͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ติดแผ่นซับเสียงอย่างไร ถึงจะดี  (อ่าน 457 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1002
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ติดแผ่นซับเสียงอย่างไร ถึงจะดี
« เมื่อ: 22 2020-03-22 2020 17:%i:1584874103 »
ติดแผ่นซับเสียงอย่างไร ถึงจะดี

การใช้แผ่นซับเสียง เพื่อลดเสียงสะท้อนในห้อง

ในปัจจุบันมีวัสดุซับเสียงมากมายหลายชนิด ทั้งที่ตั้งใจผลิตออกมาเป็นแผ่นซับเสียง และ วัสดุที่สามารถซับเสียงได้ตามธรรมชาติด้วยตัวเอง ดังนั้นเราในฐานะผู้เลือกใช้งานควรทำความเข้าใจกับรายละเอียดตรงนี้สักนิด


ค่าซับเสียงของวัสดุ ดูกันอย่างไร

ลำดับเรก ลองมาดูค่าซับเสียงของวัสดุกันก่อนครับว่าหมายความอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น แผ่นซับเสียงยี่ห้อ นึงมีค่าซับเสียง ตามตารางด้านล่าง (ที่แปรผันตามความหนา)


ค่าแนวตั้งคือ อัตราซับเสียงครับ สูงสุดคือ 1 = 100 %

ค่าแนวนอนคือ ความถี่ ตัวเลขยิ่งมากคือเสียงแหลม ต่ำกว่า 250 Hz  ลงมาคือเสียงต่ำ

ง่าย ๆ  ครับ ยกตัวอย่างจะติดแผ่นซับเสียงนี้ ขนาดหนา 1”  (เส้นสีน้ำเงิน)  ค่าซับเสียงที่ทำให้เรารู้สึกได้คือมากกว่า 50%  นั่นคือ แผ่นซับเสียง หนา 1” นี้จะทำการซับเสียงสะท้อน ได้ดีตั้งแต่ย่านเสียงกลาง ขึ้นไป (เช่น เสียงนักร้อง เสียงพูด เครื่องดนตรีประเภทเสียงสูง ฉาบ ฟลุท) แต่อย่าหวังว่าจะซับเสียงต่ำ ๆ ได้ดี  เช่นหากในห้องท่านมีปัญหาเสียงต่ำ เสียงเบส คราง สั่นเครือ แผ่นซับเสียง หนา 1” นี้ช่วยท่านไม่ได้ ติดไปเสียเงินเปล่า ต้องเลือก รุ่นอื่นที่มีค่าซับเสียงในย่านต่ำกว่า 100 Hz  สูง ๆ ครับ (เช่น รุ่นที่หนา 4”)

ดังนั้น ค่าซับเสียงที่เลือก ของวัสดุแต่ละชนิด อาจจะ perfect  สำหรับห้องประชุม ห้องสัมมนา  OK ครับ แต่หาก นำวัสดุเดียวกันนี้ไปใช้กับห้อง แสดงดนตรี ห้อง ซ้อมดนตรี  จะเพิ่มปัญหาให้ห้องดังกล่าวด้วยซ้ำ เพราะเสียงสูงซับไปเยอะ แต่เสียงต่ำไม่ซับ นั่นคือ เสียงเบสมันจะออกมากลบรายละเอียดอื่น ๆ ไปหมด แย่เลย


จะติดตั้งในจำนวนเท่าไหร่จึงจะพอ
 
นอกจากเลือกวัสดุ ที่มีค่าเหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว จำนวนวัสดุที่ติดตั้ง จะต้องพอเหมาะกับสภาพห้อง โดยทั่วไปการหาจำนวนวัสดุ ที่เหมาะสม จะทำกันอยู่ 2 วิธี คือ วิธีคำนวณ และ วัดค่าเสียงสะท้อนจริงจากหน้างาน  โดยจะใช้ค่าเสียงสะท้อนที่เรียกว่า Reverberation time  (RT)  แปลบ้าน ๆ คือ ค่าเสียงที่ยังเหลืออยู่หลังจากปิดแหล่งกำเนิดเสียงแล้ว (บางคนอาจจะเรียกหางเสียง) หากเราไปตบมือในห้องน้ำ  หลังจากเราหยุดตบมือแล้วยังคงมีเสียงตามหลังมาอีก นั่นแหละครับ RT โดยจะวัดในช่วงเวลาที่เสียงลดลงอย่างรวดเร็ว ในปริมาณ 60 dB ว่าใช่เวลาเท่าไหร่ มีหน่วยเป็นวินาที  เราจึงมักได้ยินค่า ว่า RT60  ไงครับ เสร็จแล้วจะนำค่า RT 60  ของห้องที่พิจารณามาเลือกใช้ ให้เหมาะ กับค่าซับเสียงของวัสดุที่เลือกมา เพื่อให้เกิดการซับเสียงรวมภายในห้อง ครอบคลุมทุกย่านความถี่ ที่พิจารณา



ข้อพึงระวังคือ

หากใช้ปริมาณมากเกินไป เกิด Dead acoustic เสียงแห้ง ฟังเพลง ดู concert  ไม่ได้เรื่อง ไม่มีหางเสียง

หากใช้น้อยเกินไป จะไม่สามารถลดเสียงสะท้อนได้ ปัญหาใหม่มาแทนที่ปัญหาเดิม

ดังนั้นคำแนะนำ คือหากท่านคิดจะใช้วัสดุซับเสียง ก็ให้ผู้ผลิต หรือ ผู้จำหน่ายแนะนำปริมาณ ที่เหมาะสมสำหรับห้องของท่าน เพราะสภาพห้อง และ การใช้งานแต่ละห้องต่างกันจึงไม่สามารถการันตีได้ว่า ติดตั้งห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ok หากนำมาติดตั้งในห้องของท่านจะ OK ตามไปด้วย



จะติดตั้งตำแหน่งไหนดี

ตำแหน่งที่ติดตั้งก็มีผล ต่อการซับเสียงเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นติดวัสดุซับเสียง ด้านหน้าห้อง กับด้านหลังห้อง พฤติกรรมการซับเสียงก็จะเปลี่ยนไป เช่นหากติดหน้าห้องแผ่นซับเสียงจะซับเสียงตั้งแต่แหล่งกำเนิด ตัดออกไปก่อนที่จะวิ่งมาที่หูเราได้ยิน ในทางกลับกันหากไปติดหลังห้อง แผ่นซับเสียงจะมีโอกาสในการซับเสียงสะท้อนที่มาจากวัสดุภายในห้อง เพื่อและตัดเสียงสะท้อนออกไปก่อนที่เสียงสะท้อนจะย้อนกลับมาที่หูเราได้ยิน ค่าแนะนำในเรื่องของ reflection path คือเสียงสะท้อนจะทำมุมตกกระทบเช่นเดียวกับมุมที่เสียงวิ่งชนวัสดุเสมอ




ติดแผ่นซับเสียงอย่างไร ถึงจะดี ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.ฉนวนกันเสียง.com/แผ่นซับเสียง/