͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'Home isolation' ส่งอาหาร ส่งยาเร็ว ลดการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด  (อ่าน 128 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Chanapot

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14700
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


ระบบ 'Home isolation' ถูกนำมาใช้ได้ในระยะหนึ่ง มีการปรับหลักเกณฑ์ และระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา รับยาให้ได้เร็วขึ้นเพื่อลดการเสียชีวิต เพิ่มคลินิกเอกชนร่วมดูแล และเพิ่มร้านขายยากระจาย 'Antigen Test Kit' ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน การเตรียมระบบเพื่อรองรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยที่หลุดจากระบบการรักษา และเสียชีวิตในบ้านอย่างที่เป็นมา การให้ยาได้เร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกรมการแพทย์ ได้ออกประกาศให้ยาฟิวิพิราเวียร์ให้เร็วที่สุดโดยไม่แบ่งว่าเป็นกลุ่มใด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 ส.ค.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน และการตรวจโควิดด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) สำหรับคลินิกเอกชนทั่วประเทศเพื่อให้บริการในระบบ Home Isolation และ Community Isolation (HI/CI)

ประสานผู้ป่วยตกค้าง จัดส่งยา เข้าระบบ


โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ส.ค. พบว่าผู้ป่วยในระบบ Home Isolation มีประมาณ 6.3 หมื่นราย นำเข้าระบบแล้วราว 4 หมื่นราย ส่วนอีกประมาณ 2 หมื่นราย อยู่ระหว่างรอการตอบรับจากคลินิก ซึ่งมีคลินิกที่เข้ามาช่วยดูแล ผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 206 แห่ง

“นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี” เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าผู้ป่วยราว 2 หมื่นรายที่ยังไม่มีคลินิกกดรับเข้าระบบ Home isolation ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 64 เหลืออยู่ราว 1.3 หมื่นราย จะทำการเคลียร์ให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เบื้องต้น สปสช. ได้โทรสอบถามผู้ป่วยราว 2,000 ราย มีประมาณครึ่งหนึ่งที่เข้าระบบการรักษาไปแล้ว


เช่น ฮอสพิเทล หรือกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะส่งยาไป กำลังประสานขอยาไปให้โดยไม่ต้องมีคลินิกกดรับก็ได้ จากเดิมต้องให้คลินิกรับ และให้คลินิกเป็นผู้ส่งยา แต่ตอนนี้ขอว่าหากไม่มีใครรับ เราเป็นคนโทรเองและส่งยาก่อน จนกว่าคลินิกจะกดรับ

ขณะที่กรมการแพทย์ ได้ออกหนังสือมาให้ว่าต่อจากนี้ระหว่างรอสามารถให้ยาก่อนได้ สปสช. มีคอลเซ็นเตอร์ขณะนี้เพิ่มคู่สายเป็น 3,000 คู่สาย และเพิ่มคนรับโทรศัพท์ 800 กว่าคน มีอาสาสมัครมาช่วยเพิ่มเติมในการตามผู้ป่วยที่ค้างอยู่ ธนาคารออมสิน จะส่งมอเตอร์ไซค์เดลิเวอร์รี่ มาช่วยอีกแรง

คลินิกเอกชน ร้านยา เข้าร่วมดูแลผู้ป่วย กระจายชุดตรวจ
นพ.จเด็จ กล่าวว่า สปสช.ให้องค์การเภสัชกรรมจัดหา ATK จำนวน 8.5 ล้านชุดไว้สำหรับใช้ทั่วประเทศใน 1-2 เดือนตอนนี้จึงเตรียมกระบวนการกระจาย ต้องย้ำว่า ATK ให้ประชาชนตรวจเองไม่คิดมูลค่า คนละส่วนกับที่กระจายให้หน่วยบริการตรวจ”

ขณะนี้ มีคลินิกเอกชนที่สนใจเข้าร่วมเพิ่มเติม 23 แห่ง และมีแอพพลิเคชั่นที่ปรึกษาผู้ป่วย 1 แห่ง มีร้านยาที่สนใจเข้ามาเป็นหน่วยกระจาย ATK จำนวน 170 แห่ง เพิ่มเติมจากที่มี 200 แห่ง และมีศูนย์ที่จะช่วยตรวจ ATK ประมาณ 50 แห่ง ในพื้นที่ กทม.ในอนาคตอาจจะมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านแอพฯ เป๋าตังค์ รวมถึงส่ง ATK ทางไปรษณีย์ เพราะคนป่วย หรือญาติอาจจะไม่สะดวกเดินทางมารับที่คลินิก กำลังพิจารณาว่าคนหนึ่งอาจจะต้องตรวจ 3-4 ชิ้น ใน 14 วัน

ตรียมระบบส่งต่อ ผู้ป่วย ATK ผลบวก
สำหรับร้านยาที่กระจาย ATK ต้องมีข้อแนะนำ หากผู้ป่วยเจอผลบวกต้องทำอย่างไร เช่น โทรมาที่ร้าน ส่งต่อไปคลินิก หรือ แนะนำการเข้าระบบผ่าน สปสช. หากผลบวกไม่มีอาการสามารถรักษาที่บ้านได้ หรือขอยาที่ร้านขายยาได้ จะง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น โมเดลนี้กำลังพยายามดูว่าใช้ได้หรือไม่ หากอาหารหนักต้องมีระบบไปดูแล ขณะนี้ยอดผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาตัวเลขรวมทุกภาคส่วนกว่าแสนคน ประสานผ่านสปสช. เฉลี่ยวันละประมาณ 600- 700 ราย

เล็งจัดระบบส่งอาหารผู้ป่วย HI
นพ.จเด็จ กล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น สปสช.พยายามพัฒนาระบบการทำ Home isolation แต่มีข้อจำกัดเรื่องอาหาร หากได้ร้านอาหารที่ตอนนี้เปิดหน้าร้านไม่ได้ มาช่วยส่งอาหารเดลิเวอร์รี่จะถือว่าดีมาก เป็นการสร้างงานให้กับร้านอาหารอีกทางหนึ่ง เพราะการจัดระบบหากมีกลไกกลางมาเข้าร่วมน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เช่น สมาคมภัตตาคารไทย มาจัดระบบได้อย่างนั้นจะดีมาก

“ตอนนี้หากมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร มาช่วยเรื่องอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์มาช่วยเรื่องอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก็ทำด้านการแพทย์ จะดีใจมาก ซึ่งหากมีภาคส่วนใดสนใจ ไม่ต้องเปิดหน้าร้านก็ได้ เพียงแค่มีเดลิเวอร์รี่วิ่งไปส่งผู้ป่วย เชื่อว่าสามารถทำได้ เพราะ สปสช. มีงบประมาณอยู่แล้ว จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

จัดหา ฟาวิพิราเวียร์ สำรอง
สำหรับแผนการจัดหายา ฟาวิพิราเวียร์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที 9/2564 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 มีมติเห็นชอบให้เพิ่มรายการยาฟาวิพิราเวียร์ในแผนการจัดหา เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์จัดหาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนในปี 2564 จำนวนไม่เกิน 27 ล้านเม็ด วงเงินไม่เกิน 891 ล้านบาท จากงบค่าบริการโควิด-19 และต่อเนื่องไปปี 2565 รองรับกรณีหน่วยบริการไม่สามารถหายาฟาวิพิราเวียร์ได้เพียงพอ ซึ่ง ครม.อนุมัติงบดำเนินการมา 13,026 ล้านบาท

“เดิมป่วยเราต้องไปเข้า รพ. ฮอสพิเทล รพ.สนาม วันนี้ต้องใช้วิธี Home isolation ขณะนี้เริ่มมีหลายคนที่สมัครใจอยู่บ้าน ขอเอายา โดยเฉพาะคนที่อายุไม่มากเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่ากลุ่มที่ไม่เสี่ยงก็สามารถรักษาที่บ้านได้ แทนที่จะไปอยู่ฮอสพิเทล เพราะมีแพทย์ มียา อาหาร แต่ต้องสร้างความมั่นใจว่า หากมีอาการเปลี่ยนแปลง เราพร้อมจะรับเข้าสู่ระบบ”

อย่างไรก็ตามการรับมือกับสถานการณ์ต้องประเมินทุกๆ มาตรการ หาก 2 เดือนแล้วยังไม่สงบ ก็ต้องวางมาตรการเพิ่ม เมื่อผู้ป่วยเยอะขึ้น ต้องยอมรับว่าบริการสาธารณสุข รองรับไม่ไหว รัฐบาลต้องเข้าไปสนับสนุนประชาชนที่ต้องดูแลตัวเองที่บ้าน


สำรองฟาวิพิราเวียร์ 400 ล้านเม็ด
องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) ปรับแผนเพิ่มการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ รองรับการรักษาที่จ่ายยาเร็วขึ้น เดือนสิงหาคม-กันยายน 2 เดือน 120 ล้านเม็ด ตุลาคม-ธันวาคม 300 ล้านเม็ด และทยอยกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายตามการจัดสรรของศูนย์ PHEOC อย่างต่อเนื่อง

“นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์” ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การฯได้ทำการปรับแผนการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรองรับการปรับเกณฑ์แนวทางการรักษาใหม่เพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วยเร็วขึ้น ได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยจะมีการเพิ่มการสำรองทั้งจากยาที่องค์การฯผลิตเองและจัดหาจากต่างประเทศ โดยเดือนสิงหาคม-กันยายน รวม 2 เดือน จำนวน 120 ล้านเม็ด และเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพิ่มอีกเดือนละ100 ล้านเม็ด รวมจำนวน 300 ล้านเม็ด

โดยทั้งนี้จะมีติดตามและประเมินสถานการณ์ความต้องการใช้ใกล้ชิด เพื่อทำการปรับแผนการสำรองให้ทั้งการผลิตเองและจัดหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งจำนวนยาทั้งหมดในข้างต้นจะมีการทยอยผลิตเองและจัดหาเข้ามาสำรองอย่างต่อเนื่อง


เตรียมยาแรมเดซิเวีย 2 แสนขวด
นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคมได้จัดหา ยาแรมเดซิเวีย (Remdesivir) เป็น 2 แสนขวด และจะพิจารณาจัดหาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอตามเกณฑ์การรักษาใหม่ โดยยาเรมเดซิเวียร์นั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาฉีดให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ผู้มีปัญหาในการดูดซึมยา ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ได้

ทั้งนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ทั้งหมดจะมีจัดสรรให้กับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ ตามการบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โดยกลุ่มภารกิจสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุง ผ่านระบบการบริหารคลังสินค้า หรือ VMI (Vender Management Inventory) ขององค์การเภสัชกรรม และองค์การฯเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลังจากนั้น หน่วยงานแม่ข่ายจะทำการบริหารจัดการและกระจายให้แก่หน่วยบริการลูกข่ายในแต่ละพื้นที่ต่อไป