͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: กลุ่มเปราะบางกับการพัฒนา กำลังคนหลังโควิด-19  (อ่าน 139 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16766
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ตามที่มีข่าวออกมากยังมีประชาชนกลุ่มเปราะบางที่อาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลือให้ทันท่วงที่ต่อผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เลยทำให้นึกถึงการพัฒนากำลังคนของประเทศว่า ประชาชนกลุ่มเปราะบางกลุ่มไหน จะสามารถมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านกำลังคน เพราะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ยังต้องการกำลังคนมาสนับสนุนโครงการต่างๆ ในเขตอีอีซี

ผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในภาระกิจของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 และกำลังพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล จากประสบการณ์มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการพัฒนากำลังคน ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอาชีวศึกษา หรือบุคลากรในหน่วยงานที่มีการ upskill reskill new skill อยู่บ่อยครั้ง แต่หากมองออกไปที่กลุ่มอื่น ที่ยังไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมการส่งเสริมและช่วยเหลือมากนัก ก็จะเป็นกลุ่มที่อยู่นอกระบบ ซึ่งถ้าหากเราสามารถนำกลุ่มนี้กลับเข้ามาในระบบได้ก็เป็นดี จะได้มาเสริมกำลังคนในการพัฒนาประเทศ

กลุ่มประชากรที่อยู่ในระบบก็จะได้รับการส่งเสริมง่ายกว่ากลุ่มที่อยู่นอกระบบ เช่น โครงการ Schools Championship หรือ โครงการ depa Maker Spaces ของ depa ซึ่งเป็นโครงการที่ปูพื้นฐานด้วยองค์ความรู้ด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา หรือกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรที่มีการจัดอบรมต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก จะอยู่ในรูปแบบของ reskill upskill และ new skill

กลุ่มประชาชนเปราะบางด้านการพัฒนกำลังคนนั้น คือ กลุ่มที่อยู่นอกระบบหรือแรงงานนอกระบบ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถเข้าอยู่ในระบบได้ เช่น การขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือออกจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร จากรายงานของ จากรายงานของ Organization for Economic Co-operation and Development (2019) รายงานว่าถึงแม้เมื่อปี 2552 รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 15 ปี โดยนับจากชั้นอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ยังปัจจัยอื่นที่ทำให้นักเรียนต้องออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อย่างไรก็ตามหากประชาชนกลุ่มเปราะบางด้านการพัฒนากำลังคนได้รับโอกาสในการพัฒนาในทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ ถึงอาจจะใช้งบประมาณสูง ใช้เวลานาน และความอดทนสูงก็ตาม เพราะจะต้องมีการวางแผนรอบด้าน ตั้งแต่การวางหลักสูตรที่เร่งรัดแต่มีประสิทธิภาพ จัดหาระบบที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อมาอบรม จัดหาแหล่งจ้างงานที่รองรับหลักจบจากหลักสูตร แต่หากมองในระยะยาว ก็ถึงว่าคุ้มที่จะลงทุนเพราะจะมีผลกระทบเชิงบวกในหลายมิติ เช่น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพิ่มจำนวนประชากรที่มีคุณภาพทำให้กับสังคม เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนและหมุนเวียนเนื่องจากมีจำนวนผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และที่สำคัญจะมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากเรามีบุคลากรเพียงพอในการรองรับธุรกิจที่จะมาตั้งในเขตอีอีซี และลดจำนวนการจ้างแรงงานจากต่างประเทศ

ADVERTISEMENT


ดังนั้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้คลี่คลาย ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ควรร่วมมือกันวางแผนการส่งเสริมการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางด้านการพัฒนากำลัง ประชากรกลุ่มนี้อาจจะเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่หลายคนไม่ได้นึกถึง เพราะอยู่นอกระบบ ทั้งที่เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถทำงานได้ เพียงแต่ขาดโอกาสในการพัฒนาและสนับสนุน ประชากรกลุ่มนี้ก็สามารถเป็นกำลังเสริมในการขับเคลื่อนประเทศได้