͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: เช็คด่วน! เวนคืน5ตำบลสร้างถนนสะพานข้ามเจ้าพระยาสามโคก ปทุมธานี  (อ่าน 75 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
เช็คด่วน ครม.ไฟเขียว ร่างพ.ร.ฎ.เวนคืน5 ตำบล461แปลง267หลังคาเรือน สร้างสะพานข้ามเจ้าพระยาสามโคก ปทุมธานี-แนวถนนเชื่อมต่อ ระดับดินยาว9กิโล แก้ปัญหาจราจร ในเขตกทม.-ปริมณฑล ของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม วงเงิน4.5พันล้าน หลังรับฟังความเห็นชาวบ้านปี48

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 12 ต.ค.64  มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ….ของกรมทางหลวง(ทล.) ตามที่กระทรวงคมนาคม(คค.)เสนอเพื่อก่อสร้างโครงการทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย – คลองเจ็ด ตอน บางเตย – บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี วงเงินก่อสร้าง 4,740 ล้านบาท หรือโครงการทางหลวงแนวใหม่ถนนสะพานสามโคก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งไว้วงเงิน 4,467ล้านบาทรวมมูลค่าทั้งโครงการ กว่า9,200ล้านบาท 

 

 

 

 


ข้อเสนอกระทรวงคมนาคม(คค.)ระบุว่า  ปัจจุบันโครงข่ายการจราจรสายหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่เป็นการให้บริการการเดินทางในทางทิศเหนือ - ใต้ ไม่ได้ให้บริการการเดินทางในทางทิศตะวันออก - ตะวันตก โดยต้องใช้ระบบโครงข่ายถนนสายรองและสายย่อยในพื้นที่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง การเสริมโครงข่ายการจราจรสายหลักทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินโครงการเชื่อมโยงถนนสายหลักฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 เมื่อพิจารณาโครงข่ายการจราจรในพื้นที่พบว่าปัจจุบันเป็นแนวเส้นทางเดิมของทางหลวงหมายเลข 3214 ซึ่งวางตัวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก

ที่มีศักยภาพจะเป็นถนนสายหลักได้ เป็นเหตุผลที่จะพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อผ่านเส้นทางดังกล่าว เพื่อเชื่อมโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์และเป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ และเป็นไปตามกรอบแนวทางการพัฒนาโครงข่ายถนนภายใต้แผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  
 

แนวเส้นทางโครงการก่อสร้างถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสามโคกจังหวัดปทุมธานีมีจุดเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกบริเวณแยกต่างระดับบางเตยบรรจบกับถนนสาย3111 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมเข้ากับทางหลวงสาย347  วิ่งเข้าถนนสาย3214 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตและไปสิ้นสุดบริเวณทางต่างระดับคลองหลวงเชื่อเข้ากับถนนหน้าวัดธรรมกาย วิ่งทะลุไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก-ตะวันตก

หรือมีจุดเริ่มต้น ที่ กิโลเมตร(กม.) 0+000 – กม.9+358 รวมระยะทาง 9.358 กิโลเมตร กรรมสิทธิ์ ประกอบด้วยที่ดินประมาณ 461 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 267 ราย ต้นไม้ยืนต้นประมาณ 187 ราย ค่าทดแทนและค่าเสียหายอื่น ๆ และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด ตามที่กรมทางหลวง สำรวจออกแบบ รวมค่าทดแทนในการเวนคืน เป็นเงินประมาณ 4,467,620,000 บาท(4,467ล้านบาท)

จึงมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย – คลองเจ็ด ตอน บางเตย – บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม  และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงข่ายทางหลวงให้มีมาตรฐาน

เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด  
                    
 ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกัน สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว  

 สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย – คลองเจ็ด ตอน บางเตย – บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี