͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สกศ.ส่องอีอีซีโมเดลสร้างคนสู่โลกยุคใหม่  (อ่าน 536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15570
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
วันนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว ทำให้มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่หากใครปรับตัวไม่ทันก็จะถูกดิสรัป ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวต้องล่มสลาย คนจะตกงานเมื่อเทคโนโลยีมาแทนที่แรงงานมนุษย์ และหากใช้เทคโนโลยีไม่เป็น จะใช้ชีวิตในการทำงาน และประกอบอาชีพได้ยากลำบากมากขึ้น

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ซึ่งมีภารกิจในการพัฒนานโยบายด้านการศึกษาและผลักดันเข้าสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดทำร่างแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ พ.ศ.2563-2570 ขึ้น เพื่อใช้พัฒนากำลังคนของประเทศให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และได้นำร่างดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค ล่าสุด "ดร.สุภัทร จำปาทอง" เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) และคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา และสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พร้อมดูงานการจัด “EEC MODEL EDUCATION SYSTEM”


"ดร.อภิชาต ทองอยู่" ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)ในฐานะประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC-HDC) เล่าว่า สกพอ.ได้วิเคราะห์และสรุปความต้องการกําลังคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและโครงสร้างพื้นฐานสําคัญในอีอีซี พบว่า ในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2562- 2566 มีความต้องการแรงงานทักษะสําคัญ จํานวน 475,668 อัตรา จำนวนนี้แบ่ง เป็นแรงงานในระดับอาชีวศึกษา 53.2 % และปริญญา 46.8 % โดยตำแหน่งงานที่มีความต้องการมาก ได้แก่ ดิจิทัล โลจิสติกส์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ตามลำดับ

สำหรับ "EEC MODEL EDUCATION SYSTEM" มีการปรับใน 3 ระบบ คือ 1.ปรับโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาและพัฒนาบุคลากรในอีอีซี ให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป รวมถึงทำหลักสูตรเป็นแบบโมดูล เรียนระบบเครดิตแบงก์สะสมได้ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนต่อเนื่อง 2.การเชื่อมประสานระหว่างสถานศึกษากับอุตสาหกรรม โดยมีโรงเรียนในอีอีซี เข้าร่วม 843 โรงเรียน 12 วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และ 9 มหาวิทยาลัย ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้จะมีการจัดให้มีการพบกันระหว่าง 2,000 บริษัท กับ 9 มหาวิทยาลัย 12 วิทยาลัย


และ 3.ปรับคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียนให้ได้ตามความต้องการที่แท้จริงของแต่ละอุตสาหกรรม โดยแบ่งความร่วมมือเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือสถานศึกษาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม โดยระบุสาขาและจำนวนคน จากนั้นมาออกแบบหลักสูตรและคัดเลือกเด็กร่วมกัน โดยออกค่าใช้จ่ายให้เด็ก 100 % เรียนจบรับเข้าทำงานทันที และแบบที่สองมีสถานที่ฝึกงาน แต่ไม่รับประกันการรับเข้าทำงาน แต่มีแผนที่จะเจรจาให้สถานประกอบการรับนักศึกษาครึ่งหนึ่ง หรือ 50% จากจำนวนผู้เข้าไปฝึกงาน เข้าทำงานเมื่อจบการศึกษา

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างภายใน EEC MODEL EDUCATION SYSTEM คืบหน้าไปแล้ว 70-80 % ในปี 2564 จะมีผลผลิตทางด้านอาชีวะประมาณ 15,000 คน แต่ยังเป็นอาชีวะ 3.0 ไม่ถึง 4.0 เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน และจะมีผู้จบหลักสูตรระยะสั้นในปี 2563 ประมาณ 30,000 คน คาดว่าใน 5 ปี จะผลิตบุคลากรป้อนภาคการผลิตได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

"ผมขอย้ำว่าเทคโนโลยีปรับเร็ว การอัดฉีดงบฯ ซื้ออุปกรณ์ไม่มีประโยชน์ ครู อาจารย์ต้องปรับวิธีคิดแบบใหม่เปิดประตูทำงานกับอุตสาหกรรม ให้เด็กเข้าไปปฏิบัติงานจริง มีการอบรมครู แล้วให้ครูตามไปกำกับให้เด็กได้เรียนรู้จริง ขณะนี้ระบบการศึกษาเปลี่ยนไปผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สนใจเรื่องใบปริญญา แต่ต้องการผู้ที่สอบผ่านมาตรฐาน ที่ผ่านมาคนไทยติดกับดักปริญญา จนทำให้มีการขายปริญญา ไม่เอาความรู้ ส่งผลให้มีคนตกงานจำนวนมาก ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาทั้งระบบใหญ่ต้องปรับตัว“ ดร.อภิชาต กล่าว

เมื่อโลกเปลี่ยนการเตรียมความพร้อมให้กับคนทุกช่วงวัย ได้อัพสกิล รีสกิล และมีอาชีพที่สองรองรับ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุคใหม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

                                                                                                                                                                          ณัชชารีย์ วิเชียรรัตน์ช่องทางหารายได้