͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 1 ปีมี 4 ครั้ง พระอาทิตย์ขึ้น-ตก ลอดช่อง 15 ประตู “ปราสาทพนมรุ้ง”  (อ่าน 136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 18534
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นอกจากความงดงามอลังการของ “ปราสาทพนมรุ้ง” หรือ “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง” ที่เป็นสถาปัตยกรรมจากยุคโบราณ ยังมีอีกหนึ่งความน่าอัศจรรย์คือ ใน 1 ปี จะมี 4 วันที่พระอาทิตย์ขึ้น-ตกลอดผ่านช่องประตูทั้ง 15 ประตูเป็นแนวเดียวกัน

โดยในทุกๆ ปีปราสาทพนมรุ้งจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ลอดช่องผ่านประตูทั้ง 15 ช่อง เป็นแนวเดียวกัน 4 ครั้งเท่านั้น คือ พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่องประตู 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ 3-5 เมษายน และ 9 -11 กันยายน พระอาทิตย์ตกลอดช่องประตู 2 ครั้ง ในช่วงวันที่ วันที่ 5-7 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม

พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่อง 15 ประตู (ภาพจากเพจ “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์” บันทึกภาพวันที่ 10 ก.ย.63)
พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่อง 15 ประตู (ภาพจากเพจ “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์” บันทึกภาพวันที่ 10 ก.ย.63)

เรื่องนี้มีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการว่า สถาปนิกขอมโบราณน่าจะเลือกสร้างปราสาทพนมรุ้ง โดยใช้แสงอาทิตย์ยามเช้ากำหนดทิศทางของปราสาทและแนวประตูทั้ง 15 ช่อง ซึ่งคาดว่าน่าจะตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์พอดี

แต่ต่อมาการหมุนของโลกเบี่ยงเบนไปเรื่อยๆ วันที่พระอาทิตย์ขึ้นส่องลอดทะลุประตูทั้ง 15 ช่อง จึงเลื่อนขึ้นมาปรากฏในช่วงต้นเดือนเมษายน ซึ่งทางจังหวัดบุรีรัมย์ได้กำหนดจัดงาน “ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง” อย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

และในช่วงเดือนกันยายน 2564 นี้ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้แจ้งผ่าน Facebook Fanpage “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์” เรื่องกำหนดการพระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง ว่า

พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่อง 15 ประตู (แฟ้มภาพ)
พระอาทิตย์ขึ้นลอดช่อง 15 ประตู (แฟ้มภาพ)

“พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง จะปรากฏขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 8-9-10 กันยายน 2564 ที่จะถึงนี้ เวลา 05.57 น. โดยประมาณ

ในการนี้ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอแจ้งประชาสัมพันธ์ สำหรับท่านที่จะเตรียมตัวมาชมปรากฏการณ์ดังกล่าว ดังนี้

1. ประตูอุทยานฯ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ ตั้งแต่เวลา 05.30 น.
2. อุทยานฯ จัดเตรียมการคัดกรองนักท่องเที่ยว ตามมาตรการควบคุม เฝ้าระวังและป้องกันโควิด-19 ลงทะเบียนสแกนคิวอาร์โค๊ด หรือลงชื่อในสมุดลงทะเบียน ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 100% รักษาระยะห่าง และหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลอยู่เสมอ (เริ่มจำหน่ายบัตรและลงทะเบียนคัดกรอง ตั้งแต่เวลา 05.00 น.)
3. ชำระค่าธรรมเนียมเข้าชมโบราณสถานตามระเบียบ
4. ปรากฏการณ์นี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากมีฝนหรือเมฆหมอกหนา ก็อาจไม่เห็น
5. โปรดเอื้อเฟื้อแบ่งปันการรับชม”

บริเวณที่ยืนรอชมพระอาทิตย์ขึ้นลอดช่องประตู
บริเวณที่ยืนรอชมพระอาทิตย์ขึ้นลอดช่องประตู

ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทพนมรุ้ง

สำหรับ “อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง” (อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์) ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง เป็นปราสาทที่ได้รับการยอมรับว่างดงามที่สุดในเมืองไทย คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่าภูเขาใหญ่ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว

ปราสาทพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ก่อสร้างอย่างสวยงามอลังการตามคติจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีการบูรณะก่อสร้างอย่างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 - 17 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานในช่วงนั้น

เสานางเรียงบริเวณทางเดินสู่ตัวปราสาท
เสานางเรียงบริเวณทางเดินสู่ตัวปราสาท

ความงดงามและเสน่ห์ของปราสาทพนมรุ้งนั้นมีมากมาย เริ่มตั้งแต่เส้นทางเดินสู่ปราสาทซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ ซึ่งทางขวามือก่อนเดินขึ้นบันได จะมี “พลับพลา” เป็นอาคารโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยอาคารนี้เดิมเรียกว่าโรงช้างเผือก สันนิษฐานว่าเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องสำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง ก่อนจะเข้าสู่ภายในปราสาทประธานที่อยู่บนเขา

เส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทที่ถูกออกแบบลดหลั่นไปตามภูมิประเทศ มีเส้นทางที่มีเสานางเรียงตั้งอยู่เรียงราย ผ่านสะพานนาคซึ่งเป็นดังจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ นำสู่องค์ “ปราสาทประธาน” ที่เปรียบดังยอดเขาพระสุเมรุ

ปราสาทประธาน
ปราสาทประธาน

ศิวลึงค์ใน ห้องครรภคฤหะ
ศิวลึงค์ใน ห้องครรภคฤหะ

ปราสาทประธานสร้างด้วยหินทรายสีชมพูอันงดงามสมส่วน มีไฮไลต์คือองค์ปรางค์ประธาน ที่ภายในตัวเรือนธาตุมีห้องครรภคฤหะ ประดิษฐานศิวลึงค์รูปเคารพสำคัญของลัทธิไศวนิกาย ความพิเศษของของศิวลึงค์ที่นี่ก็คือ จะมีท่อโสมสูตร หรือร่องรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากพิธีกรรมเซ่นสังเวยองค์ศิวเทพต่อยาวออกมา

ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นไฮไลต์สำคัญเคียงคู่กับตัวปราสาทก็คือ ลวดลายสลักหินหรือภาพจำหลักหิน ที่ถือเป็นงานในระดับมาสเตอร์พีช ฝีมือประณีตงดงาม นำโดยภาพ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” และภาพ “ศิวนาฏราช” ที่อยู่เคียงคู่กัน รวมถึงภาพลวดลายประกอบอื่นๆ และภาพอารมณ์ขันของช่างขอมโบราณที่ได้สลักแฝงไว้ตามแง่มุมต่างๆ ที่งดงามและค่อนข้างสมบูรณ์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ศิวนาฏราช
ศิวนาฏราช


“อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง” เปิดให้เข้าชมตามปกติ ทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น. โดยปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ลงทะเบียน ณ จุดคัดกรอง, ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์, สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา 100%