͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ติดโควิด-19' เดินทางไปรักษาโดย 'รถยนต์ส่วนตัว' ต้องทำอย่างไรให้เสี่ยงน้อยที่สุด ?  (อ่าน 115 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 11951
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด


แม้การใกล้ชิดผู้ป่วย "โควิด-19" นับเป็นความเสี่ยงสูง ที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้มาก แต่สำหรับผู้ที่มีญาติติดโควิด-19 หรือตัวเองติดเชื้อแล้วจำเป็นต้องเดินทางไปเข้ารับการรักษายังสถานที่ได้ติดต่อไว้ด้วยรถยนต์ส่วนตัว สามารถทำได้ แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าจากผู้ติดเชื้อมายังผู้ขับรถหรือผู้ที่โดยสารไปด้วย 

โดยเพจกรุงเทพมหานคร โดยสำนักประชาสัมพันธ์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติก่อนและระหว่างเดินทางร่วมกับผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารับการรักษาไว้ ดังนี้

ทันทีที่ตรวจพบว่าติดโควิด-19 และต้องการเดินทางไปรับรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รับรักษาสำหรับผู้ป่วยโควิด เริ่มต้นจากการ

1. แจ้งไปยังสายด่วน 1669 ศูนย์เอราวัณ กทม. 

2. เตรียมเอกสารผล LAB ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19

3. เดินไปรักษาตัวตามสถานที่ที่ได้รับนัดหมาย 

โดยระหว่างเดินทางแนะนำให้ปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ 

- ทำฉากกั้นระหว่างคนขับและผู้ติดเชื้อ เว้นระยะห่างระหว่างกันให้ได้มากที่สุดระหว่างเดินทาง 

- คนขับและผู้ติดเชื้อจะต้องนั่งทแยงมุมคนละฝั่งของรถ เพื่อรักษาระยะห่างในรถให้ได้มากที่สุด

- เปิดกระจก และปิดเครื่องปรับอากาศ 

- ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ทั้งคนขับและผู้ติดเชื้อ โดยจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี คือ ใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้านใน สวมทับด้วยหน้ากากผ้าไว้ด้านนอก ดังนี้


- สำรวจเส้นทางก่อนออกเดินทาง เพื่อเลือกใช้เส้นทางที่ใช้เวลาสั้นที่สุด ไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 นาที ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

- เมื่อเดินทางไปถึงจุดหมาย นั่งคอยในรถ โทรประสานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป 

อย่างไรก็ตามการเดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยรถยนต์ส่วนตัวมีความจำเป็นสำหรับบางกรณี ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์ ระดับอาการของผู้ป่วยด้วย

ซึ่งการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาพยายาลจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมตามกรณี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่มีอาการหนักเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยเบื้องต้นมีการพิจาณานำเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. ประชาชนที่ตรวจที่ รพ. 

2. ประชาชนที่ได้รับการตรวจเชิงรุก

3. ประชาชนที่ตรวจด้วยตัวเอง (Antigen Test Kit) หรือยืนยันการติดเชื้อ PCR

4. ประชาชนที่มีอาการหนักฉุกเฉิน เร่งด่วน โทร.1669