͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องความคืบหน้า 'วัคซีนโควิด-19' สัญชาติของไทย  (อ่าน 143 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13350
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เดือน มิ.ย. 64 พบว่า มี วัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ในขั้นการทดลองในมนุษย์กว่า 100 รายการ และอีก 184 รายการ อยู่ในขั้นศึกษาวิจัย สำหรับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนา วิจัย วัคซีนโควิด-19 ในหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ มหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน การวิจัยพัฒนา วัคซีนโควิด-19 ในประเทศ มีความก้าวหน้าตามลำดับ อาทิ วัคซีนชนิด Protein Subunit ของบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างทดสอบในมนุษย์เฟส 1 , วัคซีนชนิด mRNA ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ระยะ 2 , วัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม และอีก 1 ชนิด อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง คือ วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA ของบริษัท Bionet-Asia จำกัด

“ChulaCOV19” 


ซึ่งพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เป็นวัคซีนชนิด mRNA เช่นเดียวกับไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีการทดลองในสัตว์ทดลองทั้งหนู และลิง พบว่ามีประสิทธิภาพ สร้างภูมิคุ้มได้ในระดับสูง ล่าสุดทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร อายุ 18-55 ปี 36 คน ในเดือน มิ.ย. ผลอาสาสมัคร ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ มีผลข้างเคียงอยู่ในระดับเล็กน้อยหรือปานกลาง


“ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม” ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า ผลการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีน ChulaCov19 พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนตี้บอดี้ ได้เทียบเท่ากับวัคซีนชนิด mRNA อย่าง ไฟเซอร์ โดยสามารถยับยั้งการจับโปรตีนที่กลุ่มหนามได้ 94% เท่ากับไฟเซอร์ 94%

รวมถึงสามารถกระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม แอนตี้บอดี้ที่สูงนี้สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า อีกทั้งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด T-cell ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื่อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้

สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน เก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ พร้อมกันนี้ จะทำการเดินหน้าทดลองเฟส 2 ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ และหากกติกาของ อย. ไม่จำเป็นต้องทดลองในเฟส 3 คาดว่าจะได้ใช้ราว เม.ย. 2565

นอกจากนั้น จุฬาฯ ได้มีการเตรียมโรงงานในการผลิตจากโรงงานของบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ในประเทศไทย ซึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรองรับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยสำเร็จตามแผนจะใช้โรงงานแห่งนี้ในการผลิตวัคซีนโควิด ชนิด mRNAของจุฬาฯ โดยคาดว่าโรงงานจะสามารถผลิตได้ 30-50 ล้านโดสต่อปี ทำให้สามารถปิดช่องว่างวงจรการผลิตวัคซีนในไทยได้


“วัคซีนชนิด Protein Subunit” 
ผลิตโดยนักวิทยาศาสตร์ไทย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรศ. ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ก่อตั้งบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด พัฒนาวัคซีนโควิด-19 และแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสจากใบยาสูบชนิดพิเศษได้สำเร็จ โดยใช้เทคนิคการใช้พืชเพื่อผลิตโปรตีนนั้น โดยใบยาสูบที่นำมาใช้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่มีนิโคตินระดับต่ำมาก

ที่ผ่านมา วัคซีนใบยาได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิง ด้วยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบปรากฏว่าลิงมีความปลอดภัย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ผลเลือดในลิงที่ใช้ทดลองมีค่าเอนไซม์ตับปกติ อีกทั้งจำนวนเม็ดเดือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีการกระตุ้น T Cell ได้ดีในลิง กระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พืช สามารถผลิตเป็นจำนวนครั้งละมากๆ ได้

สามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลอง มาเป็นการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที โดยตั้งเป้าการผลิตวัคซีนจากใบยาสูบราว 10,000 โดสต่อเดือน เริ่มเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 – 60 ปีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน คาดพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 – 500 บาท


“วัคซีน HXP–GPOVac” 
พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ ศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล “นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์” ผอ.องค์การเภสัชกรรม เผยว่า วัคซีนโควิด-19 HXP-GPO Vac ขององค์การเภสัชกรรม เป็นวัคซีนเชื้อตายไวรัลแวกเตอร์ ผลการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 อาสาสมัคร 210 คน อายุ 18-60ปี ใช้สูตรวัคซีน 5 สูตร

และเลือก 2 สูตรเพื่อใช้ในการศึกษาในมนุษย์ระยะ 2 ใช้อาสาสมัคร 250 คน อายุ 18-75 ปี ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาก่อน หากผลเป็นไปตามเป้าจะมีการเดินหน้าศึกษาในระยะที่ 3 ต่อไปที่เหลือวัคซีนเพียง 1สูตร คาดยื่นขึ้นทะเบียน อย. เพื่อใช้กรณีฉุกเฉินราวกลางปี 2565 และจะใช้โรงงานผลิตของอภ.ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ระยะต้นมีกำลังการผลิตได้ 20-30 ล้านโดสต่อปี

ตรวจสอบสิทธิ 'ประกันสังคม' ม.39 www.sso.go.th รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 23 ส.ค.นี้ เช็ครายละเอียดที่นี่
ด่วน! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ จับตา! พบเสียชีวิต 242 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 17,491 ราย ไม่รวม ATK อีก 901 ราย
เมื่อติดโควิด-19 จะรับ ATK- ยาฟรี @ ‘ร้านขายยา’ ได้อะไรบ้าง?

“วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA” 
พัฒนาโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด มีผลการทดสอบในหนูทดลองพบว่า วัคซีนมีความปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 คาดว่าจะวิจัยในคนระยะที่ 2 และ 3 ในปีนี้ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิ.ย 64) โดยมีแผนการทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 ในประเทศออสเตรเลียคู่ขนานกันไป


“วัคซีนแบบพ่นจมูก” 
ชนิด Adenovirus-based และ Influenza-based พัฒนาโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผ่านการทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพต่อการคุ้มโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะผลักดันให้เป็นวัคซีนต้นแบบป้องกันโรค COVID-19 สามารถนำไปทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครต่อไป

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า วัคซีนชนิด Adenovirus ออกแบบโดยการพ่นเข้าจมูกผ่านละอองฝอย ผ่านการทดสอบในหนูทดลองที่ฉีดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว พบว่า หนูทดลองนอกจากไม่มีอาการป่วย ยังมีน้ำหนักขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามอย่างเห็นได้ชัด ผลการทดสอบความปลอดภัย การผลิตในระดับ GMP ร่วมมือกับบริษัท KinGen BioTech กำลังจะทดสอบวัคซีนนี้ในอาสาสมัครมนุษย์ในรูปแบบที่สร้างจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ในเร็วๆ นี้

ส่วนชนิด Influenza virus อยู่ระหว่างต่อคิวทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคโควิด-19 และผลการวิจัยเรื่องระดับภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งในรูปแบบแอนติบอดี และ T cell ได้สูง โดยร่วมกับทีมองค์การเภสัชกรรม และมีแผนจะออกมาทดสอบความปลอดภัยต่อไป หากไม่มีผลข้างเคียงจะยื่นอย. เพื่อขอทดสอบในมนุษย์ โดยร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คาดเริ่มทดสอบเฟสแรกปลายปี 64 และเฟส 2 มี.ค. 65 หากได้ผลดีจะสามารถผลิตใช้ได้กลางปี 65