͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ปทุมธานีโมเดล  (อ่าน 138 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Fern751

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15944
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ปทุมธานีโมเดล
« เมื่อ: 14 2021-08-14 2021 21:%i:1628949626 »


โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชนที่มีฐานะยากจน “ปทุมธานีโมเดล” เป็นโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในอดีตคลองรังสิตเป็นคลองสายหลักในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีการขุดคลองนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2433 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คลองรังสิตนี้ ทำหน้าที่ระบายน้ำจากแม่น้ำนครนายกกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของทุ่งรังสิต การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาริมคลองนี้มีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นรูปแบบบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนที่บุกรุก โดยพบว่าชุมชนบุกรุกมีการก่อตั้งบ้านเรือนรุกล้ำเข้าไปในคลองต่างๆจำนวนมาก ทำให้ปัญหาเรื่องการระบายน้ำ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการรักษาความสะอาด รวมทั้งการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่รุกล้ำลำคลอง

ในปีพ.ศ.2559รัฐบาลได้มี นโยบายแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจนที่บุกรุกที่สาธารณะริมคลอง สร้างโอกาสให้มีที่พักอย่างอาศัยที่มั่นคง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สาธารณะริมคลองหนึ่ง ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการปทุมธานีโมเดล

นาย ธนัช นฤพรพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการปทุมธานีโมเดล ว่า “ ปทุมธานีโมเดล มุ่งแก้ไขพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณริมคลองในเขตปทุมธานี ในบริเวณ คลอง 1 ซึ่งมีชุมชนที่บุกรุก 16 ชุมชน 1000 กว่าครัวเรือน กระทรวงการพัฒนาชุมชน ร่วมกับผู้ว่าจังหวัดปทุมธานี ร่วมมือกัน จัดทำโครงการ “ปทุมธานีโมเดล” แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน โครงการปทุมธานีโมเดล มีการแก้ปัญหา 3รูปแบบ



รูปแบบที่ 1เป็นการร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ จังหวัดปทุมธานี กรมธนารักษ์ และ พ.อ.ช. กรมธนารักษ์จัดหาที่ราชพัสดุ ประมาณ 30 ไร่ ใกล้กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้ชุมชนเช่าอยู่อาศัย โดยวางแผนจัดสร้างเป็นที่พักแบบอาคารชุด 6 อาคาร โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จไปแล้ว 4 อาคาร และเริ่มมีเข้าผู้พักอาศัยแล้ว

รูปแบบที่ 2 ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ รวมกันซื้อที่ดินเองในการปลูกสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย ได้ซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ประชาชนประมาณ 100 กว่าครัวเรือน รื้อบ้านที่อยู่ริมคลอง มาอยู่ในที่ดินแห่งใหม่ โครงการก็เริ่มมาตั้งแต่ 2559 เหมือนกับโครงการรูปแบบที่ 1 และดำเนินการสร้างพักเสร็จปลายปี 2560 ประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยได้ประมาณ 3 ปี แล้ว โครงการรูปแบบที่ 2 นี้ สำเร็จไปแล้วทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์

รูปแบบที่ 3 คืออยู่บริเวณเดียวกับรูปแบบที่ 1 ในพื้นที่ 30 ไร่ ของราชพัสดุ โดยเป็นชุมชนที่บุกรุกเดิมในพื้นที่ เปลี่ยนจากการบุกรุกมาสู่การสร้างที่พักอาศัยในบริเวณเดิมที่บุกรุกของจำนวน 34 ครัวเรือน

การคืบหน้าของโครงการทั้ง 3 รูปแบบ มีประชาชนที่เข้ามาพักอาศัยแล้ว 300 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 1084ครัวเรือน เป็นพื้นที่รวม 16 กิโลเมตร ตั้งกระจายอยู่ตามเส้นทางตั้งแต่ ชุมชนริมคลอง 1 ถึงวัดคุณหญิงส้มจีน อีก 700 กว่าครัวเรือนจะเป็นระยะต่อไป ที่จะต้องพูดคุยกับชุมชน และหาที่ดินรองรับ ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อเข้าสู่โครงการระยะต่อไป


จากความสำเร็จของโครงการที่คลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และปทุมธานีโมเดลระยะที่ 1 ได้สร้างความสั่นคงในที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน นับเป็นความสำเร็จที่ ทำให้เกิดความเข้าใจและการตอบรับที่ดีจากชุมชน ในโครงการปทุมธานีโมเดล ระยะ ที่ 2

บ้านที่อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัย 1 ใน 4 ในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการมีบ้านที่มั่นคง มีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีชุมชนที่เข็มแข็ง จะทำให้การเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาน ทำได้อย่างเต็มที่และมรประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาต่างๆก็ดีขึ้น เช่นปัญหาการป้องกันแพร่กระจายของโควิด – 19 ในชุมชนที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะทำได้ดีกว่าชุมชนเดิม ที่เป็นชุมชนแออัด เพราะในชุมชนมีพื้นที่ส่วนกลางของสหกรณ์ที่สามารถนำมาปรับให้เป็นพื้นที่พักคอยรอการส่งต่อ และในบ้านที่สร้างใหม่เป็นบ้านแฝด 2 ชั้น มีห้องพักที่สามารถให้ผู้ป่วยในระบบ Homeisolate ผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวได้ การมีผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการจากชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความแข็งแรงของชุมชน สามารถดูแลสมาชิกในชุมชนได้ดีขึ้นเป็นระบบมากขึ้น การจัดทำโครงการบ้านมั่นคงในรูปแบบสหกรณ์เป็นกลไกลในการบริหารโครงการกรรมการสหกรณ์ก็สามารถเป็นกลไกลที่ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนได้ การดำเนินโครงการต้องมีอุปสรรคบ้างจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยปัญหาเหล่านี้ทาง พ.อ.ช เน้นเรื่องการพูดคุย สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ เข้าใจและให้ความร่วมมือทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้อย่างดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี เป็นนโยบายที่รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายว่าประชาชนทุกคนต้องมีบ้านที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีชุมชนที่เข็มแข็ง ทุกคนภายในปี 2579 พ.อ.ช.มุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายตามแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างชุมชนที่ดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ

นอกจากที่อยู่อาศัยที่มั่นคงอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว การมีอาชีพที่มั่นคงถือเป็นความสำคัญ ประชาชนมีรายได้เลี้ยงตนเอง สร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจให้ตนเองและชุมชน ตัวอย่างเช่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส

อรุณี ยะโย ประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ กล่าวถึงการรวมกลุ่มว่า “วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ที่มองเห็นถึงโอกาสในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มแม่บ้าน ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น พช.เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนด้านเทคนิคการผลิต การให้ความรู้ สนับสนุนอุปกรณ์ ทำให้กลุ่มเข็มแข็งมากขึ้น การดำเนินของกลุ่มจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรเช่นลูกหยีและผลผลิตตามฤดูกาลเช่น ส้มแขก ทุเรียน แต่ผลผลิตหลักคือลูกหยี เพราะสามารถเก็บไปได้นาน การแปรรูปลูกหยีมีหลากหลายรสชาติ สามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ และยังต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวชุมชน ทำให้กลุ่มและชุมชน มีรายได้จากการท่องเที่ยวและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเหล่านี้”

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประสานกับการนำนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่ม ให้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง หรือส้มแขกแช่อิ่ม โดยที่ผ่านมาทาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปทางการเกษตรบ้านนากอก็ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ และมอบอุปกรณ์และพัฒนาระบบการผลิตให้มาตราฐาน

น.อ.วิชชา พรหมคีรี รอง ผอ.รมน.จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า “ กอ.รมน.มีบทบาทในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และดูแลความสงบเรียบร้อย ช่วยเหลือประชาชน มีการส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่าง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็ง ทั้งด้านการท่องเที่ยว และมีความสามารถ มีความคิดริเริ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นให้เป็นสินค้า สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน และได้รับการส่งเสริมจากหลากหลายหน่วยงานในจังหวัดทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็งมากขึ้น ”

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ทางกลุ่มมีแนวคิดสร้างเครือข่ายชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีการหารือแนวทางในการร่วมกันบริหารจัดการและสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียน GMP เพื่อที่ช่วยยกระดับมาตรฐาน และสร้างความมั่นใจ

การสร้างโอกาสให้กับประชาชนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะคนทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างเท่าเทียมกัน การสร้างโอกาสทางอาชีพที่เหมาะสมให้ผู้มีความบกพร่องทางร่างกายทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีอาชีพ สามารถหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เขาได้ทำประโยชน์แก่สังคม

โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการ มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นมูลนิธิที่ทำงานอยู่กับคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งอยู่ในชุมชนบัวใหญ่มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี โดยงานหลักของมูลนิธิ นั่นคือการช่วยเหลือและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและความครัวได้ ผลจากข้อนี้ก็จะช่วยให้คนพิการเกิดการยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น เกิดเป็นความภาคภูมิใจในตัวเองและมีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้เห็นความสำเร็จพร้อมๆ กับปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการเพื่อให้พวกเค้าเกิดเป็นองค์ความรู้สำหรับการต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาร่วมกับคนพิการต่อไปในอนาคต

นางพัชราภรณ์ ชนภัณฑารักษ์ กล่าวถึงความเป็นมาของมูลนิธิว่า “จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัญหาของกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์ แต่เป็นปัญหาเรื่องการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม ทางมูลนิธิได้นำงานวิจัยมาทอดบทเรียนได้ต้นแบบ 4 ต้นแบบ นำต้นแบบมาขยายผลสู่เยาวชน 40 คน เยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพ และกลับมาเป็นแกนนำ ต่อจากนั้นทางมูลนิธิได้ขอทุนสนับสนุน จาก กศศ เพื่อใช้ในการพัฒนาและยกระดับ กลุ่มคนพิการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนผู้มีบกพร่องทางร่างกาย ให้เข้าถึงสิทธิ์ต่างๆของทางภาครัฐและได้รับอุปกรณ์ ส่งเสริมให้มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถพึ่งพิงตัวเองได้ครับ ทั้งนี้มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ได้จัดโครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพของเครือข่ายกลุ่มคนพิการขึ้น เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ใช้สมองและงานฝีมือ ให้พวกเขามีอาชีพและสร้างรายได้ตามศักยภาพของตนเอง และวางแผนขยายช่องทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังจากการฝึกอบรมการขายแบบออนไลน์ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ผลปรากฏว่ามียอดการสั่งจองสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้พิการมีรายได้มากขึ้น”

นอกจากการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมแล้ว ยังมีการส่งเสริมอาชีพการทำการเกษตรให้กับคนพิการบางกลุ่มที่ไม่มีความถนัดในงานหัตกรรม การส่งเสริม การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบด้วยการเลี้ยงไก่ การปลูกผักอินทรีย์ โดยเน้นปลูกผักใช้น้ำน้อย สามารถดูแลได้ง่าย เพื่อให้รายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมูลนิธิยังคอยติดตามช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งรับซื้อผลผลิตของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายด้วย โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการของมูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างพลังให้กลุ่มคนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สร้างความภาคภูมิใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ