͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: บัญชีกลาง เตรียมพร้อมลงทะเบียน “บัตรสวัสดิการฯ” รอบใหม่ ปี65  (อ่าน 79 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
อธิบดีกรมบัญชีกลาง เผยพร้อมรองรับการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการฯ รอบใหม่ต้นปี 65 ชี้ ยังรอความชัดเจนฝ่ายนโยบาย ทั้งรูปแบบบัตรและการจ่ายเงิน

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงการเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากฝั่งนโยบาย แต่ขณะเดียวกันกรมบัญชีกลางก็จะเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดรับลงทะเบียนบัตรฯ รอบใหม่ในช่วงต้นปี 2565 ด้วย แม้จะมีสถาบันการเงินของรัฐเป็นหน่วยงานรับลงทะเบียนหลักก็ตาม

 

“ที่ผ่านมาเมื่อผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการต้องการคืนบัตร ก็ต้องเอามาคืนที่กรมบัญชีกลาง ดังนั้นตอนนี้ต้องรอความชัดเจนจากฝ่ายนโยบายว่าจะทำบัตรในลักษณะใด ถ้ายังเป็นบัตรรูปแบบเหมือนเดิม การคืนบัตร หรืออื่นๆ ก็ยังต้องทำผ่านกฯรม และยังต้องรอดูรูปแบบการใช้จ่าย และรูปแบบของบัตรในการเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ด้วย” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว

 


โดยนางสาวกุลยา ยังกล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ ว่า ขณะนี้ได้มอบนโยบายให้กรมฯ ปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัย มีความยืดหยุ่นเพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างคล่องตัวและโปร่งใส รวมทั้งการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและระบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกรมบัญชีกลางเป็นอีกส่วนสำคัญในการทำให้เม็ดเงินของหน่วยงานรัฐลงสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่เอกชนไม่สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจได้เต็มที่

 

“เมื่อเป็นเป้าการใช้จ่ายงบประมาณ ก็จะตั้งไว้สูง 100% ฉะนั้น กรมบัญชีกลางก็จะต้องทำให้ได้มากที่สุด ทั้งเรื่องการเบิกจ่ายได้ และก่อหนี้ผูกพันได้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 สศค. ก็กำหนดมา 100% กรมบัญชีกลางก็ทำได้ระดับใกล้เคียง คือ 98% ซึ่งเข้าใจว่าการตั้งเป้าการใช้จ่ายงบประมาณ 100% เพราะรัฐบาลต้องการใช้เงินให้หมด โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2565 นี้ เม็ดเงินอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่งลดลงมาเยอะ ก็ต้องมีการใช้จ่ายให้หมด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว

ขณะที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 มีผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,249,520 ล้านบาท คิดเป็น 98.89% แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 2,652,607 ล้านบาท คิดเป็น 98.92% และรายจ่ายลงทุน 596,913 ล้านบาท คิดเป็น 98.78% สำหรับผลการใช้จ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 202,975 ล้านบาท คิดเป็น 99.0%