͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สำรวจตลาดชุดตรวจโควิด-19 ตามหา 'ราคาที่เหมาะสม'  (อ่าน 128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12494
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ความพยายามหา ซื้อชุดตรวจโควิดAntigen Test Kit (ATK) มาใช้คัดกรองด้วยตัวเองในบ้านกำลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะเดียวกัน ATK ก็กำลังกลายเป็นสินค้าที่ถูกตั้งคำถามถึงราคาจำหน่ายที่สูงเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ

โดยราคาจำหน่ายATKในประเทศไทย เฉลี่ยชุดละ(ใช้1ครั้ง) 350-400 บาท  ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา(อย.) จำนวน 29 ราย ในหลากหลายรูปแบบและวิธีการใช้ จากแหล่งนำเข้าต่างๆ เช่น จีน เกาหลีใต้ สวิสเซอร์แลนด์ สเปน เป็นต้น ทั้งนี้ราคาATKในไทยนับเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก สำหรับประชาชนเพราะการตรวจที่ว่านี้ไม่ใช่ครั้งเดียวจบ บางรายอาจต้องทำทุกวัน 

จากการสำรวจราคา ATK จากเวบไซด์ออนไลน์ ในต่างประเทศ พบว่า มีราคาเฉลี่ยเพียง1 ชุด / ใช้ 1 ครั้ง เพียงชุดละ  100 บาท โดยเวบไซด์ออนไลน์ชื่อดังของจีน อย่าง Alibaba จำหน่ายเฉลี่ย ชุดละ 0.88-1.19 ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 60-100 บาท รวมค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ในการนำเข้า ขณะที่เวบไซด์eBay เฉลี่ยที่ 80-180 บาท และ Amazon เฉลี่ยที่ 165 บาท 

“ราคาจำหน่ายในไทยค่อนข้างสูงมากเพื่อเทียบกับราคาจำหน่ายในต่างประเทศ ที่แม้จะรวมค่าใช้จ่ายการขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นถ้ามี เพราะไทยประกาศยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องมือแพทย์มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังพบว่าราคา ATK ที่คนไทยจำเป็นต้องใช้นั้นยังมีราคาสูงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกกว่าเท่าตัว”

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ATK ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกับกรมการค้าภายใน ได้ติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด และหากพบว่ารายใดที่ขายแพงเกินสมควร กรมการค้าภายในก็จะใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มาตรา 29 เพื่อดำเนินคดีข้อหาค้ากำไรเกินควร ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงการกำหนดราคาชุดตรวจโควิดว่า ขณะนี้ได้ขอให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้า ATK กับอย.ให้ทำการแจ้งต้นทุนและแจ้งราคาจำหน่ายปลีกที่กรมการค้าภายในด้วยใช้ในการตรวจสอบราคา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจติดตามรวมทั้งมีสายด่วน 1569 รับเรื่องหากพบว่ามีผู้จำหน่ายรายใดจำหน่ายในราคาแพงเกินสมควร เกิดความปั่นป่วน

ส่วนสถานการณ์ราคาสินค้าโดยรวม  จากผลกระทบโควิดที่ระบาดในภาคอุตสาหกรรมและแรงงานโดยทั่วไปนั้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุว่า ราคาสินค้ายังปกติแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด19 ยกเว้นอาหารสดบางชนิด เช่น เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผลไม้สด ที่เพิ่มขึ้นในบางช่วงระยะเวลา ตามความต้องการในช่วงล็อคดาวน์ประกอบกับเกิดโรคระบาดในสุกรทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง 

ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ จะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ และยังมีปัจจัยจากโควิด-19 ที่กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน

สำหรับสถานการณ์ตลาด ATK ล่าสุด นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กล่าวว่าเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติให้ สปสช. ดำเนินการจัดหาชุดตรวจโควิด Antigen test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยเอง ในช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย. นี้

“หลังสิ้นสุดเดือน ก.ย. ก็จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง หากมีความจำเป็นจะต้องซื้อATKเพิ่ม สปสช. ก็จะดำเนินการ”

คาดว่าสถานการณ์โควิด-19 ในปีงบประมาณหน้าจะยังมีความรุนแรง ฉะนั้นชุดตรวจโควิดATK จำนวน 8.5 ล้านชุด จึงเป็นประเด็นสำคัญ โจทย์คือจะทำอย่างไรให้ชุดตรวจเหล่านั้นกระจายถึงมือประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและกว้างขวางที่สุด เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการของประชาชน

นอกจากนี้ สปสช. ถือโอกาสขอความร่วมมือ ชักชวนร้านขายยาเป็นหน่วยกระจายชุดตรวจโควิดATK เนื่องจากร้านขายยาทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) นั้นมีจำนวนมาก และน่าจะมีบุคลากรที่คอยแนะนำการตรวจให้กับประชาชนได้

จากท่าทีของหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุข นี้จะช่วยลดปัญหาหากมีการคุมเข้มเรื่องราคาสินค้า่อาจเกิดปัญหาด้านปริมาณสินค้าหายไปจากตลาดได้  ทั้งนี้ การนำ ATKมาใช้เพื่อจำแนกคนติดเชื้อออกไปจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การยับยั่งการระบาดของโควิดบรรเทาลงในเร็ววันเพราะการระบาดไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพส่วนบุคคลแต่กำลังจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่โดยรวม ดังนั้นการทำให้ประชาชนเข้าถึง ATK ได้โดยง่ายและมีราคาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้ถือว่ารัฐมีเครื่องมือทั้งราคาเปรียบเทียบกับต่างประเทศซึ่งพอจะเป็นไกด์ไลน์ถึงราคาที่เหมาะสมและการรักษาปริมาณสินค้าไม่ให้หายไปจากตลาดด้วยการแจกATKของสปสช. 8.5 ล้านชุด ซึ่งจากนี้ก็เหลือแต่ภาคเอกชนผู้นำเข้าที่ต้องพิจารณาว่าธุรกิจนี้ควรมีกำไรในสัดส่วนที่เท่าไหร่