͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ชวลิต เสนอ 3 ข้อ แก้พิษ ศก.จากโควิด-19 คนตกงาน จัดคูปองอาหาร 3 มื้อ  (อ่าน 318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kaidee20

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 16453
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม เพื่อไทย เสนอทางออก 3 ข้อ แก้ปัญหาคนไทยฆ่าตัวตาย จากพิษเศรษฐกิจเพราะโควิด-19 คนตกงาน และครอบครัวได้รับคูปองอาหาร 3 มื้อ-จ่ายเยียวยา 5 พัน 3 เดือน คนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกคน

วันที่ 25 เม.ย. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอให้ความเห็นข้อเสนอแนะ ต่อปัญหาการฆ่าตัวตายของคนไทยด้วยพิษภัยทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

3-4 วันมานึ้ คงไม่มีข่าวใดสะเทือนใจ เท่ากับข่าวที่พ่อกับลูกสาว วัยเพียง 5 ขวบ โดดน้ำฆ่าตัวตาย ทั้งพ่อ ทั้งลูก จากภาพวงจรปิดย้อนหลัง เห็นภาพชัดเจนว่า พ่อตกงาน หางานไม่ได้ ต้องไปขอข้าวชาวบ้านกินกันอดตาย ก่อนไปโดดน้ำตาย และลูกซึ่งยังไม่รู้เดียงสา ก็โดดน้ำตายตามพ่อ

ขณะนี้ ข่าวคนไทยฆ่าตัวตาย ทั้งตายสำเร็จ และไม่สำเร็จ โดยมีสาเหตุมาจากพิษเศรษฐกิจ อันสืบเนื่องจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ประชาชนตกงานแบบเฉียบพลัน กะทันหัน ไม่ทันตั้งตัว ไม่มีเงินแม้จะประทังชีวิต ทั้งตนเอง ครอบครัว ลูก หลาน รวมทั้งไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน จึงไม่มีที่จะซุกหัวนอน เมื่อเกิดความเครียด หาทางออกไม่ได้ ก็ฆ่าตัวตาย นี่เป็นสภาพของคนจนเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวชนบท ที่เคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาหางานยังเมืองใหญ่

เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากข่าว พบตัวเลขคนฆ่าตัวตาย ด้วยเหตุพิษภัยเศรษฐกิจ ปรากฏว่า มีจำนวนใกล้เคียงกับคนตายด้วยไวรัสโควิด-19 จนเกิดเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ตามมาว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการป้องกันปัญหาไม่ให้คนไทยฆ่าตัวตายด้วยพิษเศรษฐกิจด้วย ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ
มีหลักธรรมค้ำจุนสังคมอยู่ คือ เมตตา กรุณา จึงควรให้ความสำคัญ ในการรักษาชีวิตคน ที่มีสาเหตุจากทั้งพิษโรคร้ายไวรัสโควิด และพิษเศรษฐกิจ ไปด้วยกัน

ผมมีข้อเสนอแนะ ต่อการแก้ไขปัญหาคนไทยฆ่าตัวตาย จากปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

1.ให้อำเภอและเขต ออกประกาศและสำรวจปัญหาคนตกงานเฉียบพลันจากพิษเศรษฐกิจดังกล่าว แล้วดำเนินการช่วยเหลือทันที ไม่ชักช้า โดยไม่มีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก ดังนี้

1.1 คนตกงาน และครอบครัวทุกคน จะได้รับคูปองอาหาร ไว้บริโภค 3 มื้อทุกวัน และมี กระทรวงแรงงาน กับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ มาร่วมสำรวจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการมีงานทำและที่อยู่อาศัย ให้สอบถามไปในคราวเดียวกันว่า เมื่อสถานการณ์ปกติ จะกลับบ้านในชนบท หรือไม่ ถ้ากลับให้รัฐบาลจัดส่ง

1.2 คนไทยทุกคน (เน้นคำว่าทุกคน) ทั้งที่ตกงานหรือไม่ตกงาน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล รายละ 5,000 บาท/เดือน รวม 3 เดือน เป็นเงิน 15,000 บาท โดยสามารถนำบัตรประชาชน ไปขึ้นเงินได้ทุกธนาคารทันที แล้วธนาคารรวบรวมตั้งเบิกจากกระทรวงการคลัง มาชดใช้ (ยกเว้นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้รับเงินเยียวยา ส่วนคนมีฐานะ จะสละสิทธิ์ไม่รับเงินเยียวยา หรือไม่ ก็ได้ โดยผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยาไปแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับซ้ำ)

2. คนที่จะฆ่าตัวตาย ไม่ใช่เพียงระดับคนงานที่ตกงานโดยเฉียบพลันเท่านั้น แต่เจ้าของกิจการขนาดกลาง หรือ ขนาดย่อม ที่เรียกว่า SME มีเป็นจำนวนมาก ทึ่ได้รับผลกระทบ แม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือ แต่เมื่อเทียบสัดส่วนกับที่รัฐบาลช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งจำนวนเงินงบประมาณที่ช่วยเหลือ ทั้งจำนวนธุรกิจที่ช่วยเหลือ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับ SME ซึ่งเป็นธุรกิจของคนชั้นกลาง และมีจำนวนมหาศาลที่เข้าไม่ถึงทุนให้มากกว่านี้ โดยควรสนับสนุนงบประมาณ ที่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่เท่าที่จำเป็นจริง ๆ แล้วนำงบประมาณส่วนใหญ่ มาช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ไม่ให้ล้มละลาย ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งร่ำรวยระดับประเทศอยู่แล้ว มีความสามารถเพียงพอที่จะประคับประคองธุรกิจของตนเองได้ (ที่รวยมากอยู่แล้ว ให้รวยน้อยลง ไม่ใช่รวยขึ้น ๆ)

คนเครียดทึ่จะฆ่าตัวตายเพราะพิษเศรษฐกิจ มิได้มีเพียงคนระดับคนงานที่ตกงานโดยเฉียบพลัน แต่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้าไม่ถึงทุนซึ่งมีจำนวนมาก ควรได้รับการเยียวยาอย่างทั่วถึง

3. เกษตรกร เป็นอาชีพของคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ได้รับผลกระทบจากสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ มาเป็นเวลา 5-6 ปี เมื่อมาประสบกับวิกฤติไวรัสโควิด-19 จึงเดือดร้อนเป็นทวีคูณ และปัญหาความเดือดร้อนนั้น สลับซับซัอน ทั้งปัญหาเก่า ปัญหาใหม่ เกษตรกรควรได้รับการเยียวยา ครัวเรือนละ 35,000 บาท ซึ่ง ประธานยุทธศาสตร์พรรค พท.ได้เคยนำเสนอไว้แล้ว ซึ่งผมจะติดตามการเยียวยาเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างใกล้ชิดต่อไป

กล่าวโดยสรุป การแก้ไขวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา เน้นมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นการควบคุมโรค นับว่า ได้ผลเป็นที่น่าชื่นชม น่าสรรเสริญ

ขณะเดียวกัน มาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด ก็ส่งผลเสียหายทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมาอย่างมหาศาลเช่นกัน ดังเช่นมีคนฆ่าตัวตายในอัตราที่ใกล้เคียงกับคนตายด้วยพิษไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ไม่รวมความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ที่ยังไม่อาจประเมินค่าความเสียหายได้

ดังนั้น จึงเป็นหน้าทึ่ของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร จะแก้ไขปัญหาวิกฤตไวรัสโควิด-19 โดยวางน้ำหนักปัญหาด้านการควบคุมโรค กับปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม ให้เหมาะสมอย่างสมดุล ทั้งนี้ มาตรการในการผ่อนคลายเพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินธุรกิจเพื่อยังชีพได้ นั้น อย่างน้อยควรมีมาตรการควบคุม ตามข้อเสนอแนะของ WHO ไว้ด้วย เพื่อคลายความกังวลของผู้ที่เป็นห่วงมาตรการควบคุมโรค

ส่วนการแก้ไขปัญหาคนฆ่าตัวตายจากพิษเศรษฐกิจ สังคม เป็นปัญหาเฉพาะหน้า รีบด่วน ทึ่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว ข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นมาตรการหนึ่ง ที่ต้องการให้ถึงมือประชาชน ที่เดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะมีประชาชนฆ่าตัวตายมากกว่านี้.