͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: พาณิชย์เตรียมลงนามมินิเอฟทีเอไห่หนาน 20ส.ค.นี้  (อ่าน 179 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16170
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 20 ส.ค.2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกรทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับมณฑลไห่หนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อช่วยในการขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการของไทย ซึ่งจะถือเป็น Mini FTA ฉบับที่ 2 ที่จะมีการลงนามกัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงนามทำ Mini FTA กับจังหวัดโคฟุ ญี่ปุ่นที่จะร่วมมือการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา


สำหรับมณฑลไห่หนาน เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดของจีน เป็นจุดสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเปิดในระดับสูงของจีน มีประชากรกว่า 10.8 ล้านคน ซึ่งจีนมีนโยบายพัฒนาให้ไห่หนานเป็นฟรีพอร์ต หรือฮ่องกง 2 การที่ไทยร่วมมือกับไห่หนาน จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) การขยายการค้า ลงทุน การจัดกิจกรรมทางการค้า เช่น การจัดงานแสดงสินค้า การจัดคณะผู้แทนการค้า การเจรจาจับคู่ธุรกิจ และร่วมมือการค้าออนไลน์ เป็นต้น

          
นอกจากนี้ นายจุรินทร์ยังได้เร่งรัดให้มีการลงนามใน Mini FTA กับรัฐเตลังคานา ของอินเดีย ในระยะต่อไป ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจานัดหมาย โดยเตลังคานาถือเป็นรัฐจัดตั้งใหม่ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 9 จาก 28 รัฐของอินเดีย มีประชากรกว่า 39 ล้านคน เป็นรัฐที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และมีโอกาสทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการของไทย   

ส่วนการทำ Mini FTA กับจังหวัดคยองกี สาธารณรัฐเกาหลี ได้ตั้งเป้าลงนาม MOU ประมาณเดือนก.ย.2564 โดยจังหวัดคยองกีเป็นเขตปกครองตนเองที่มีประชากรมากที่สุดของสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 13.55 ล้านคน เป็นจังหวัดที่มีรายได้ประชาชาติสูงเป็นอันดับ 1 ในสาธารณรัฐเกาหลี เป็นฐานการผลิตของบริษัทไอทีระดับโลกของสาธารณรัฐเกาหลี และยังมีคนเอเชีย คนอาเซียน อยู่เป็นจำนวนมาก มีความต้องการสินค้าไทย ซึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน การส่งเสริม SMEs สตาร์ทอัพ การเชื่อมโยงการค้าออนไลน์ การให้สิทธิประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน สิทธิพิเศษทางภาษี เป็นต้น

         
“การจัดทำ Mini FTA เป็นนโยบายที่นายจุรินทร์ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะเร็วกว่าการเจรจาทำ FTA ที่ต้องใช้ระยะเวลาการเจรจานาน แต่การทำ Mini FTA เป็นความร่วมมือเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการ และเห็นตรงกัน การเจรจาจัดทำ ก็ใช้เวลาไม่นาน และเมื่อทำแล้ว ก็จะช่วยเพิ่มความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การค้าขยายตัวมากขึ้น เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย”นางมัลลิกากล่าว