͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดกรณีศึกษาโอมิครอน เมื่อ 2 คนที่อยู่ด้วยกันติดเชื้อ  (อ่าน 69 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
เปิดกรณีศึกษาโอมิครอน เมื่อ 2 คนที่อยู่ด้วยกันติดเชื้อ อาการกลับต่างสุดขั้ว ไวรัสคนละพันธุ์ !

เปิดกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เมื่อคน 2 คนที่อยู่ด้วยกันติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน แต่กลับได้คุณสมบัติไวรัส และอาการต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยมีตัวหนึ่งคล้ายเดลตามาก

โควิด 19

          วันที่ 16 มกราคม 2565 เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ของ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการโพสต์กรณีที่น่าศึกษาของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย เนื่องจากพบว่า มีผู้ป่วย 2 คนที่อยู่ด้วยกัน แต่กลับติดเชื้อด้วยสายพันธุ์ที่ต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้

          ช่วงหยุดยาวปีใหม่ มีคน 2 คน ชื่อว่า J กับ K อาศัยอยู่ด้วยกันตลอด เดินทางไปพักผ่อนที่เกาะแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย แต่เมื่อกลับจากเที่ยว มาตรวจ ATK พบว่าผลเป็นบวกทั้งคู่ ดังนั้น จึงสามารถคาดได้ว่า ทั้ง 2 คนน่าจะติดเชื้อสายพันธุ์เดียวกัน

          ขณะเดียวกัน ทั้งคู่ก็ส่งตัวอย่างน้ำลายมาให้ตนเพาะเชื้อ และมีการตรวจ ATK ทุกวันเพื่อดูระดับไวรัสในร่างกาย จนพบว่า ทั้งสองคนมีอาการแตกต่างกันกันออกไป โดย J มีอาการที่ชัดเจน ส่วน K มีอาการที่ไม่มาก

โควิด 19
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana

ผลจากการตรวจน้ำลาย ยิ่งทำให้ฉงน

          ต่อมา มีการตรวจไวรัส พบว่า ไวรัสทั้ง 2 คนมีสภาพที่แตกต่างกัน และมีสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ว่า ทั้งคู่อาจจะติดเชื้อคนละสายพันธุ์ ทั้งที่อยู่ด้วยกัน

          - ไวรัสของ J สามารถติดเชื้อเข้าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว มีการหลอมรวมกันของเซลล์เหมือนที่พบได้ในเซลล์ที่ติดโควิดสายพันธุ์เดลตา ดังนั้นจึงคาดว่า J อาจจะติดเดลตา

          - ไวรัสของ K ติดเชื้อได้ไม่ดี เซลล์เปลี่ยนรูปร่างไม่ชัด ใช้เวลาหลายวันกว่าเชื้อจะเพิ่มจำนวนจนตรวจสอบได้ คาดว่า K อาจจะติดโอมิครอน

          หลังจากนั้น มีการนำ RNA ของไวรัสมาตรวจสอบเพิ่ม ใช้ชุดไพรเมอร์ที่ออกแบบแยกไวรัส 2 สายพันธุ์ พบว่า ทั้ง 2 คนเป็นโอมิครอนทั้งคู่ แต่โอมิครอนทั้ง 2 คนมีคุณสมบัติที่แตกต่างชัดเจน กล่าวคือ J เป็นโอมิครอนที่มีลักษณะเหมือนที่พบไวรัสในเดลตา ส่วน K เป็นโอมิครอนที่ติดเซลล์ได้ช้า และไม่ทำให้เซลล์เกิดการรวมตัวกัน เหมือนกับสื่อที่เคยรายงานไปก่อนหน้านี้

โควิด 19
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana

ผลการรักษา ยิ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน

          ผลการตรวจ ATK ของทั้งสองคนในทุก ๆ วัน ยิ่งทำให้ข้อสันนิษฐานสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้

          - ไวรัสใน J เป็นแถบสีเข้มมากนานถึง 8 วัน ก่อนที่จะเริ่มลดลงตั้งแต่วันที่ 9 จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่า ไวรัสใน J มีสูง

โควิด 19
ผลตรวจ ATK ของ J
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana

          - ไวรัสใน K ลดลงเร็วมากภายใน 3 วัน ซึ่งสวนทางกับ J อย่างชัดเจน

โควิด 19
ผลตรวจ ATK ของ K
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana

          จุดที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งคือ วัคซีนที่ทั้ง 2 คนได้รับ พบว่า J ฉีดแอสตร้าเซนเนก้ามาแล้ว 2 เข็ม และได้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 3 แต่ K ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพียงแค่ 2 เข็มเท่านั้น

          นอกจากนี้ ทาง ดร.อนันต์ ยังระบุว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเชิงลึกโดยการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 1 สายพันธุ์ ซึ่งเชื่อว่ามีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน ซึ่งทีมวิจัย คงรวบรวมผลตีพิมพ์เร็ว ๆ นี้

          โดยไวรัสโอมิครอน ดูแล้วน่าจะมีความหลากหลายในตัวเอง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีคือ สายพันธุ์หลักที่ระบาดเป็นวงกว้าง ส่วนสายพันธุ์ย่อยจะมีความแตกต่างกันทางไวรัสวิทยาอย่างชัดเจน ซึ่งเราต้องทำความรู้จักไวรัสตัวนี้ให้มากขึ้น ก่อนที่จะมีการสรุปข้อมูลที่ชัดเจนอีกครั้ง

สรุปแบบรวบรัด

          - J ติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีลักษณะไวรัสเหมือนสายพันธุ์เดลตา ซึ่งตอนที่รักษา มีไวรัสอยู่ในตัวเยอะมากนานถึง 8 วัน ก่อนที่จะค่อย ๆ ลด ส่วนเรื่องวัคซีนที่ได้รับคือ AZ+AZ+PZ

          - K ติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีการนำเสนอตามข่าวทั่วไป ตอนที่รักษา เพียงแค่ 3 วันไวรัสก็ลดลงแล้ว ส่วนเรื่องวัคซีนที่ได้คือ AZ เพียงแค่ 2 เข็มเท่านั้น

          ส่วนในตอนนี้ ทางทีมวิจัยกำลังศึกษาข้อมูลเชิงลึกโดยการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์ที่มีความแตกต่างกัน และคาดว่าจะรวบรวมผลวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อที่เราจะได้รู้จักกับไวรัสชนิดนี้ให้มากกว่าเดิม