͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ฮ่องกงเล็งฉีดวัคซีนโควิดของไบออนเทคให้เด็ก  (อ่าน 72 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ฮ่องกงเล็งฉีดวัคซีนโควิดของไบออนเทคให้เด็ก หวังแก้ปัญหาซัพพลายขาดแคลน

คณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของรัฐบาลฮ่องกงได้แนะนำให้รัฐบาลฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทไบออนเทคให้กับเด็ก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนวัคซีนสูตรสำหรับเด็ก

คณะที่ปรึกษาฯได้แนะนำให้เด็กอายุประมาณ 5-11 ปีเข้ารับการฉีดวัคซีนของไบออนเทคในปริมาณ 10 ไมโครกรัม ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของโดสที่ผู้ใหญ่ได้รับ ซึ่งจะช่วยขยายการครอบคลุมวัคซีนสำหรับเด็กในช่วงวัยดังกล่าวอย่างเหมาะสม

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ฮ่องกงกำลังเร่งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 7 เดือน โดยเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขกำลังส่งตัวผู้ที่มีความเสี่ยงใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเข้ารับการกักตัว และดำเนินการตรวจหาเชื้อให้กับประชาชนหลายพันคน พร้อมกับเรียกร้องให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน

ที่ผ่านมานั้น เด็กในฮ่องกงยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนของบริษัทไบออนเทค เนื่องจากบริษัทเซี่ยงไฮ้ โฟซุน ฟาร์มาซูติคัลซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายวัคซีนของไบออนเทค ยังไม่ได้ยื่นขออนุญาต

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในฮ่องกงยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลาย ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 7-20 ม.ค. เพื่อเตรียมรับมือกับสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายได้ง่าย โดยจะมีการทบทวนมาตรการอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์

ภายใต้มาตรการดังกล่าว สถานบริการต่าง ๆ เช่น สวนสนุก, พิพิธภัณฑ์, ฟิตเนส, ไนท์คลับ, คาราโอเกะ และบาร์จะต้องปิดให้บริการชั่วคราว อีกทั้งยังมีการห้ามไม่ให้นั่งรับประทานอาหารในร้านอาหารตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป และยกเลิกกิจกรรมที่ผู้คนมารวมตัวกันจำนวนมาก เช่น การแข่งขันปั่นจักรยาน Cyclothon และทัวร์เรือสำราญ

นอกจากนี้ รัฐบาลฮ่องกงยังสั่งห้ามเที่ยวบินจาก 8 ประเทศลงจอดที่ฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 8-21 ม.ค. ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, ฝรั่งเศส, อินเดีย, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ฮ่องกงยังคงยึดมั่นในแนวทาง "โควิดเป็นศูนย์ หรือ Zero-COVID" เช่นเดียวกับจีน สวนทางกับหลายประเทศทั่วโลกที่ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้แนวทางอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังอัตราการฉีดวัคซีนพุ่งสูงขึ้น