งและพัฒนา HealthTAG เล่าว่า เราจะพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้ สิ่งสำคัญที่สุดและเป็นรากฐาน คือ ข้อมูล
“ปัจจุบันการส่งต่อคนไข้ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น คนไข้จะต้องขอข้อมูลประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลต้นทาง ซึ่งจะได้มาในรูปของเอกสาร บ่อยครั้งได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือตกหล่น HealthTAG จะเข้ามาช่วยในจุดนี้ เมื่อศูนย์กลางอยู่ที่ตัว ‘บุคคล’ เสมือนมีข้อมูลสุขภาพของตนติดตัวไปได้ทุกที่ อัพเดทตลอดเวลาไม่ว่าจะไปที่สถานพยาบาลหรือแพลตฟอร์มไหน และสามารถเลือกที่จะยินยอม หรือไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองและกำหนดช่วงเวลาในการเข้าถึงได้อีกด้วย”ข้อดีที่เห็นชัดเจนในฝั่งบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับช่วงต่อการรักษา คือ ทำงานง่ายขึ้นเพราะมีข้อมูลการรักษาพยาบาลครบถ้วน ข้อมูลไม่ตกหล่น ไม่ต้องส่งตรวจซ้ำซ้อน ลดต้นทุนในการตรวจ ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
แนวคิดสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพHealthTAG เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ โดยมีกุญแจฝังอยู่ในชิปเข้ารหัสแบบพิเศษที่ใช้เป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูล เป็นบัตรประจำตัวสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับบัตรประชาชนด้านสุขภาพที่บันทึกข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Record) ที่อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยทางข้อมูล (Data Privacy) ซึ่งคนที่มีสิทธิเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ กับ บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาติให้เข้าถึง“เรากำลังพูดถึงการทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ ที่เป็นคนสูงวัยหรือมีความเจ็บป่วยที่ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือแอพพลิเคชั่นได้ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและบริการทางการแพทย์ได้ อย่างสะดวกสบายจนแทบไม่รู้ตัว”โครงสร้างที่เกิดขึ้นทำให้เกิดทางด่วนข้อมูลเส้นใหม่ ที่มีความเป็นอธิปไตยและเป็นโครงสร้างแบบเปิด ที่นอกจากตัวผู้ใช้และสถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแพลตฟอร์มต่างๆก็สามารถมาใช้งานได้ เกิดเป็น Ecosystem แบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนความเป็นส่วนตัวและมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
เข้าใจการทำงาน เข้าใจปัญหา สู่การดีไซน์ทางออกสำหรับจุดเริ่มต้น นพ.เดโชวัต บอกว่า จากการทำงานเป็นหมอ ทำให้รู้การทำงานของระบบสาธารณสุขแบบเดิมๆ ที่ล้าหลังส่งผลให้หมอทำงานหนัก ทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งการจะแก้ปัญหานี้ แรงขับเคลื่อนสำคัญของโครงการนี้จึงมาจากภาคเอกชนที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ภาคประชาชน หรือตัวบุคคล อาจจะยังไม่เห็นว่าเรื่องนี้จะช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้อย่างไร“การจะทำให้ MedTech Ecosystem ในบ้านเราเติบโต ต้องเริ่มต้นที่โครงสร้างพื้นฐานที่ดีและมาตรฐานข้อมูล ซึ่งเป็นคอขวดสำคัญ และเป็นจุดที่ HealthTAG เน้นพัฒนาให้เกิดขึ้น”Simple Smart Seamless Secure“เราไม่ได้โฟกัสที่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีฟังก์ชันการใช้งานอย่างซับซ้อน (ถึงแม้เทคโนโลยีที่เราใช้จะซับซ้อนมากก็ตาม) แต่เราโฟกัสที่การทำอย่างไรให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และกระบวนการที่ทำน้อยแต่ได้มาก จากอะไรที่ยากให้เป็นง่าย”ดังนั้นในการพัฒนา HealthTAG เริ่มจากผู้ก่อตั้งที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทำทั้งการวางระบบ การตลาด และการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่ง นพ.เดโชวัต บอกว่า ได้ลาออกจากการเป็นหมอ เพื่อมาพัฒนา HealthTAG เต็มตัว เพราะเข้าใจปัญหานี้มาตลอด และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นระบบที่ช่วยให้หมอไทยทำงานง่ายขึ้นและส่งผลดีในวงกว้าง
จะเปลี่ยนระบบไม่ใช่เรื่องง่ายHealthTAG เริ่มพัฒนาต้นปี 2563 ตรงกับช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักพอดี ได้มีโอกาสไปเสนอโครงการสาธารณสุขจังหวัด ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายเมื่อโควิดเงียบลง (ในตอนนั้น) หน่วยงานภาครัฐก็เงียบตามไปด้วย ทำให้เช้าใจว่าการจะผลักดันระบบให้เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องง่ายหลังจากนั้น HealthTAG ได้พัฒนาต่อมาจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พร้อมกับความเชื่อที่ว่าโลกของข้อมูลคือสิ่งสำคัญ การบันทึกข้อมูลสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น จนได้ไปนำเสนอโครงการที่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลในเครือทั้ง โรงพยาบาลศิริราชปิยะมหาราชการุณย์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ซึ่งสนใจและซื้อไอเดียนอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการ 5G และ กสทช. ที่จะทำโครงการ Smart Hospital เพื่อเป็นต้นแบบก่อนขยายผลไปเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนแพทย์ซึ่งมีโรงพยาบาลกว่า 20 แห่ง จึงได้มีโอกาสพูดคุยและต่อยอดไปยังโรงเรียนแพทย์ในหลายๆภูมิภาคตลอดปี 64 สถานการณ์โควิดมีทั้งช่วงที่หนักขึ้นและเบาลง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วงแรกเน้นในที่ข้อมูลโควิด แต่จากนั้นได้เรียนรู้ว่า หัวใจสำคัญหลักของ HealthTAG อยู่ที่การเก็บข้อมูลสุขภาพที่เชื่อมโยงกับสถานพยาบาลมากกว่าจากนั้นในปี 65 จึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีโรงพยาบาลหลายแห่งใช้ผลิตภัณฑ์ HealthTAG เชื่อมโยงข้อมูล เช่น ข้อมูลยา การแพ้ยา ประวัติการรักษา และสิทธิการรักษา โดยไม่ต้องถามประวัติซ้ำหลายรอบ เพียงแค่คนไข้มีบัตร คุณหมอใช้ระบบโรงพยาบาลเดิม เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ตั้งแต่การรักษา การรับยา และการเบิกเคลมจ่าย ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน กลางปี 66 จะเร่ิมมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นในโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง และจากนั้นในอีก 2-3 ปี เชื่อว่าการใช้งานจะขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น
โรงพยาบาลเอกชนมองเห็นโอกาส เชื่อมข้อมูลกับต่างประเทศโรงพยาบาลเอกชน อย่างน้อยที่สุดในเครือเดียวกัน จะมีข้อมูลการรักษาพยาบาลเชื่อมโยงถึงกันได้ หลายโรงพยาบาลมองเห็นโอกาสที่จะเชื่อมโยงไปต่างประเทศ เพื่อให้มีคนไข้ต่างชาติมาใช้บริการHealthTAG ใช้ HL7 FHIR
. ชุดของมาตรฐานสากลสำหรับถ่ายโอน ส่งต่อข้อมูลสุขภาพที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก ผนวกกับเครือข่ายบล็อกเชน ที่โปร่งใสไร้พรมแดน ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูลจึงทำได้อย่างไร้รอยต่อสรุปสำหรับการทำงานของ HealthTAG เป็นแบบสตาร์ทอัพ ที่พัฒนาขึ้นมาโดย “หมอ” ที่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และมีความต้องการผลักดันให้ MedTech Ecosystem ในประเทศไทยเติบโต ที่สำคัญมาอย่างถูกที่ถูกเวลา ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เป็นความจำเป็นของข้อมูลการรักษาพยาบาลที่ต้องเชื่อมถึงกันล่าสุดเตรียมระดมเงินทุนเพื่อขยายบริการให้มากขึ้น ตอกย้ำจุดยืนการเป็น MedTech ที่มาจากฝีมือ ความคิด และการทำงานจริงของแพทย์ไทย อยากให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ตรงกัน 4 ส่วน
คนไข้: ได้รับการบริการที่สมบูรณ์มากขึ้น ลดความผิดพลาด ลดการตกหล่นของข้อมูล ได้เห็นประวัติสุขภาพและเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์
บุคคลากรทางการแพทย์: ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนเกี่ยวกับเอกสาร โฟกัสกับการรักษาได้มากขึ้นและแม่นยำขึ้น
ระบบสาธารณสุข: มีระบบการรักษาในประเทศแบบไร้รอยต่อและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับคนไข้ต่างชาติได้ง่ายขึ้น รายได้เข้าประเทศ สร้างความมั่นใจให้คนไข้ทั้งไทยและต่างชาติ
สตาร์ทอัพ: เกิด Open Data หรือข้อมูลที่มาจากการได้รับความยินยอม ในการนำไปพัฒนานวัตกรรม ทางการแพทย์ง่ายขึ้น
อ่านต่อ
MyMainer.com