͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'อสม. นักวิทย์ฯ' สกัด เฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย  (อ่าน 130 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 18534
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


'ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีสารปนเปื้อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้สูงอายุในชุมชน ดังนั้น อสม. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลประชาชน จึงถือเป็นด่านหน้า ในการสกัด ตรวจสอบ แจ้งข้อมูล เฝ้าระวังสินค้าดังกล่าวเพื่อไม่ให้คนในชุมชนตกเป็นเหยื่อ

อ.ประจักษศิลปาคม จ.อุดรธานี เป็นอำเภอเล็กๆ ห่างจากอุดรธานี 30 กม. มีประชากร 25,572 คน 41 หมู่บ้าน 5,597 หลังคาเรือน อสม. 515 คน คิดเป็น 1 : 11 หลังคาเรือน วัด 43 แห่ง โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง  รพ.1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง รพสต. 3 แห่ง 


ทั้งนี้ ในพื้นที่มีสถานประกอบการ ได้แก่ โรงงานผลิตน้ำดื่ม 6 แห่ง โรงงานปลาร้า 2 แห่ง คือ เทพธิดา และ นางฟ้า ที่ส่งขายต่างประเทศหลายประเทศ โรงงานน้ำจิ้มไก่ 1 แห่ง ร้านอาหาร 7 ร้าน ร้านขายของชำ 141 ร้าน ตลาดสด 2 แห่ง ตลาดนัด 9 แห่ง แผงลอยจำหน่ายอาหาร 54 ร้าน (ข้อมูล ณ 1 ส.ค. 64) 


มีการดำเนินงานของงานคุ้มครองผู้บริโภคและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน มาต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยมีการจัดตั้ง ศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน และ พัฒนา อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในการติดตาม เฝ้าระวัง สามารถใช้แบบทดสอบอย่างง่าย เพื่อทดสอบสารปนเปื้อนในยา อาหาร เครื่องสำอาง ที่น่าสงสัย รวมถึงแจ้งเตือนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ความรู้แก่ประชาชน

ADVERTISEMENT





ปัญหารถเร่ ยาโบราณ ฯลฯ 

“ศิริชัย สายอ่อน” สาธารณสุขอำเภอประจักษ์ศิลปาคม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี กล่าวในการประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 29 “วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 64 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยระบุว่า อ.ประจักษศิลปาคม จ.อุดรธานี ตอนนี้เข้าสู่สังคมสูงวัย มีผู้สูงอายุกว่า 14.8% ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะยาแผนโบราณ ปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่า 10 ปีก่อน คือ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะขายตรง รถเร่ นำผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะยาแผนโบราณจะเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ผู้สูงวัยได้รับผลจากยาสเตรียรอยด์เป็นจำนวนมาก



พัฒนาศักยภาพ อสม. เฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ที่ผ่านมา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อ.ประจักษ์ศิลปาคม ในการขับเคลื่อนงาน มีคณะอนุกรรมการฯ ในการดูแลรับผิดชอบและมีผู้ประกอบการร่วมด้วย โดยเป้าหมาย คือ การมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เป็นหัวใจที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน ซึ่งมีศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

เพื่อเฝ้าระวังค้นหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง โดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่าย การกำหนดมาตรการทางสังคม การสร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ให้ประชาชน มีความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ส่งต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี


สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

จุดเริ่มต้นในปี 2554
ในปี 2554 มีการพูดคุยกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ได้ทำอบรมหลักสูตร อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพ เริ่มที่ ตัวแทนอสม. ต.นาม่วง หมู่บ้านละ 2 คน โดยสอน อสม. ใช้ชุดทดสอบหาสารปนเปื้อนแบบง่าย


ปี 2555 ขยายเครือข่าย ต.อุ่มจาน และ ต.ห้วยสามพาด 27 หมู่บ้าน อสม. หมู่บ้านละ 1 คน  


ปี 2556 มีคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) พร้อมกับโครงการ อำเภอต้นแบบงานคุ้มครองผู้บริโภค และวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน พัฒนาศักยภาพ อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน 41 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน รวม 84 คน




ตั้งศูนย์เตือนภัย ร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปี 2557 มีการจัดเวทีประชาคม สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น พร้อมกำหนดมาตรการสังคมร่วม ได้แก่

ระบบส่งตัวอย่างจากศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ ถึงศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี
จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
ไม่ให้มีรถเร่ , รถหนังฉายยา รถฉายซีดี หรือ กลุ่มธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะยา ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต้องแจ้งขออนุญาตกำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน ตรวจหาสารปนเปื้อนผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยอสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนก่อน จึงจำหน่ายได้
หมู่บ้านไม่ต้อนรับ รถเร่ รถหนังฉายยา รถฉายซีดี หรือกลุ่มธุรกิจขายตรงยา และเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
หากกลุ่มดังกล่าวฝ่าฝืนมีโทษทั้งปรับและจำคุก


ในปี 2558 มีการ คิกออฟ โครงการ หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพและอสม.วิทยาศาสตร์ชุมชน พร้อมกันนี้ ในปีดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้อนุมัติ 2 ล้านบาท โครงการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนต้นแบบ ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และสถานีอนามัยพระราชทานนามทั้ง 90 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ระหว่าง ปี 2558 – 2560 มีการขยายผล ดังนี้

ชุมชนต้นแบบเพิ่มขึ้น 90 แห่ง  
ศูนย์แจ้งเตือนภัยฯ 173 แห่ง
คัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2,514 ตัวอย่าง พบสารอันตราย 263 ตัวอย่าง คิดเป็น 10.5% แบ่งเป็น ในอาหาร 82 ตัวอย่าง ในยา 75 ตัวอย่าง ในเครื่องสำอาง 106 ตัวอย่าง
และมีการแจ้งเตือนภัยทางหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ “กรมวิทย์ with you”
ปี 2562 ต.นาม่วง มีชมรนักวิทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 14 ชุมชน และได้รับการรับแจ้งสถานนะเป็นองค์กรของผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 จากนายทะเบียนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี 12 ชมรม

ปี 2564 ชมรมฯ ที่ผ่านการรับรองสมัครเป็นสมาชิกสภาพองค์กรของผู้บริโภค



หน้าที่ของศูนย์แจ้งภัยฯ
1. ตรวจสอบสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ และสารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง

2. ประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3. รับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

4. ให้คำปรึกษาสิทธิของผู้บริโภค

5. แหล่งเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

6. ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7. ติดตามเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ

           

“ทั้งนี้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ปี 2554 – 2564 การดำเนินงานเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน พบว่า สารปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องสำอางลดลง แต่ยังพบมีการปนเปื้อนของสเตียรอยในยาน้ำสมุนไพร” ศิริชัย กล่าว 

'เยียวยาประกันสังคมมาตรา 40' เช็คโอนพร้อมเพย์-ทบทวนสิทธิ์ ยังไม่ได้เงินทำไง?
ด่วน! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังตายสูง! พบเสียชีวิต 292 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 17,984 ราย ไม่รวม ATK อีก 2,535 ราย
เตรียมตัวให้พร้อม "ร้านนวด-เสริมสวย" คลายล็อก 1 ก.ย. นี้


บทบาท อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน
เป็นหูเป็นตา

เฝ้าระวังการกระทำที่เป็นความเสี่ยงชุมชน เช่น ขอตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อว่าไม่ปลอดภัย ตรวจสอบฉลากและแหล่งที่มี หากพบสิ่งผิดปกติ จะรีบรายงานเจ้าหน้าที่ รพสต.ทันที
เป็นปากเป็นเสียง

จัดตั้งศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวังและรับข้อร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ  
เตือนภัยในชุมชนหากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
บอกเรื่องดีดี มีประโยชน์ให้กับชุมชน
เป็นแขนเป็นขา

ใช้เครื่องมือหรือชุดทดสอบอย่างง่าย ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่น่าสงสัย และส่งตรวจยืนยันที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์

นอกจากนี้ การปฏิบัติงานในตลาด อสม. มีการลงพื้นที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารของร้านค้าก่อนจำหน่าย และจะมีป้ายให้ผู้ประกอบการได้รับความมั่นใจ เกิดผลดีทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ในส่วนของชุดทดสอบ ผู้ประกอกบการยังให้ความร่วมมือในการจัดหามาให้ อสม. อีกด้วย

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.)

2. สถานบริการสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง อสม.วิทย์ฯ

3. ชมรม อสม.วิทย์ฯ มีความเข้มแข็ง

4. อปท.ให้ความร่วมมือและสนับสนุนงบประมาร

5. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุน


ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ความมั่นคงของระบบงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานราชการที่ตรวจพบสินค้าไม่ปลอดภัยต้องแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบโดยเร็วที่สุด เช่น กรมวิทย์ with you ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

และ Oryor smart application ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นระบบที่ให้ข้อมูลสินค้าที่ไม่ปลอดภัยทั้งคู่ ควรรวมเป็นระบบเดียวแบบ One stop Service และขยายให้ครอบคลุมสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน