͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ต.ค. ‘สุพัฒนพงษ์’ เล็งอัดกระตุ้นเศรษฐกิจ  (อ่าน 161 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผู้ป่วยลดลงต่อเนื่อง ในขณะนี้ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลกำลังประเมินสถานการณ์ในเดือน ก.ย.นี้อย่างใกล้ชิด หากจำนวนผู้ติดเชื้อยังทรงตัวและไม่มีคลัสเตอร์ใหม่ๆที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากเพิ่มอีกก็ถึงเวลาที่จะเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งจะเริ่มในเดือน ต.ค.เป็นต้นไป

สำหรับมาตรการที่จะใช้มีทั้งนโยบายที่เป็นนโยบายใหม่ และนโยบายเดิม โดยนโยบายเดิม เช่น โครงการคนละครึ่ง หรือ นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว ที่ยังมีอยู่และมีการขยายระยะเวลาออกไปก็ยังเดินหน้าต่อตามนั้น

“หากดูสถานการณ์ในขณะนี้เป็นไปด้วยดี ประชาชนดูแลตัวเองดีก็คิดว่าถึงเวลาที่เราจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยจะเริ่มในเดือน ต.ค.นี้ นโยบายทุกอย่างอยู่ในลิ้นชักอยู่แล้วรอเวลาที่เหมาะสมที่จะเอาขึ้นมาใช้ได้”

นายสุพัฒน์พงษ์ ตอบคำถามประเด็นเศรษฐกิจในปี 2564 จะยังขยายตัวได้หรือไม่ ว่า ประเมินแล้วน่าจะยังขยายตัวได้ ยังมีบางส่วนของเศรษฐกิจที่เติบโตได้อยู่ 

ส่วนประเด็นข้อเสนอจากภาคเอกชนและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้กู้เงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินในขณะนี้เพราะเงินกู้ที่มีอยู่ยังเหลืออีกกว่า 4 แสนล้านบาท


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุม ครม.อนุมัติวงเงิน 16,965 ล้านบาท เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐที่เป็นผู้ประกันตนใน ม.33 แบ่งเป็น

1.อนุมัติเงิน 16,103 ล้านบาท ช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด เพิ่มเติม 1 เดือน (ส.ค.) ช่วยเหลือนายจ้างจำนวน 194,660 ราย โดยจ่ายให้ 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,257 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.33 สัญชาติไทย จำนวน 3.53 ล้านคน โดยจะจ่ายให้คนละ 2,500 บาทต่อเดือน เป็นจำนวนเงิน 8,846 ล้านบาท โดยจะเริ่มโอนเงินเยียวยาภายในเดือน ก.ย.นี้


2.ขยายกรอบวงเงิน เพิ่มขึ้นจำนวน 862.2 ล้านบาท จาก 17,050 ล้านบาท เป็น 17,912 ล้านบาท จากการปรับปรุงจำนวนนายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยมีนายจ้างจำนวน 226,394 ราย เพิ่มขึ้น 18,900 ราย และผู้ประกันตน ม.33 จำนวน 3.87 ล้านราย เพิ่มขึ้น 400,375 ราย ซึ่งเป็นผลจากการขยายเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 16 จังหวัด ขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ภายในวันที่ 24 ส.ค.นี้ ทั้งนี้ ยังขยายระยะเวลาในการเบิกจ่ายและดำเนินโครงการถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้

“รวมแล้วโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 9 กิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ที่ประกอบด้วยการให้ความช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตน ม. 33 ในพื้นที่ 13 จังหวัดในระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.) และในพื้นที่ 16 จังหวัด ระยะเวลา 1 เดือน (ส.ค.) มีกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 34,015 ล้านบาท”