͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 9 เดือน ต่างชาติซื้อตราสารหนี้ไทย 6.6 หมื่นล้านบาท ขายหุ้น 7.9 หมื่นล้านบาท  (อ่าน 90 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9362
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ThaiBMA เผยมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทยอยู่ที่ 14.9 ล้านล้านบาท เอกชนแห่ออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น 54% ส่วน 9 เดือนปี 64 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 66,000 ล้านบาท ด้านตลท.เปิดหุ้นไทยจากต้นปี ปรับเพิ่มขึ้น 10.8% และต่างชาติขายสุทธิ 79,000 ล้านบาท

นางสาวอริยา ดิรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องแม้ว่าจะยังมีการระบาดของไวรัสโดวิด-19 โดยมีมูลค่าคงค้างอยู่ที่ 14.9 ล้านล้านบาท มีมูลค่าการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาว ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น54% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว มียอดการออกรวมที่ 817.,556 ล้านบาท โดยกลุ่มธุรกิจที่เสนอขายสูงสุด5 กลุ่มแรก ได้แก่ Energy 20.6%, PROP 15.1%, FIN 13.6%, Commerce 12.8% และ FOOD 11.8% ทั้งนี้ ผู้จัดจำหน่ายใช้ช่องทางติดต่อเสนอขายตราสารหนี้ผ่านออนไลน์และ Mobile appication มากขึ้นซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนแม้จะมีมาตรการล็อกดาวน์

 

อย่างไรก็ตาม กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ ( Fund flow) ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 ของปี2564 นักลงทุนยังคงซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 37,579 ล้านบาท แต่กลับมาขายสุทธิค่อนข้างมากในเดือนกันยายน โดยนักลงทุนต่างชาติยังมียอดการซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ตันปีประมาณ 66,000 ล้านบาททำให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ 915,918 ล้านบาท คิดเป็น 6% ของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทย ซึ่ง 90% เป็นการถือครองในตราสารหนี้ระยะยาว และมีอายุเฉลี่ยของพันธบัตรที่ถือดรองเท่ากับ 9.4 ปี


"ตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ Bond yield จะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางในตลาดโลก แต่ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Credit spread) ของหุ้นกู้ที่ปรับลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบ ทำให้ต้นทุนของผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่ได้เพิ่มขึ้นจากช่วงตันปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการออกหุ้นกู้ ดังนั้น การออกหุ้นกู้ระยะยาวของปีนี้จะไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ส่วนทิศทาง Bond yield ระยะยาวในรุ่น 10 ปีของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ เชื่อว่าจะปรับขึ้นได้อีกไม่มากนัก เนื่องจากตลาดได้ปรับตัวล่วงหน้าสะท้อนปัจจัยหลักต่างๆ ไปแล้ว โดยอาจแกว่งตัวได้ตามตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะมีการทยอยประกาศออกมา"

 

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 1,605.68 จุด ลดลง 2.0% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า แต่ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 ปรับเพิ่มขึ้น 10.8% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่าดัชนีหุ้นไทยเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มบริการ

สำหรับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 100,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110.5% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยใน 9 เดือนแรกปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 96,463 ล้านบาทด้านนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเป็นเดือนที่สองต่อเนื่องกันในปี 2564 ซึ่งในเดือนกันยายน 2564 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 10,803 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 79,172 ล้านบาท และนักลงทุนในประเทศซื้อสุทธิ 105,753 ล้านบาท