͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 7 บจ.เล็งสปินออฟลูก ขาย IPO ขยายธุรกิจ-ลดภาระ  (อ่าน 119 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14271
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


“บจ.” เตรียมนำบริษัทลูกขายไอพีโอต่อเนื่อง ล่าสุด 7 บริษัทจ่อระดมทุนเบื้องต้นปี 64-65 “บล.เมย์แบงก์ฯ” ชี้ ช่วยลดภาระบริษัทแม่ เผย อยู่ระหว่างทำดีลสปินออฟธุรกิจสินเชื่อ คาดชัดเจนเร็วๆ นี้ “บล.บัวหลวง” ซุ่มทำดีล หลังส่ง OR เข้าเทรดต้นปีที่ผ่านมา

ในช่วงปี 2564-2565 มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศนำบริษัทลูกเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (สปินออฟ) โดยยื่นแบบแสดงข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว 2 ราย ได้แก่ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ได้ส่งบมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ (TFM) ยื่นไฟลิ่งขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 109.3 ล้านหุ้น และ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย IPO ของบริษัท บริทาเนีย จำกัด (BRI) ไม่เกิน 252.65 ล้านหุ้น นอกจากนี้ ยังมีอีก บจ.อีก 5 แห่งที่เตรียมยื่นไฟลิ่งบริษัทลูก

นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์​แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บล.เมย์แบงก์ฯ มีลูกค้า บจ.ที่อยู่ระหว่างเตรียมตัวสปินออฟบริษัทลูกจำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเร็วๆ นี้ เพราะระยะเวลาการทำดีลสั้นกว่าการเตรียมความพร้อมระดมทุน IPO เนื่องจากที่บริษัทลูกของ บจ.มีความพร้อมของข้อมูลอยู่แล้ว เช่น การจัดทำบัญชีที่ได้มาตรการเหมือนกับบริษัทแม่ เป็นต้น


โดยการนำบริษัทลูกไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยลดภาระทางการเงินของบริษัทแม่ โดยกระแสการสปินออฟไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงโควิด-19 เพราะมองว่าที่ผ่านมา บจ.ที่แยกลูกออกมาระดมทุนไม่ได้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในช่วงวิกฤติ ขณะที่ บจ.ที่มีการประกาศเตรียมสปินออฟในช่วงที่ผ่านมา เช่น ORI ที่เตรียมนำ BRI ออกมาระดมทุน เป็นหนึ่งในแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเป็นโฮลดิ้งส์อยู่แล้ว

ขณะที่ช่องทางการระดมทุน แม้บริษัทลูกของ บจ.ส่วนใหญ่จะสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน รวมถึงใช้เครื่องมือการออกหุ้นกู้เหมือนบริษัทแม่ได้ก็ตาม แต่ในส่วนของตลาดหุ้นกู้ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเงินกู้ธนาคาร พบว่านักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดที่ต้องลงทุนหุ้นกู้ของ บจ.เท่านั้น นอกจากนี้ การแยกตัวออกมาระดมทุนด้วยตนเองช่วยลดความเสี่ยงที่บริษัทแม่จะต้องเพิ่มทุนเพื่อควบคุมอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ในกรณีที่ต้องการเงินทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจของบริษัทลูกอีกด้วย

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า การสปินออฟบริษัทลูกของ บจ.เพื่อให้นักลงทุนสามารถมองภาพธุรกิจได้ง่ายขึ้น และประเมินมูลค่าได้ง่ายขึ้น เช่น อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ในตลาดหุ้นซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เทรนด์การสปินออฟเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะบริษัทลูกของ บจ.เริ่มเติบโตและมีศักยภาพที่จะลงทุนได้ด้วยตนเองมากขึ้น

ปัจจุบัน บล.บัวหลวง อยู่ระหว่างจัดทำดีลในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน แต่คาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ภายหลังในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมาได้นำ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ปตท. (PTT) เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้ว และหากย้อนไปปี 2563 ได้นำ บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เข้ามาระดมทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)