͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: MICRO วางเป้าพอร์ตสินเชื่อปี 65 โตกว่า 30% เป็น 5 พันลบ.ยอดปล่อยใหม่ 3.3 พันลบ.  (อ่าน 85 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
นายกานต์ดนัย ชลสุวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการด้านบัญชีและการเงิน บมจ.ไมโครลิสซิ่ง (MICRO) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 65 โดยวางเป้าหมายพอร์ตสินเชื่อเป็น 5 พันล้านบาทเติบโตกว่า 30% โดยจะมีการปล่อยสินเชื่อใหม่ 3,000 -3,300 ล้านบาท จากในงวด 9 เดือนปี 64 บริษัทมีพอร์ตสินเชื่อ 3,385 ล้านบาท เติบโต 33.2%


ขณะที่ตั้งเป้าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่ำกว่า 3% จาก ณ สิ้นก.ย.ปี 64 อยู่ที่ 3.48% ซึ่งจะมีการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น รวมทั้งจะเพิ่มสาขาใหม่ในปี 65 อีกอย่างน้อย 4 สาขาจากปี 64 เปิดสาขาใหม่แล้ว 7 แห่งและธ.ค.นี้จะเปิดอีก 1 แห่งที่ จ.ระยอง จะทำให้สิ้นปี 65 มีสาขา 24 สาขา โดยแผนระยะยาวจะมีสาขา 30-40 สาขาโดย 1 สาขาดูแลครอบคลุม 2 จังหวัด

นอกจากนี้ในปี 65 จะขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไมโครอินชัวร์ โบรกเกอร์ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิตซึ่งอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตนายหน้านิติบุคคล คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 65 ส่วนธุรกิจสินเชื่อบุคคล ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีประกัน คาดว่าต้นปี 65 จะขอใบอนุญาต ซึ่งใช้เวลา 3-4 เดือน คาดจะเห็นในไตรมาส 2/65 และจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 3/65

"เราตั้งเป้าเพิ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมแต่ลูกค้ายังเป็นกลุ่มเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าสินเชื่อรถบรรทุกมือสอง และเรายังดูธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย หรือที่ทำอยู่ขยายกลุ่มลูกค้าเดิมแต่เพิ่มโปรดักส์ใหม่ หรือโปรดักส์เดิมแต่ขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งเรากำลังศึกษาอยู่ 2-3 ตัว การตั้งเป้าขยายธุรกิจเพื่อให้เกิด Synergy ธุรเกิจเข้าด้วยการที่เราสร้างขึ้นมา อยากให้เกิด Ecosystem ในธุรกิจเราที่เป็นแผนระยะยาวที่วางไว้" นายกานต์ดนัย กล่าว
ส่วนหนี้สินของบริษัท นายกานต์ดนัยกล่าวว่า บริษัทวางแผนที่จะใช้เงินกู้จากสถาบันและหุ้นกู้อย่างละครึ่ง เพื่อเป็นฐานทุนในการรองรับการขยายกิจการ โดยการขอเงินกู้จากธนาคารต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่หุ้นกู้ไม่ต้องมี โดยที่ผ่านมาได้ออกหุ้นกู้ไปแล้ว 1 พันล้านบาท โดยนำไปคืนหนี้เงินกู้สถาบันบางส่วน ซึ่งทำให้บริษัทได้ต่อรองเจรจาเงื่อนไขเงินกู้ใหม่กับธนาคาร เช่น การดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) หรือได้วงเงินเพิ่มเติมโดยไม่ต้องมีหลักประกันเพิ่มเติม อนึ่ง D/E ในสิ้นก.ย.64 อยู่ที่ 0.88 เท่าสูงขึ้นมาจาก 0.51 เท่าในสิ้นปี 63 จากหนี้หุ้นกู้เพิ่มขึ้น