͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยนั่งดัชนีนวัตกรรมโลกอันดับ 43 ชุดข้อมูลไม่ต่อเนื่อง  (อ่าน 166 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ไทยคว้าอันดับ 43 ในตารางดัชนีนวัตกรรมโลกปี 64 จากทั้งหมด 132 ประเทศ ครองแชมป์อันดับ 1 ของโลกด้านการลงทุนวิจัยและพัฒนาขององค์กรธุรกิจไทย พบยังมีปัญหาข้อมูลไม่อัปเดททำให้ส่งรายงานไปปรับคะแนนได้ไม่เต็มที่ ย้ำองค์กรไทยทุกฝ่ายต้องบูรณาการร่วมกันมากขึ้น

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงการจัดอันดับ GII 2021 ภายใต้แนวคิด Tracking Innovation through the COVID-19 Crisis ว่าเป็นการมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อการพัฒนาระบบนวัตกรรม โดยผลการจัดอันดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 ปรับเพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปี 63 ที่อยู่อันดับ 44

“ในรายงานนี้มีชุดข้อมูลที่เราไม่ได้ส่ง เป็นข้อมูลที่ล้าหลัง ผมคิดว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานราชการที่ดูแลข้อมูลเหล่านี้ มาทำงานร่วมกันให้ข้อมูลเหล่านี้อัปเดทและเจาะลึกที่สุด เราจึงเน้นที่ Data driven innovation เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดก็สามารถเพิ่มอันดับของไทยได้ เพราะสะท้อนศักยภาพของระบบนิเวศน์จริงๆ”

  ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ 
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ไทยถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ที่อยู่อันดับ 8 และมาเลเซียอันดับ 36 ในตารางการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2564 (Global Innovation Index 2021; GII 2021) ภายใต้แนวคิด “ติดตามการปรับตัวระบบนวัตกรรมในภาวะวิกฤตโควิด-19” หรือTracking Innovation through the COVID-19 Crisis ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เพื่อวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศกว่า 132 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ประเทศไทยแซงเวียดนามเฉียดฉิวที่ตามมาในอันดับ 44

ดัชนีนี้จัดให้ไทยมีปัจจัยค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนาซึ่งลงทุนโดยองค์กรธุรกิจสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สะท้อนให้เห็นการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศไทยมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น



ขณะที่ปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 44 ลดลงเป็นอันดับที่ 46 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (upper middle-income economies) ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 5 จาก 34 ประเทศ โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 จาก 17 ประเทศ



ที่โดดเด่นที่สุดคือปัจจัยชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยในกลุ่มปัจจัยด้านระบบตลาด และกลุ่มปัจจัยด้านระบบธุรกิจ พบว่าแม้จะมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนาซึ่งลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดสำหรับปีนี้เป็นกลุ่มปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ปรับอันดับขึ้นจากอันดับที่ 79 เป็นอันดับที่ 60

ตัวชี้วัดภายใต้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเข้าถึงและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการบริการออนไลน์ของภาครัฐ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมข้อมูล (Data–driven Innovation)

สิ่งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดด้านข้อมูลในการติดตามและวัดผลนวัตกรรมไทย คือการขาดข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจากตัวชี้วัดทั้งสิ้น 81 ตัวชี้วัด มีถึง 16 ตัวชี้วัดที่ต้องนำข้อมูลในอดีตมาประมาณการ และมี 1 ตัวชี้วัดที่ไม่ได้มีการจัดเก็บหรือรายงานผล ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับในภาพรวมและการติดตามเพื่อวางแผนการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ



ข้อมูลหลักที่ขาดไปคือตัวชี้วัดด้านการร่วมลงทุน ทั้งในส่วนของนักลงทุนและบริษัทที่ได้รับการลงทุน โดยช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าประเทศไทยมีความตื่นตัวและการเติบโตด้านนี้เป็นอย่างมาก แต่ไม่ได้มีการติดตามหรือจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้ข้อมูลในส่วนนี้มีความคลาดเคลื่อนและส่งผลต่อการจัดอันดับในกลุ่มปัจจัยด้านการลงทุน

บทสรุป 7 มาตรการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมเร่งด่วนที่ไทยควรดำเนินการเพื่อเพิ่มดัชนีนวัตกรรมคือ 1) การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่มีศักยภาพ 2) การพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ 3) การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และมาตรการที่เป็นอุปสรรค 4) การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้และการลงทุน 5) การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6) การกระจายโอกาสด้านนวัตกรรมไปสู่ภูมิภาค และ 7) การเตรียมความพร้อมต่อระบบนวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนไป

หากทำได้ ประเทศไทยจะมีความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” อาจจะขับเคลื่อนนวัตกรรมประเทศไทยให้ก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573.