͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘พันธบัตร-หุ้นไทย’เนื้อหอม ต่างชาติแห่ซื้อ 5.1 หมื่นล้าน ดันเงินบาทแข็งค่ารอบ 2 เดือน  (อ่าน 95 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือน ต่างชาติพร้อมใจซื้อพันธบัตร-หุ้นไทย รวมกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท จับตาสัปดาห์หน้าตัวเลขจีดีพี คาดกรอบ 32.50-33.30 บาทต่อดอลลาร์


สถานการณ์ค่าเงินบาทดูจะผันผวนหนักในช่วงนี้ แม้ตั้งแต่ต้นปี 64 เป็นต้นมาจะอ่อนค่าอยู่มาก แต่ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาล่าสุดกลับแข็งค่าอย่างหนัก


“กาญจนา โชคไพศาลศิลป์” ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์สอดคล้องกับสัญญาณเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรไทย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 4.76 หมื่นล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,425 ล้านบาท รวม 5.1 หมื่นล้านบาท ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย. ประกอบกับน่าจะมีอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์ ของกลุ่มผู้ส่งออกตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก

อย่างไรก็ตามเงินบาทลดช่วงแข็งค่าลงบางส่วนระหว่างสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ ฟื้นตัวขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งทำให้นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนักต่อความเป็นไปที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะจำเป็นต้องส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงินเร็วขึ้น โดยในวันศุกร์ (12 พ.ย.) เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 33.32 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (5 พ.ย.)



สำหรับสัปดาห์ถัดไป (15-19 พ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.50-33.30 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/64 ของไทย ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 


ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน พ.ย. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือน ต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือน ต.ค. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร.