͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: CNN ชี้ผู้เชี่ยวชาญระบุ ใช้วัคซีนโควิด-19ประสิทธิภาพต่ำ  (อ่าน 130 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


เอเจนซีส์ – สื่อนอกรายงานผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาเตือนหลายชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวม ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อาจเจอวิกฤตเคสล้นโรงพยาบาลหลังการกลับมาเปิดประเทศเร็วเกินไปจากปัจจัยการให้ภูมิคุ้มกันทางวัคซีนกับประชาชนไม่ถึง 70% ตามมาตรฐานการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่บวกกับประเด็นใช้วัคซีนโควิด-19ประสิทธิภาพต่ำในฐานะวัคซีนหลักอย่างแพร่หลาย

CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้(22 ก.ย)ว่า ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19สายพันธุ์เดลตาในช่วงฤดูร้อนและหนักสุดในประเทศส่วนใหญ่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

แต่ทว่าเวลานี้รัฐบาลหลายชาติรวมทั้งไทย มาเลเซีย และเวียดนาม กำลังหาทางเพื่อฟื้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญด้วยการกลับมาเปิดพรมแดนและพื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ตามบรรดาผู้เชี่ยวชาญวิตกไปถึงอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ที่ต่ำในส่วนใหญ่ของภูมิภาค รวมไปถึงมีการใช้วัคซีนประสิทธิภาพต่ำอย่างแพร่หลายที่รวมไปถึงวัคซีนซิโนแวคของจีนที่อาจนำมาสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายอย่างหนักได้

หยั่นซวง ฮวง (Yanzhong Huang) นักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันธิงแทงก์ สภาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ( Council on Foreign Relations)ที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า หากอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ไม่สูงรวมไปถึงการใช้วัคซีนโควิด-19ประสิทธิภาพสูงก่อนการยกเลิกมาตรการจำกัดทั้งหลายทางโควิด-19 เชื่อว่าระบบสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไม่ช้าจะอยู่ในขั้นวิกฤต

“คุณจะได้เห็นการเพิ่มขึ้นของเคสป่วยหนักที่จะทำให้เตียงห้องไอซียูและเครื่องช่วยหายใจขาดแคลน ซึ่งจะมีความท้าท้ายเกิดขึ้นในด้านการขาดความสามารถการให้บริการทางสุขภาพ”

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า แต่ดูเหมือนว่าบรรดาผู้นำทั่วภูมิภาคนั้นดูเหมือนจะมีทางเลือกไม่มากนักเป็นเพราะเกิดปัญหามีซัพพลายวัคซีนโควิด-19ไม่เพียงพอเป็นต้นว่า ไทยประกาศใช้การฉีดวัคซีนโควิด-19เข้าใต้ผิวหนังแทนการเข้ากล้ามเนื้อตามปกติเพื่อที่จะทำให้มีวัคซีนเพียงพอสำหรับการแจกจ่ายให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง

และทำให้ในหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะผลักดันให้ถึงเป้าหมายการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19ให้กับประชาชนของตัวเองในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าไม่น่าจะประสบความสำเร็จ เกิดขึ้นท่ามกลางสภาวะที่ผู้คนขาดโอกาสทางอาชีพการงาน และถูกสั่งให้ต้องอยู่แต่ในที่พัก ครอบครัวกำลังหิวโหย

ครูสอนดำน้ำต่างชาติในไทย จีน การิโต (Jean Garito) ที่มีฐานอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตเปิดเผยว่า ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางต่างต้องการอย่างมากสำหรับการเปิดพรมแดน แต่เสริมว่าไม่แน่ใจว่าต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับมาอีกครั้ง

“หากรัฐบาลต่างๆไม่สามารถเยียวยาภาคธุรกิจสำหรับการสูญเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแล้วละก้อ และหากว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่สามารถกลับมาเปิดได้อย่างสมบูรณ์ พวกเราทั้งหมดจะตกอยู่ในฝันร้ายอย่างแน่นอน” การิโตกล่าว

CNN รายงานว่า วิกฤตโควิด-19เพิ่งผ่านจุดสูงสุดไปและอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ยังคงต่ำในบางส่วนแต่กระนั้นมีหลายรัฐบาลกำลังเริ่มต้นเดินหน้าของการเปิดประเทศใหม่

“เวียดนาม” วางแผนที่จะเปิดเกาะฟู้โกว๊ก (Phú Quốc)ซึ่งเป็นเกาะท่องเที่ยวตั้งอยู่ในจังหวัดเกียนซางให้กับเหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มในตุลาคมที่จะถึงอ้างอิงจากรอยเตอร์

โดยทางเจ้าหน้าที่ได้อ้างไปถึงแรงกดดันทางเศรษฐกิจนั้นเป็นปัจจับสำคัญในการตัดสินใจพร้อมไปกับรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวชี้ว่า วิกฤตโรคโควิด-19ระบาดทำร้ายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนัก และมาจนถึงเวลานี้มีจำนวนประชากรเวียดนามน้อยกว่า 7% ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19ครบโดสอ้างอิงจากการติดตามของ CNN ห่างไกลจากตัวเลขอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ในระดับ 70%-90% ที่เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับการมีภูมิคุ้มกันหมู่ ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ

“ไทย” วางแผนที่จะเปิดกรุงเทพฯและจังหวัดสำคัญอื่นๆสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยจะเริ่มในเดือนหน้าเช่นกันเพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของตัวเองที่มีสัดส่วนกว่า 11% ของตัวเลขจีดีพีของไทยในปี 2019 อ้างอิงจากรอยเตอร์ และไทยมีประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มอยู่ที่ 21 %

ส่วน “อินโดนีเซีย” ที่มีการแจกวัคซีนโควิด-19ให้กับประชาชนทั้งหมดไปแล้วมากกว่า 16% ได้เริ่มการผ่อนคลายมาตรการจำกัดทางโควิด-19 อนุญาตให้พื้นที่สาธารณะกลับมาเปิดอีกครั้ง และรวมไปถึงอนุญาตให้อุตสาหกรรมกลับมาทำงานได้เต็มตามศักยภาพ

ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะได้รับอนุญาตให้เข้าอินโดนีเซียได้บางส่วนของพื้นที่รวมถึง เกาะบาหลี ภายในตุลาคมนี้ รอยเตอร์ชี้

“มาเลเซีย” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19สูงในภูมิภาค โดยมีมากกว่า 56% ของประชาชนมาเลเซียได้รับวัคซีนโควิด-19ครบโดส รัฐบาลกัวลาลัมเปอร์เปิดเกาะลังกาวีสถานตากอากาศสำคัญให้กับนักท่องเที่ยวในประเทศสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีไม่กี่รัฐในแดนเสือเหลืองได้เริ่มต้นผ่อนคลายมาตราการสำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19ครบถ้วน รวมไปถึงการเดินทางข้ามรัฐและการนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน

ทั้งนี้การที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เร่งรีบกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งสะท้อนไปถึงนโยบายการอยู่ร่วมกับโควิด-19ที่หนีห่างไกลจากนโยบายก่อนหน้า “โควิด-19เป็นศูนย์” อภิเชค ไรมาล (Abhishek Rimal) ผู้ประสานงานสุขภาพฉุกเฉินภูมิภาคขององค์การกาชาดสากล IFRC (International Federation of Red Cross) แสดงความเห็น และถึงแม้ว่าจะมีคนอื่นอีกไม่ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าคนเหล่ากำลังเดินหน้าเร่งการเปิดประเทศโดยชี้ไปว่า รัฐบาลกำลังประเมินถึงนโยบายอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ผู้เชี่ยวชาญต่างเตือนว่า อย่างไรก็ตามจากการที่บางส่วนของภูมิภาคมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ที่ต่ำซึ่งรวมไปถึง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทยจะทำให้การเปิดประเทศมีความเสี่ยงมากกว่าในโลกตะวันตก

ชาติตะวันตกจำนวนมากแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของตัวเองรวมถึง อังกฤษที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19ที่ 65% และแคนาดาอยู่ที่เกือบ 70%

CNNชี้ว่า ถึงแม้ว่าจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเคสช่วงสั้นๆหลังการเปิดแต่ทว่าจำนวนการเสียชีวิตและการเข้ารับการรักษาพยาบาลยังคงต่ำในประเทศโลกตะวันตกแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19ได้เป็นอย่างดี

และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการมีผลตรวจเป็นบวกยังคงอยู่ในระดับสูงที่น่าวิตก โดยองค์การอนามัยโลก WHO ได้ออกข้อแนะนำแก่ประเทศต่างๆให้คงอัตราการมีผลตรวจเป็นบวกอยู่ที่ 5% หรือต่ำกว่านั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการกลับมาเปิดทางสาธารณะอีกครั้ง ไรมาลชี้ว่า แต่ทว่ายังคงเห็นตัวเลข 20%-30% ในหลายประเทศในภูมิภาค

นอกจากทั้งหมดนี้ "ปัจจัยในเรื่องคุณภาพของวัคซีนโควิด-19" ยังเป็นปัญหาต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการกลับมาเปิดตัวรับนักท่องเที่ยวเช่นกัน

เป็นเพราะพบว่ามีหลายชาติจำนวนมากในภูมิภาคต่างพึ่งพาวัคซีนโควิด-19จากจีนเป็นวัคซีนหลักของตัวเองที่เป็นที่รู้กันดีว่ามีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าของวัคซีนชาติตะวันตก

อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก(Duke University)ของสหรัฐฯพบว่า ไทยซื้อวัคซีนซิโนแวคไม่ต่ำกว่า 40 ล้านโดส ขณะที่ฟิลิปปินส์และมาเลเซียต่างซื้อวัคซีนซิโนแวคประเทศละ 20 ล้านโดสเท่ากัน ส่วนกัมพูชาซื้อวัคซีนซิโนแวคจำนวน 16 ล้านโดส

อินโดนีเซียซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มของจีนจำนวน 15 ล้านโดสและมาเลเซียซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มจำนวน 5 ล้านโดส

และทำให้ผู้เชี่ยวชาญ ฮวงประจำสถาบันธิงแทงก์สหรัฐฯด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชี้ว่า ความพยายามที่จะกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งแต่ทว่ากลับมีประชาชนน้อยกว่าครึ่งได้รับวัคซีนโควิด-19โดยสมบูรณ์และอีกทั้งยังใช้วัคซีนประสิทธิภาพต่ำนั้นสามารถนำไปสู่สถานการณ์วิกฤตเคสล้นโรงพยาบาลและอาจทำให้ต้องมีการนำมาตรการจำกัดกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

อย่างไรก็ตามไม่ใช่มีทุกชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พึ่งพาวัคซีนซิโนแวคหรือวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน เป็นต้นว่า สิงคโปร์ที่เป็นชาติประสบความสำเร็จในการแจกวัคซีนให้กับประชาชนสูงถึง 77% ใช้วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคและวัคซีนโมเดอร์นาเป็นหลัก

และมีหลายชาติเริ่มถอนตัวออกห่างจากการใช้วัคซีนซิโนแวคเนื่องมาจากกังวลในประสิทธิภาพ โดย CNN ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มาเลเซียประกาว่า จะหยุดการใช้วัคซีนโควิด-19จากจีนหลังจากซัพพลายจำนวน 12 ล้านโดสของตัวเองหมดลง

และไทยในเดือนกรกฎาคมเช่นกันประกาศจะให้ภูมิคุ้มกันเป็นเข็มที่ 3แก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของตัวเองด้วยวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันถึงแม้คนเหล่านั้นจะได้รับวัคซีนซิโนแวคครบโดสแล้วก็ตาม

“ผมคิดว่าหากว่าพวกเขาสามารถใช้วัคซีนประสิทธิภาพสูงเพื่อเป็นเข็มกระตุ้นและมีจำนวนประชากรจำนวนมากได้รับภูมิคุ้มกันทางวัคซีน ดังนั้นแล้วการกลับมาเปิดประเทศจะดูมีความสมเหตุสมผลมากขึ้น” ฮวงกล่าว

ด้านครูต่างชาติสอนดำน้ำที่จังหวัดภูเก็ตพบว่าการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งนั้นดูไม่เร็วจนเกินไป “พวกเราล้วนมีลูกๆและตัวเองต้องเลี้ยงดู”