͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกบ้าน 'แอชตันอโศก' หวั่นใจอนาคตตั้งทีมกฎหมายร่วมอนันดาหาทางออก  (อ่าน 135 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


จากคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างของศาลปกครองกลาง กรณีโครงการ “แอชตัน อโศก” ของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กลายเป็นประเด็นร้อนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะส่งผลกระทบกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ “ลูกบ้าน” จำนวน 578 ครอบครัว

ทันทีที่มีคำพิพากษาศาลออกมา วันศุกร์ที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา “ชานนท์ เรืองกฤตยา ”ซีอีโอ อนันดา อัดคลิปวีดีโอ ชี้แจงลูกบ้าน หวังลดกระแสและความกังวลใจที่เกิดขึ้น จากนั้นวันจันทร์ที่ 2 ส.ค. บริษัทได้ออกมาชี้แจงอย่างเป็นทางการถึง “แนวทางการแก้ปัญหา” พร้อมยืนยันจะอยู่เคียงข้างลูกบ้าน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แม้โครงการขายเกือบหมด มียอดโอนแล้ว 87% คิดเป็นมูลค่า 5,639 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการรวม 6,481 ล้านบาท โดยมี 578 ครอบครัว 666 ยูนิตที่ย้ายเข้าอยู่แล้ว ในจำนวนนี้ 438 ครอบครัว เป็นลูกค้าคนไทย และ 140 ครอบครัวเป็นชาวต่างชาติ

โดยผู้บริหาร อนันดาฯ ระบุว่า จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาคดีเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน และคาดว่ากระบวนการทางศาลจะใช้เวลา 3-5 ปี

จากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. ตัวแทนท่านเจ้าของร่วมและผู้พักอาศัย แอชตัน อโศก ได้ส่งจดหมายถึงสื่อมวลชนเพื่อเข้ารับฟังผลกระทบที่ลูกบ้านได้รับจากคำสั่งศาลปกครองกลาง ในวันอังคารที่ 10 ส.ค.นี้ ผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ “ลูกบ้านแอชตันอโศกที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองกลาง” ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป โดยระบุด้วยว่า “ถึงแม้กระบวนการทางกฎหมายจะยังไม่สิ้นสุด แต่บัดนี้ทางลูกบ้านได้รับผลกระทบต่างๆ แล้ว”

นับเป็นการเปิดใจครั้งแรกของกลุ่มตัวแทนลูกบ้าน แอชตัน อโศก ที่กำลังเผชิญชะตากรรมและผลกระทบครั้งใหญ่

อย่างไรก็ตาม วานนี้ (9 ส.ค.) อนันดาฯ ได้ส่งจดหมายผ่านสื่อมวลชน แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงาน ว่า อนันดาฯ ในนามผู้บริหารโครงการ แอชตัน อโศกได้มีการประชุมหารือกับเจ้าของร่วมในการสร้างความเข้าใจและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาจากเหตุการณ์ดังกล่าว

โดยในขั้นแรก เจ้าของร่วมได้ “จัดตั้งทีมกฎหมายและคณะทำงาน” ขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อทำงานกับบริษัทฯ ในการร่วมกันหาแนวทางในการเรียกคืนความยุติธรรม ให้กับโครงการแอชตัน อโศก

พร้อมระบุว่าบริษัทรับทราบถึงความเดือดร้อนของเจ้าของร่วมในด้านสินเชื่อ ซึ่งมีจำนวน 348 ครอบครัวที่ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 9 สถาบันการเงิน มีมูลค่ารวมเกือบ 3,000 ล้านบาท บริษัทฯ จึงได้มีการหารือกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อดังกล่าว เพื่อเร่งออกมาตรการช่วยเหลือเจ้าของร่วมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยมี 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารยูโอบี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน โดยมาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่จะทำการ Retention จะมีการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

พร้อมย้ำว่า บริษัทในฐานะผู้บริหารโครงการ แอชตัน อโศก จะดำเนินการตามกฎหมายร่วมกันกับเจ้าของร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าและเจ้าของร่วมและจะแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ให้ทราบอย่างใกล้ชิดต่อไป และเจ้าของร่วมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่โครงการ

อย่างไรก็ดี หนึ่งในลูกบ้านโครงการ “แอชตัน อโศก” กล่าวว่า ระหว่างที่รอกระบวนการทางศาล ลูกบ้านยังไม่ได้ข้อสรุปกันว่าต้องทำอย่างไร ให้รอไปอย่างนี้หรือ? เพราะยังต้องมีเรื่องของไฟแนนซ์ด้วย เพราะหากซื้อตอนนี้ธนาคารคงไม่ปล่อยสินเชื่อ (ปล่อยกู้) ให้ หรือแม้กระทั่งจะรีไฟแนนซ์ก็น่าจะไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ ห้องที่ซื้อมาจะขายในราคาที่ซื้อมายังไม่ได้เลย ไม่มีคนกล้าซื้อ สิ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่ลูกบ้านแอชตัน อโศกได้รับจากคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างของศาลปกครองกลาง

“จุดประสงค์ที่ลูกบ้านต้องออกมาชี้แจงผ่านสื่อเพื่อต้องการบอกเล่าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกบ้านในโครงการแอชตัน อโศก มันคืออะไร และเราเป็นผู้ที่เดือนร้อนตัวจริง เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่า มีปัญหาจริงๆ ไม่ใช่เป็นข่าวแค่ช่วงเวลาหนึ่งเงียบหายไป สุดท้ายลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดจะไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือเยียวยา”

โดยวันนี้ (10 ส.ค.) จะมีตัวแทนลูกบ้าน 3-4 คนออกมาพูดคุยกับสื่อ ในช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/saveourhomeashtonasoke/ เพื่อฉายภาพผลกระทบที่ได้รับในทิศทางเดียวกัน แทนที่จะต่างคนต่างพูด ส่วนของการอัพเดทข้อมูลของอนันดาฯ กับทางลูกบ้าน ยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนกับทางลูกบ้านในหลายๆ เรื่อง

“ตอนนี้ลูกบ้านจ่ายเงินไปแล้ว คิดดูแล้วกันว่าอยู่ดีๆ คอนโดที่ซื้อจะถูกทุบหรือไม่ก็ยังไม่รู้ เพราะว่าผิดกฎหมาย แบบนี้จะรู้สึกเชื่อมั่นได้อย่างไร บางคนที่ผ่อนอยู่ไม่อยากอยู่ แล้วก็ขายไม่ได้ เพราะไม่มีใครกล้าคนซื้อโครงการที่มีปัญหา ทางเข้าออก หากกรณีที่วันหนึ่งไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้จากคำสั่งศาล ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร”