͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: พูดน้อยก็ว่าพูดมากก็บ่น! เสี่ยอ๋อย ผิดหวัง บิ๊กตู่ สิ่งที่ควรแถลง แต่ไม่ได้แถลง  (อ่าน 483 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
17 มี.ค.63- นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chaturon Chaisang ว่าที่นายกฯควรแถลง แต่ไม่ได้แถลง

ฟังนายกฯแถลงแล้ว แม้จะไม่ผิดคาด แต่ก็รู้สึกผิดหวัง เพราะนึกว่าประชุมกันมาอย่างดีแล้ว คงจะมีมาตรการต่างๆที่ชัดเจนและมีคนเตรียมร่างสปีชให้ น่าจะดีกว่าพูดสดๆมากกว่านี้หน่อย

ที่เห็นปัญหาข้อแรกก็คือมีบางส่วนที่เป็นเฟคนิวส์อย่างชัดเจนเช่น (ที่ผ่านมา) "....คัดกรองผู้ป่วยตามมาตรฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ มีการจัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาล และเวชภัณฑ์ทั่วประเทศอย่างเพียงพอเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ...”

ที่ว่าเป็นเฟคนิวส์เพราะการคัดกรองผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยตามสนามบินและแม้แต่โรงพยาบาลหลายแห่งไม่ได้มาตรฐานเพราะไม่มีเครื่องมือส่วนสถานพยาบาลและเวชภัณฑ์นั้นที่จริงไม่เพียงพอ ข่าวจากทางราชการเองก็บอกว่ามีปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเอกชนไปโรงพยาบาลรัฐหรือแม้แต่โรงพยาบาลรัฐด้วยกันแล้วทั้งๆที่ผู้ป่วยยังไม่มาก

ที่นึกไม่ออกว่าแปลว่าอะไรคือที่ว่ายกระดับการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างเข้มข้น ที่ผ่านมาทำเพียงวัดไข้ซึ่งเกือบจะไม่บอกอะไร จากนี้ไปจะทำอย่างไรไม่ได้บอก

นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนซึ่งน่าจะให้แพทย์เป็นผู้แนะนำจะดีกว่า

อีกส่วนหนึ่งคือนายกฯดูจะเห็นว่าการที่ประชาชนตื่นตระหนกเป็นเพราะการกระจายข่าว ที่ไม่เป็นความจริง ทั้งๆที่ประชาชนตื่นตระหนกเพราะไม่เห็นว่ารัฐบาลมีมาตรการที่เข้มงวดแข็งแรงเพียงพอเสียมากกว่า

แถลงทางทีวีพูลทั้งที สิ่งที่นายกฯควรจะได้ชี้แจงให้ประชาชนเกิดความมั่นใจแต่พลาดโอกาสไปก็คือมาตรการดังต่อไปนี้

1.รัฐบาลมีหลักเกณฑ์กำหนดประเทศเสี่ยงอย่างไร จะเพิ่มจะลดด้วยเงื่อนไขอะไร มีคำถามเช่นมาเลเซียมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วและมีพรมแดนติดกับไทย จัดเป็นประเทศเสี่ยงหรือไม่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศมีผู้ป่วยเพิ่มเร็วมาก ต้องเพิ่มเป็นเท่าไรจึงถือว่าเป็นประเทศเสี่ยง ไม่ควรใช้วิธีรอให้ประเทศต่างๆปิดประเทศกันไปเอง

2.กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ชาวต่างประเทศที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงมาได้เท่าที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น งดการให้วีซ่าท่องเที่ยวที่ควรทำมานานแล้ว กำหนดให้ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงจะต้องมีการคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพและกักตัวโดยการควบคุมดูแลของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่ปล่อยเสรีอย่างที่ทำอยู่

3.การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการกักตัวเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อในประเทศให้เพียงพอ ซึ่งเร็วๅนี้อาจต้องใช้เป็นจำนวนมาก

4.แสดงความพร้อมในการเตรียมบุคลากร สถานพยาบาล เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์เช่นเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ให้เพียงพอในกรณีที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากๆ โดยระบุจำนวนที่ชัดเจน

5.มาตรการในการแก้ปัญหาหน้ากากและเยลล้างมือขาดแคลนที่เชื่อได้ว่าจะแก้ปัญหาได้จริง

6.ที่แถลงว่ามีมาตรการอย่างเข้มข้น เพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อ โดยงดกิจกรรมในสถานที่ที่มีการชุมนุมจำนวนมาก ปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สถานบันเทิง สนามกีฬา และสถานศึกษา นั้นยังมีสถานที่ประเภทอื่นใดอีกบ้าง ห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนเกิน 50 คนหรือไม่ มีบทบังคับตามกฎหมายอย่างไร

7.มาตรการที่แต่ละจังหวัดพึงใช้โดยกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ เช่นการติดตามรวบรวมข้อมูลผู้อยู่ในข่ายเสี่ยงที่จะเป็นผู้ติดเชื้อ การกำชับหรือบังคับให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัวเองหรือต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ ไม่ใช่ปล่อยให้ทำกันบ้างไม่ทำบ้างตามอัธยาศัยอย่างที่เป็นอยู่

8.การมีระบบชี้แจงให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนโดยองค์กรและบุคลากรที่เหมาะสม เชื่อถือได้ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหรือแตกต่างขัดแย้งกันเองบ่อยๆอย่างที่เป็นอยู่

น่าจะได้ประมาณนี้ เสียดายที่นายกฯเกือบจะไม่ได้พูดถึงสิ่งเหล่านี้เลย แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาคนร่างสปีชหรอกครับ เป็นเพราะไม่ได้มีการกำหนดมาตรการเหล่านี้ต่างหาก คือไม่ใช่ปัญหาควรพูดอะไร แล้วไม่ด้พูด แต่เป็นควรทำอะไร แล้วไม่ได้ทำหรือไม่ได้คิดจะทำเสียมากกว่า.