͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: จีนเผยต้นทุนการมีลูกคนแรกสูงเกือบ 7 เท่าของรายได้ ขณะอัตราเกิดต่ำ-หวั่นกระทบศก.  (อ่าน 21 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
จีนเผยต้นทุนการมีลูกคนแรกสูงเกือบ 7 เท่าของรายได้ ขณะอัตราเกิดต่ำ-หวั่นกระทบศก.

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรยูวา (YuWa Population Research Institute) เผยว่า ต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรในจีนมีสัดส่วนเกือบ 7 เท่าของรายได้ต่อหัว ซึ่งตอกย้ำถึงความท้าทายที่หน่วยงานผู้กำหนดนโยบายของจีนจะต้องรับมือ ขณะที่อัตราเด็กเกิดใหม่ในจีนลดลงอย่างรวดเร็ว

สถาบันวิจัยประชากรยูวาระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.) ว่า ต้นทุนเฉลี่ยในการเลี้ยงดูบุตรจนถึงอายุ 18 ปีในจีนเมื่อปี 2562 นั้น อยู่ที่ 485,000 หยวน (76,629 ดอลลาร์) สำหรับลูกคนแรก หรือคิดเป็น 6.9 เท่าของรายได้ต่อหัวของจีนในปีดังกล่าว

ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าวประกอบด้วย 13 ประเทศ โดยจีนมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กสูงเป็นอันดับ 2 รองจากเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราเด็กเกิดใหม่น้อยที่สุดในโลก

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรในเมืองใหญ่ ๆ ของจีนนั้นยังสูงมาก โดยในเซี่ยงไฮ้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 1 ล้านหยวน และ 969,000 หยวนในปักกิ่ง ขณะที่อัตราการเกิดในทั้งสองเมืองนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

สถาบันวิจัยประชากรยูวายังเตือนว่า อัตราการเกิดที่ลดลงจะส่งผลกระทบในเชิงลึกต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม และภาระสวัสดิการของจีน เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่มองว่า อัตราส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะยังเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อระบบสุขภาพและประกันสังคม ขณะที่จำนวนแรงงานซึ่งลดลงจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนหดแคบลงอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษข้างหน้า

แม้ว่านโยบายใหม่จะอนุญาตให้ครอบครัวมีบุตรได้ 3 คน แต่อัตราเด็กเกิดใหม่ในจีนนั้นลดลงมาอยู่ที่ 7.52 คน ต่อประชากร 1,000 คนในปี 2564 ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เก็บข้อมูลเมื่อปี 2492

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กที่สูงลิ่วยังนำไปสู่การกวาดล้างธุรกิจกวดวิชา ในขณะที่บางพื้นที่ได้ให้เงินสดแก่คู่สามีภรรยาสำหรับการมีลูกคนที่สองหรือสาม

ข้อมูลยังระบุว่า จีนจะต้องใช้งบอย่างน้อย 5% ของจีดีพีตลอดทั้งปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอยากมีลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงเงินอุดหนุนการศึกษา, ดอกเบี้ยจำนองในระดับต่ำ, การลดหย่อนภาษี, การลาคลอด และการให้สิทธิ์ลาดูแลภรรยาหลังคลอด ตลอดจนการสร้างศูนย์ดูแลเด็กเพิ่มขึ้น