͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: “พาณิชย์”แนะผู้ส่งออกผักผลไม้ไปอียู ให้ความสำคัญลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์  (อ่าน 125 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


น.ส.อรอนุช ผดุงวิถี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา เปิดเผยว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามสถานการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อการค้าของไทยตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยล่าสุดสหภาพยุโรป (อียู) ได้เพิ่มความตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและมีความอ่อนไหวต่อประเด็นคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และถูกนำไปใช้กำหนดเป็นค่ามาตรฐานในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร

สำหรับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) แหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าว มาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้ไฟฟ้า กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม ตลอดจนกระบวนการโลจิสติกส์และขนส่งสินค้าไปสู่จุดหมายปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางอากาศ ซึ่งมีการปล่อยมลพิษจากเครื่องบินเข้าสู่ชั้นโอโซนโดยตรง

ทั้งนี้ โดยปกติสินค้าส่วนใหญ่บนโลกนี้ มักถูกขนส่งทางน้ำหรือทางบกเป็นหลัก เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกกว่า แต่มีสินค้าบางประเภทที่จำเป็นต้องขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า เช่น อาหารสด รวมถึงผักผลไม้สด โดยเฉพาะหากขนส่งในระยะทางไกล เช่น จากประเทศไทยไปยุโรป เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถใช้ช่องทางการขนส่งอื่นๆ ได้นอกจากทางอากาศ ในมุมหนึ่งทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นมาก เนื่องด้วยต้นทุนค่าขนส่ง อีกมุมหนึ่งทำให้สินค้าไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเท่าที่ควร เนื่องจากวิธีการขนส่ง ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงนับเป็นความอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าที่จำเป็นต้องขนส่งทางอากาศ

น.ส.อรอนุชกล่าวว่า ผู้บริโภคชาวยุโรปมีกระบวนการกลั่นกรองทางความคิดค่อนข้างมากก่อนเลือกซื้อสินค้า โดยจะคำนึงถึงที่มาตลอดจนกระบวนการผลิตว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ในขณะที่ผู้ประกอบการมักช่วงชิงบทบาทการเป็นผู้นำเทรนด์ของตลาด ทั้งในมิติด้านการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่ง และการไม่รีรอให้ผู้บริโภคเป็นผู้จุดประเด็นขึ้นมาต่อต้านก่อน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งสินค้าผักผลไม้สดมาจำหน่ายยังสหภาพยุโรป จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินท์ให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันด้านราคากลับเป็นปัจจัยพิจารณาลำดับที่รองลงมาจากประเด็นสิ่งแวดล้อม ทางออกที่สำคัญ คือ การคิดหาวิธีการจัดการตลอดจนนวัตกรรมที่จะช่วยทำให้สามารถขนส่งสินค้าดังกล่าวมาทางอื่นได้โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า แม้ว่ามีความท้าทายในทางเทคนิค และต้องอาศัยการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง แต่ถ้าสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง ก็จะเป็นการสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับสินค้าประเภทผักผลไม้สดของไทย