͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ร้องศาลรธน.วินิจฉัยปธ.ศาลฎีกา  (อ่าน 476 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Joe524

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15802
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด

9 มี.ค. 63 - ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยการกระทำของประธานศาลฎีกา ที่ออกคำสั่งให้พ้นจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญว่าเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และการที่นำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากราชการเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6

นายชำนาญกล่าวว่า ประธานศาลฎีกาทราบดีว่า ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาตามที่กฎหมายกำหนดให้พ้นจากราชการเมื่ออายุ 70 ปี ซึ่งตนอายุเพียง 65 บริบูรณ์ และการที่รัฐธรรมนูญมาตรา 190 บัญญัติว่า“พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากตำแหน่ง” นั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในทางส่วนตัว เพื่อให้ผู้พิพากษามั่นใจได้ว่า การแต่งตั้งโยกย้าย และการให้พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากราชการ ต้องเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เนื่องจากต้องนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ ดังนั้นกรณีนี้ประธานศาลฎีกาจึงไม่อาจนำการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมได้ แต่กลับปรากฏว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 ประธานศาลฎีกาได้ออกคำสั่งให้ตนพ้นจากราชการ

นายชำนาญกล่าวว่า นอกจากนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังเคยทักท้วงมาถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทักท้วงว่า กรณีการให้ตนพ้นจากราชการดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และส่งเรื่องคืนสำนักงานศาลยุติธรรม ส่วนครั้งที่ 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถึงสำนักงานศาลยุติธรรมว่า การขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตนพ้นจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ โดยไม่ระบุว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามมาตราใดของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ว่าเป็นการให้ตนพ้นจากราชการตามกฎหมายใด กรณีจึงไม่อาจพิจารณาได้ว่า การให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ แต่ประธานศาลฎีกาก็ยังยืนยันให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯเพื่อให้ตนพ้นจากราชการตามคำสั่งดังกล่าว

"การที่ประธานศาลฎีกายืนยันให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พ้นจากราชการ ทั้งที่มีข้อทักท้วงของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง จึงเป็นการจงใจกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ออกคำสั่งให้ตนพ้นจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 32 และการที่นำความกราบบังคมทูลเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชโองการให้นายชำนาญพ้นจากราชการ โดยขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 6"นายชำนาญ  กล่าวฎีกาล่าสุดน่าสนใจ