͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: BPP เติมโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ CCGT 'Temple I' ในสหรัฐฯ เข้าพอร์ต  (อ่าน 110 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12401
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเพื่อลงทุนในบริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ผ่านบริษัทย่อย Temple Generation I, LLC หรือ “Temple I” ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 768 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 7 ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ มูลค่าการลงทุนรวม 430 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 14,147 ล้านบาท จากการทำสัญญาผ่านบริษัท BKV-BPP Power LLC ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 คิดเป็นเงินลงทุน 215 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,074 ล้านบาท ส่งผลให้บ้านปู เพาเวอร์ มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 384 เมกะวัตต์ นับเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ขยายการเติบโตสู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 ด้วยการต่อยอดระบบนิเวศทางธุรกิจภายในกลุ่มบ้านปู ซึ่งมีฐานธุรกิจผลิตพลังงานที่แข็งแกร่งอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ บาร์เนตต์ (Barnett) ในรัฐเทกซัส รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกลยุทธ์ Greener & Smarter

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การลงทุนของบ้านปู เพาเวอร์ ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ “Temple I” ครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดระบบนิเวศ (Ecosystem) จากบริษัทแม่ที่ดำเนินธุรกิจผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่แล้วในสหรัฐฯ และสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions : HELE) อยู่ในสถานะที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ทันที จุดเด่นของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แบ่งได้เป็น 5 ข้อหลัก คือ 1.เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines หรือ CCGT ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2.ตั้งอยู่ในรัฐเทกซัสซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว 3.เป็นโรงไฟฟ้าที่จัดอยู่ในลำดับการเรียกจ่ายไฟฟ้า (Merit Order)[1] ที่ดี เหมาะกับสภาพการแข่งขันในตลาด Electric Reliability Council of Texas หรือ ERCOT ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี 4.มีความพร้อมด้านการขนส่งและการจัดเก็บก๊าซ (Gas Storage) ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้าให้สอดรับกับรูปแบบความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ 5.มีสัญญาระยะยาว 30 ปี สำหรับการสำรองน้ำสำหรับกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเสถียรภาพและเอื้อต่อกระบวนการผลิตในระยะยาว และมีระบบจัดการน้ำทิ้งที่ดี สามารถลดการปล่อยน้ำเสียจนเกือบเป็นศูนย์ (Near Zero Liquid Discharge Facility)”



“การลงทุนในครั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปิดตามธรรมเนียม (Customary Closing Conditions) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในสัญญา และคาดว่า BPP จะรับรู้รายได้ภายในไตรมาส 4/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วยสัดส่วนที่สมดุลระหว่างพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานหมุนเวียน โดยมองหาโอกาสการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี HELE ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในตลาดที่มีความเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าและมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง” นายกิรณ กล่าวเพิ่มเติม

จากการลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ “Temple I” ส่งผลให้ในปัจจุบัน บ้านปู เพาเวอร์มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 3,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยภายในปี 2564 ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมหวินเจา (Vinh Chau) ระยะที่ 1 ในเวียดนาม กำลังผลิต 30 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคเซนนุมะ (Kesennuma) กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์