͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน รัตนปริตร ที่พระพุทธเจ้าทรงให้พระอานนท์นำสวด  (อ่าน 470 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
เปิดตำนาน รัตนปริตร ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้พระอานนท์ นำสวดเมื่อครั้งเกิดโรคระบาดในเมืองไวสาลี เพื่อให้เมืองไวสาลีรอดพ้นจากโรคระบาด (ข่าวที่เกี่ยวเนื่อง : เมื่อเกิดโรคระบาดในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงทำอย่างไร ??)

"รัตนปริตร" คือ ปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติเล่าว่า ในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย ทำให้เมืองเวสาลีประสพภัย ๓ อย่าง ได้แก่ ทุพภิกขภัย คือ ข้าวยากหมากแพง, อมนุสสภัย คือ อมนุษย์และโรคภัย คือ โรคระบาด


ในขณะนั้นชาวเมืองคิดว่า เมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗ รัชสมัย จึงกราบทูลเจ้าผู้ครองนครว่า ภัยนี้อาจเกิดจากการที่พระองค์ไม่ทรงธรรม เจ้าผู้ครองนครจึงมีรับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาโทษของพระองค์ แต่ชาวเมืองไม่สามารถพิจารณาหาโทษได้ ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่าควรจะนิมนต์ศาสดาองค์หนึ่งมาดับทุกข์ภัยนี้ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์เดียรถีย์ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้า ในที่สุดทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด ดังนั้น จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์มาทูลนิมนต์เพื่อระงับภัยพิบัตินั้น

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากได้มาเฝ้าในสถานที่นั้น ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีออกจากเมือง จากนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์ และรับสั่งให้ท่านสาธยายรอบเมืองที่มีกำแพงสามชั้นตลอดสามยาม พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร ครั้นอมนุษย์หนีไปและโรคระบาดสงบลงแล้ว ชาวเมืองได้มาประชุมกันที่ศาลากลางเมือง และได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองนี้ ในเวลานั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนปริตรนี้แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันในที่นั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๔๑-๔)

อนึ่ง สามคาถาสุดท้าย คือคาถา ๑๖, ๑๗, ๑๘ เป็นคาถาที่พระอินทร์ตรัสขึ้นเองโดยดำริว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างสัจวาจาที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย เราก็ควรจะกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างคุณของพระรัตนตรัยเช่นกัน ฉะนั้น พระอินทร์จึงได้ตรัสสามคาถาเหล่านั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๗๒)โชคลาภและศิริมงคล