͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ต่างชาติทิ้ง 'หุ้นไทย' 1.04 แสนล้าน ขาย CPF หนักสุด  (อ่าน 118 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 13281
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 ส.ค.2564) ดัชนี SET ปรับลง 11.87 จุด หรือปรับลง 0.77% มาอยู่ที่ 1,528.32 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.33 แสนล้านบาท ระหว่างสัปดาห์ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดที่ 1,551.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,525.29 จุด โดยตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันทำจุดสูงสุดใหม่ (นิวไฮ) ต่อเนื่อง รวมถึงแรงขายตามข่าว (Sell on Fact) จากการรายงานงบไตรมาส 2 ปี 2564

ขณะที่การซื้อขายแยกตามกลุ่มผู้ลงทุน พบว่า นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,307.71 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีหลักทรัพย์ที่ซื้อสุทธิ 809.49 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ซื้อสุทธิ 96.94 บ้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ 3,214.15 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบัน (1-13 ส.ค.) นักลงทุนต่างประเทศยังเป็นกลุ่มเดียวที่มียอดขายสุทธิสะสมอยู่ที่ 11,362.58 ล้านบาท สวนทางกับอีก 3 กลุ่มนักลงทุนที่เหลือ เช่นเดียวกับในช่วงตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันที่มียอดขายสุทธิสะสมสูงสุดอยู่ที่ 104,644.84 ล้านบาท และหากย้อนไปไกลกว่านั้นพบว่านักลงทุนกลุ่มนี้มียอดขายสุทธิสะสมราว 6.5 แสนล้านบาท ในช่วงกว่า 4 ปีที่ผ่านมา (2559-ปัจจุบัน)


เมื่อพิจารณาข้อมูลการซื้อขายด้วยบัญชี NVDR ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันกลุ่มหุ้นที่มียอดขายสุทธิสะสม ได้แก่ กลุ่มสื่อสาร 6,905.86 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีก 2,684.44 ล้านบาท กลุ่มเกษตร 1,771.96 ล้านบาท กลุ่มอาหาร 821.45 ล้านบาท กลุ่มขนส่ง 812.81 ล้านบาท และกลุ่มประกัน 433.69 ล้านบาท

หากพิจารณาข้อมูลรายหุ้น พบว่า CPF มียอดขายสุทธิสะสมสูงสุด 4,279.03 ล้านบาท INTUCH 4,002.64 ล้านบาท CPN 2,872.48 ล้านบาท CPALL 2,519.85 ล้านบาท และ BEM 2,487.86 ล้านบาท


อย่างไรก็ดี "ณัฐพล คำถาเครือ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า สัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 30% ตอนปลาย แต่กลุ่มนักลงทุนที่มีสัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดคือนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ประมาณ 40% ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันได้แรงหนุนจากเม็ดเงินในประเทศเป็นหลัก

ขณะที่การไหลออกต่อเนื่องในระดับแสนล้านบาทนั้น คาดว่าเป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเป็นหลัก อีกทั้งประเทศไทยยังมีความเสี่ยงจะเป็นประเทศเดียวที่จีดีพีปี 2564 ติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่สองจากปี 2563 ดังนั้น คาดว่ากระแสเงินลงทุน (ฟันด์โฟลว์) ของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศยังเป็นการไหลออกต่อเนื่อง จนกว่าภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยจะกลับมา