͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: MAKRO เปิดจองซื้อหุ้น PO 4-9 ธ.ค., ผนึกโลตัสส์วางยุทธศาสตร์ค้าปลีก-ค้าส่งโตระดับภูมิภาค  (อ่าน 77 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และตัวแทนบล.ไทยพาณิชย์ ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) กล่าวว่า ปัจจุบันแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ได้รับการอนุมัติและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว โดยการเสนอขายหุ้น Public Offering (PO) ครั้งนี้มีจำนวนไม่เกิน 1,300 ล้านหุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 910 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (CPH) และบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด (CPM) จำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 390 ล้านหุ้น

นอกจากนี้ อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Overallotment shares หรือ กรีนชู) จำนวนไม่เกิน 130 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายแก่ประชาชนครั้งนี้ โดย MAKRO จะนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ขยายธุรกิจในไทยและต่างประเทศ ชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงินบางส่วน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจต่อไป

ล่าสุดบมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) กำหนดราคาเสนอขายของหุ้น PO ที่ 43.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าเสนอขายรวมไม่เกิน 62,205 ล้านบาท (รวมมูลค่าของหุ้นส่วนเกิน) โดยเปิดให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO CPALL และ CPF ที่ได้รับสิทธิ และนักลงทุนรายย่อย ได้จองซื้อระหว่างวันที่ 4?9 ธ.ค.นี้

ขณะที่การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น PO ที่ 43.50 บาท/หุ้น ถือเป็นราคาที่ไม่สูงและมีความเหมาะสมด้วยเหตุผล 4 ประการ ได้แก่


1. นักลงทุนทุกกลุ่มจะได้จองซื้อในราคาเดียวกัน ทั้งผู้ถือหุ้นเดิมที่มีสิทธิได้รับจัดสรร ผู้จองซื้อรายย่อย นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors)

2. สื่อสารและดำเนินการกับนักลงทุนทุกกลุ่มได้ง่าย โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยและผู้ถือหุ้นเดิมที่มีสิทธิได้รับจัดสรร สามารถชำระเงินจองซื้อด้วยราคาเดียวกัน จึงลดปัญหากระบวนการคืนเงินจองซื้อ

3. นักลงทุนจะได้จองซื้อหุ้นสามัญ MAKRO ในราคาเดียวกับราคา Swap Price (ราคาแลกเปลี่ยน) ในช่วงที่ บมจ.สยามแม็คโคร ออกหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) เพื่อรับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่มโลตัสส์จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เท่ากับเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มเติบโตไปพร้อมกับบริษัท และ 4. ราคาเสนอขาย 43.50 บาทต่อหุ้น ยังต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 1 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ที่หุ้นละประมาณ 47 บาท โดยมีส่วนลดประมาณ 7.5% และต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งอยู่ที่หุ้นละประมาณ 48 บาท โดยมีส่วนลดประมาณ 9.4%

ทั้งนี้จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้ไม่เกิน 1,300 ล้านหุ้น และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินไม่เกิน 130 ล้านหุ้น ซึ่งทางบริษัท พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม เนื่องจากหลังสิ้นสุดการเสนอขายหุ้น PO จะมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) เกินกว่า 15% ตามเกณฑ์ขั้นต่ำของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีผลกระทบต่อสัดส่วนการถือครองหุ้น (Control Dilution) ของผู้ถือหุ้นเดิม และอัตรากำไรสิทธิต่อหุ้นของ MAKRO (EPS Dilution) น้อยกว่ากรณีที่มี Free Float เป็นจำนวนมากกว่านี้ขณะที่การเสนอขายหุ้น PO ดังกล่าว ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบันชั้นนำ จำนวน 14 ราย ที่ได้ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้นประมาณ 423 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 18,400 ล้านบาท หรือประมาณ 32.5% ของจำนวนหุ้น PO ที่เสนอขายครั้งนี้ (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ตอกย้ำถึงความมั่นใจของกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่มีต่อ MAKRO ที่เป็นผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจค้าส่ง B2B และค้าปลีก B2C และมั่นใจว่าการเสนอขายในครั้งนี้ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO CPALL และ CPF ที่ได้รับสิทธิและนักลงทุนรายย่อยเช่นกัน

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า ผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ MAKRO สามารถจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking และแอปพลิเคชัน SCB Easy โดยสามารถจองซื้อตามสิทธิที่ได้รับจัดสรร เกินกว่าสิทธิที่ได้รับจัดสรร (ไม่กำหนดจำนวนจองซื้อสูงสุด) หรือน้อยกว่าสิทธิที่ได้รับจัดสรรก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้จองซื้อได้รับการจัดสรรไม่ครบตามจำนวนที่จองซื้อ จะมีการคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อที่ได้รับจัดสรรไม่ครบตามจำนวนที่จองซื้อ

โดยบมจ.สยามแม็คโคร ได้กำหนดอัตราส่วนการใช้สิทธิ (Ratio) จองซื้อหุ้นสามัญของ MAKRO ดังนี้

1. ผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO ในอัตราส่วน 10 หุ้นสามัญของ MAKRO ต่อ 1 หุ้นสามัญของ MAKRO ที่เสนอขาย

2. ผู้ถือหุ้นเดิมของ CPALL ในอัตราส่วน 15 หุ้นสามัญของ CPALL ต่อ 1 หุ้นสามัญของ MAKRO ที่เสนอขาย

3. ผู้ถือหุ้นเดิมของ CPF ในอัตราส่วน 70 หุ้นสามัญของ CPF ต่อ 1 หุ้นสามัญของ MAKRO ที่เสนอขาย โดยการจัดสรรจะดำเนินการโดยระบบคอมพิวเตอร์ของ บริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด (SETTRADE) โดยจะจัดสรรหุ้นตามสิทธิที่ได้รับแก่ผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายที่จองซื้อในรอบแรก และหากยังมีหุ้นเหลือจากการจัดสรรตามสิทธิ ในรอบถัดไปจะนำสิทธิของผู้ถือหุ้นเดิมของทั้ง 3 บริษัทที่แสดงความจำนงจองซื้อเกินกว่าสิทธิมารวมกัน และจะจัดสรรเพิ่มแก่ผู้จองซื้อเกินกว่าสิทธิของผู้ถือหุ้นเดิม จนกว่าหุ้นจะหมดหรือครบตามจำนวนที่มีผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิจองซื้อ ซึ่งจะเป็นไปตามรายละเอียดตามที่เปิดเผยในไฟลิ่ง

สำหรับการเสนอขายหุ้นสามัญดังกล่าวแก่ผู้จองซื้อรายย่อย จะจัดสรรหุ้นด้วยวิธี Small Lot First ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ บริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด (SETTRADE) โดยจองซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายหุ้น (Selling Agents) 3 ราย ได้แก่ 1. แอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking 2. แอปพลิเคชัน SCB Easy และ 3. แอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST SEC)

นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MAKRO กล่าวว่า แม็คโครและกลุ่มโลตัสส์ได้วางยุทธศาสตร์สร้างการเติบโตในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียด้านแพลตฟอร์มที่ผสานทุกช่องทางทั้งการค้าส่งแบบ B2B (Business to Business หรือการค้ากับผู้ประกอบการ) และค้าปลีกแบบ B2C (Business to Consumer หรือการค้ากับผู้บริโภค) โดยการใช้ศักยภาพจากฐานธุรกิจในประเทศไทย สู่การขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียใต้และภูมิภาคอาเซียน โดยจะพัฒนาแพลตฟอร์ม O2O ที่เป็นการผสมผสานระหว่างช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (offline and online หรือ O2O) เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

นอกจากนี้มีแผนลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ Makroclick.com แอปพลิเคชัน Makro Application และ Makro Line Official Account

ด้านนายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลตัสส์ เอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นประเทศจีน) กล่าวว่า หลังจาก MAKRO และโลตัสส์ เข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจร่วมกัน ทำให้มีการผสานธุรกิจทางด้าน B2B และ B2C เข้าด้วย สร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม ประกอบกับการนำระบบการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และการบริหารการขายและสินค้าต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาด้านการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่จะมีการรุกขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่การซื้อของต่างๆของลูกค้าทั้ง MAKRO และโลตัสส์ หันมาซื้อของผ่านช่งอทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทได้เตรียมความพร้อมในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของบริการออนไลน์ของทั้ง MAKRO และโลตัสส์ ซึ่งจะมีการเปิดปรับปรุงแอปพลิเคชั่นและเพิ่มบริการใหม่เข้ามาในช่วงไตรมาส 1/65 โดยเริ่มจากแอปพลิเคชั่นของ MAKRO ก่อน และตามด้วยการปรับปรุงแอปพลิเคชันโลตัสส์ รูปแบบใหม่ในไตรมาส 2/65 ซึ่งการรุกช่องทางการขายผ่านออนไลน์ในครั้งนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ของทั้ง MAKRO และโลตัสส์ ในปี 65 เพิ่มเป็น 15% ของยอดขายรวมทั้งหมด