͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: โพลหอการค้าไทย-จีน คาดศก. Q2/65 ชะลอจากเงินเฟ้อสูง, ปัญหารัสเซีย-ยูเครน  (อ่าน 13 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Joe524

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15802
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
โพลหอการค้าไทย-จีน คาดศก. Q2/65 ชะลอจากเงินเฟ้อสูง, ปัญหารัสเซีย-ยูเครน

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นจากประธาน ผู้บริหาร กรรมการ สมาชิกหอการค้าไทย-จีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ของหอการค้าไทย-จีน ช่วงไตรมาสที่ 1/65 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/65 โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษในประเด็นสถานการณ์เงินเฟ้อ โอกาสในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน เพื่อประเมินสถานการณ์ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด

ทั้งนี้ จากการสำรวจ พบว่า สมาชิกมีความกังวลในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยในเรื่องเงินเฟ้อ พบว่า ทั่วโลกและไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการเกือบครึ่ง คาดว่าเงินเฟ้อไทยจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ส่วนที่เหลือ คาดจะถึงจุดสูงสุดช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ เพราะต้นทุนการผลิตของสินค้าและบริการสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบต้นทุนไตรมาสแรก 1/65 กับไตรมาส 4/64 พบว่า ผู้ประกอบการที่ตอบ 78% ระบุ ต้นทุนเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10% ขณะที่ 22% เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 10% โดยผู้ประกอบการ 88% ระบุ ต้องปรับขึ้นราคาขายสินค้า เกือบทั้งหมดจะปรับขึ้นภายใน 1-3 เดือน มีเพียงส่วนน้อยที่จะปรับขึ้นหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว

ส่วนโอกาสพลิกฟื้นของเศรษฐกิจไทยนั้น ส่วนใหญ่กังวลการที่คนไทยส่วนหนึ่งยังเข้าไม่ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยหลักจะทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นในปี 65 คือ การกลับมาของนักท่องเที่ยว การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมถึงการติดเชื้อและผู้ป่วยโควิดลดลง สำหรับปัจจัยลบที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และต้องเฝ้าระวัง คือ สถานการณ์รัสเซียและยูเครน

สำหรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและไทยนั้น ผู้ตอบ 44.4% คาดว่า เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนโดยรวมของจีนในไตรมาสที่ 2/65 และจะมีผลทำให้การส่งออกของไทยไปจีนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากผู้ตอบ 49.4% คาดว่า การส่งออกไปจีนจะเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจออนไลน์ พืชผลการเกษตร ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจท่องเที่ยว และการบริการยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนธุรกิจที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และพืชผลการเกษตร

"แม้ว่าความสัมพันธ์การค้า การลงทุน ระหว่างไทย-จีน จะราบรื่น แต่ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ ที่ทำให้ราคาน้ำมันและวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/65 น่าจะชะลอตัวอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก" นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว