ผวา "ลองโควิด" เร่งเปิดคลินิกรักษา คง "ยูเซปพลัส" รับปรับโรคประจำถิ่น
โควิดไทยแนวโน้มลดลง ห่วงภาวะ "ลองโควิด" นายกฯ สั่ง สธ.ติดตามอาการ ตั้งคลินิกรักษาผู้ป่วยใน รพ.ทุกระดับ
ประเมินไทยน่าจะมีคนติดเชื้อโควิด สูงเกิน 5 ล้าน คาดคนเคยป่วยมีภาวะ "Long COVID" หลายแสนจนถึงหลักล้านคน สมาคม รพ.เอกชน ยังรอความชัดเจนการเบิกค่ารักษา หลังปรับเป็นโรคประจำถิ่น
รอ ศบค.พิจารณาการใช้สิทธิเบิกค่ารักษา อาจจ่อให้คง "UCEP Plus" กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง/แดงไว้ก่อน โวให้ภูมิสูงกว่าวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดฯ ในไทย มีแนวโน้มยังอยู่ในช่วงขาลงแบบทรงตัว ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดลดลงต่อเนื่อง แต่ยอดผู้เสียชีวิตรายวันยังถือว่าสูง นอกจากนี้ยังมีการประเมินไว้ว่า น่าจะมีคนไทยเคยติดเชื้อโควิดสูงกว่า 5 ล้านคน คาดมีภาวะ "ลองโควิด" หลังหายป่วยจำนวนมาก โดยหมอแนะผู้เคยป่วยควรป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ และคอยเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ หลังหายป่วย ซึ่งหากสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา อีกทั้งยังมีการตอกย้ำว่า โควิดไม่จบแค่หายหรือตาย แต่ที่ทรมานคืออาการลองโควิดที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิตตามมาหลังหายป่วย !!! ผลวิจัยพบอัตราเกิดภาวะ "ลองโควิด" สูงถึงร้อยละ 56.9 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับอาการลองโควิดว่า อาการลองโควิดพบได้บ่อยและเป็นได้แทบทุกระบบในร่างกาย Gennaro FD และทีมได้เผยแพร่ผลการวิจัยทบทวนข้อมูลอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยกว่า 196 ชิ้นทั่วโลก รวมกลุ่มตัวอย่าง 120,970 คน เพื่อดูอัตราการเกิดภาวะลองโควิดตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก พบว่าทั่วโลกผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน จะมีอัตราการเกิดภาวะลองโควิดสูงถึงร้อยละ 56.9 โดยเกิดได้ทั่วร่างกายหลากหลายระบบ เพศหญิงมักมีอาการผิดปกติทั่วไป และอาการด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาท ในขณะที่ยิ่งมีอายุมากขึ้นจะมีอัตราการเกิดอาการผิดปกติทั่วไป อาการทางด้านจิตเวช ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ และผิวหนังมากขึ้น อาการลองโควิดพบได้ทุกเพศ ทุกวัย และเป็นได้ไม่ว่าจะเคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรง โดยสหราชอาณาจักรได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ระบุว่า ข้อมูลที่ประเมินถึงวันที่ 3 เม.ย. พบว่ามีประชากรอย่างน้อย 1.8 ล้านคน กำลังประสบปัญหาลองโควิด ผู้ป่วยลองโควิด จำนวน 791,000 คน หรือร้อยละ 44 มีอาการต่อเนื่องมาแล้วมากกว่า 1 ปี และอีก 235,000 คน หรือร้อยละ 13 มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 2 ปี อาการที่พบคือ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า มากกว่าร้อยละ 51 เหนื่อยหอบ ร้อยละ 33 สูญเสียการดมกลิ่น ร้อยละ 26 มีปัญหาเรื่องสมาธิ ร้อยละ 23
mgwin88คาดคนไทยป่วย "ลองโควิด" หลายแสนถึงหลักล้าน
รศ.นพ.ธีระ ระบุต่อว่า สำหรับไทยมีคนติดเชื้อ ทั้งการตรวจด้วย RT-PCR และ ATK ทั้งในและนอกระบบสูงเกิน 5-6 ล้านคนแล้ว ดังนั้น โอกาสที่จะมีประชาชนที่ประสบปัญหาลองโควิดจำนวนมากหลายแสนคนจนถึงหลักล้าน สิ่งที่ควรทำคือผู้ที่เคยติดเชื้อไปแล้ว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และคอยประเมินอาการผิดปกติต่างๆ หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนคนที่ยังไม่เคยติดเชื้อควรต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง ใส่หน้ากากเสมอ โควิดไม่จบแค่หายหรือตาย แต่ที่ทรมานคือเรื่องลองโควิดที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ นายกฯ สั่ง สธ.ติดตามอาการ เร่งเปิดคลินิกรองรับลองโควิด
ด้าน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายกฯ ในฐานะ ผอ.ศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิดฯ (ศบค.) มอบหมายกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ติดตามอาการและให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลตัวเอง หลังพบว่าผู้ที่หายป่วยจากโควิดแล้วจำนวนมาก มีภาวะลองโควิดหรืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วย เช่น เหนื่อยล้า หายใจไม่อิ่ม ไอ เจ็บหน้าอก การรับรู้กลิ่นและรสเปลี่ยนไป เป็นต้น หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่เร็ว และได้รับการรักษาที่เหมาะสม สามารถทำให้อาการดังกล่าวหายไปได้ และกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง "คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID" ในโรงพยาบาลทุกระดับ ให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ เตรียมเปิดคลินิก Long COVID ในโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง ในวันที่ 9 พ.ค. 2565 ได้แก่ 1.รพ.ตากสิน 2.รพ.ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 3.รพ.สิรินธร 4.รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ 5.รพ.ราชพิพัฒน์ 6.รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน 7.รพ.กลาง 8.รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ 9.รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ
รอพิจารณาสะเด็ดน้ำ เคาะการใช้สิทธิ
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นที่ไทยเตรียมปรับโควิด เป็นโรคประจำถิ่นว่า ขณะนี้สถานการณ์โควิดในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่จะต้องติดตามอีกสักระยะ และพิจารณาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า ยอดผู้ติดเชื้อที่ลดลงนั้นเป็นเพราะไม่ได้ตรวจหรือลดลงจริง รวมถึงผู้เสียชีวิตที่ลดลงเป็นเพราะมีการแยกผู้เสียชีวิตจากโควิด ออกจากผู้เสียชีวิตที่มีการติดโควิดร่วมด้วย ซึ่งตามเกณฑ์การเป็นโรคประจำถิ่นนั้น จะต้องมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 8,000 คนต่อวัน ดังนั้น จะต้องมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 8 คนต่อวัน แต่ขณะนี้ยังมีประมาณ 50 คนต่อวัน ขณะที่ระบบบริการที่รัฐต้องเตรียมความพร้อม คือ การให้บริการรักษาฟรีในระบบประกันสุขภาพภาครัฐทั้ง 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม จะให้สิทธิแบบไหน คณะกรรมการแต่ละกองทุนต้องรีบพิจารณา เพื่อวางแนวทางและประกาศออกมาให้ชัดเจน
mgwin88 ??อาจจ่อให้คงยูเซปพลัส กลุ่มเหลือง-แดงไว้ก่อน
ด้าน นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลักการของ สปสช.ซึ่งดูแลกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ ประชาชนต้องได้รับบริการเมื่อโรคโควิดเป็นโรคประจำถิ่น อาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด นอนพัก 1-2 วัน หรือรับประทานยา 1-2 วัน แล้วหาย กับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นแล้วมีอาการรุนแรง จะต้องมีการพิจารณาเรื่องของการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis-Related Group: DRG) ที่จะอ้างอิงในการรักษาผู้ป่วยโควิด จึงต้องคิดคำนวณและหารือว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่เหมาะสม โดยทิศทางจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับ 3 ปัจจัย คือ 1.องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิดเป็นอย่างไร มีโอกาสที่จะกลายพันธุ์รุนแรงขึ้นอีกได้หรือไม่ 2.ระดับนโยบายจะพิจารณาอย่างไร จะให้เป็นบริหารจัดการร่วม 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐหรือไม่อย่างไร และ 3.กฎหมายและการกำกับติดตาม ซึ่งเป็นข้อจำกัด เนื่องจากทั้ง 3 กองทุนถือกฎหมายคนละฉบับ แต่พยายามหาจุดร่วมเพื่อให้ระบบบริการเดินหน้าได้ ส่วนตัวเห็นว่า UCEP Plus ยังเป็นทิศทางที่น่าจะประคองไว้ เพราะเป็นการรักษาชีวิตคน
สปส.ยันประกันสังคมดูแลตามสิทธิเดิมใน รพ.คู่สัญญา
ขณะที่ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกรมสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด สปส.มีการปรับตัวอย่างมาก และประเมินตนเองว่าทำได้ค่อนข้างดี เช่น มีการตรวจคัดกรองเชิงรุกในทุกสถานประกอบการ การฉีดวัคซีน และโครงการโรงงานแซนด์บ็อกซ์ เป็นต้น หากมีการประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น เบื้องต้นหลักประกันสังคมจะดูแลตามสิทธิเดิมใน รพ.คู่สัญญาหลักที่สามารถเข้าไปรับการรักษาได้ ส่วนเรื่องยาและอื่นๆ ให้ความมั่นใจและรับประกันว่า สามารถดูแลตรงส่วนนี้ได้แน่นอน ส่วนจะรวมยารักษาโควิดเข้าไปในสิทธิประกันสังคมได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้คณะกรรมการการแพทย์กำลังหารืออยู่
รอ ศบค.พิจารณาสิทธิรักษา หลังปรับเป็นโรคประจำถิ่น
สำหรับการใช้สิทธิของข้าราชการและเจ้าพนักงานของรัฐนั้น นายรชตะ อุ่นสุข นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ถ้าประกาศเป็นโรคประจำถิ่น สิ่งสำคัญคือ ยูเซปพลัสจะอยู่ต่อหรือไม่ ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ต้องกำหนดเรื่องนี้ โดยจะต้องหารือในคณะกรรมการสถานพยาบาลและดูสถานการณ์ของ ศบค.ว่าจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจะยังคงให้ดำเนินการเรื่องยูเซปพลัส ดูแลผู้ป่วยสีเหลืองและแดงไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดก็ปีหน้า ส่วนผู้ป่วยสีเขียว ควรกลับเข้าสู่ระบบปกติ แต่หากรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ต้องจ่ายเงินเอง
mgwinบัตรทองคลุมรักษาลองโควิด แต่ขึ้นอยู่กับนิยามอาการ สธ.-ศบค.
ส่วนกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยโรคโควิด ที่รักษาหายแล้วมีอาการลองโควิดเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษานั้น นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาฯ สปสช.กล่าวว่า หลักการของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง จะครอบคลุมการรักษาทุกโรคอยู่แล้ว ขึ้นกับการวินิจฉัยโรคของแพทย์ เบื้องต้นอาการลองโควิดจะมีสภาพต่างๆ เช่น ปวดหัว เป็นไข้ อ่อนเพลีย โดยหลักการแล้วมั่นใจผู้มีสิทธิบัตรทองจะครอบคลุมการรักษาดังกล่าวได้ แต่ต้องขึ้นกับการนิยามอาการลองโควิดของกระทรวงสาธารณสุข และ ศบค.ด้วย บางอาการดูเหมือนเป็นอาการใหม่ ที่งบประมาณที่มีอยู่อาจไม่ครอบคลุม หรือไม่เคยมีการตั้งงบประมาณไว้ อาจทำให้ รพ.หรือผู้ให้การรักษาเกิดข้อกังวลว่าจะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน สปสช.อาจจะต้องตั้งงบประมาณและกำหนดให้ชัดเจนว่า เป็นงบสำหรับการรักษาอาการลองโควิด ซึ่ง สปสช.เคยดำเนินการแล้ว ในกรณีตั้งงบประมาณสำหรับเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งนี้ขอให้ประชาชนไม่ต้องกังวลใจ เพราะ สปสช.จะติดตามสถานการณ์และปรับปรุงเกณฑ์ให้เหมาะสมเพื่อดูแลประชาชนอยู่แล้ว
โววัคซีนโควิดฯไทย ให้ภูมิสูงกว่าไฟเซอร์ ที่อนุมัติใช้ในประเทศ
ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิดสัญชาติไทยนั้น น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน "Chula Cov19" ชนิด mRNA สัญชาติไทยแล้ว โดยเมื่อเดือน พ.ย. 2564 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติงบประมาณสนับสนุน 2,316 ล้านบาท ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ การผลิตอยู่ในขั้นการออกแบบวัคซีนและให้โรงงานในสหรัฐอเมริกาผลิต ซึ่งผ่านการทดสอบในอาสาสมัคร ระยะที่ 1 และ 2 แล้ว มีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิได้สูงเป็นที่น่าพอใจ ขนาดที่เลือกเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในไทย ได้ภูมิที่สูงกว่าชัดเจน ส่วนระยะต่อไปจะผลิตวัคซีนเองภายในประเทศ โดยบริษัท ไบโอเนทเอเชีย จำกัด เมื่อผลิตวัคซีนลอตแรกเรียบร้อยและผ่านการประกันคุณภาพแล้ว ทางทีมวิจัยได้ส่งเอกสารและข้อมูลต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย.หากผลทดสอบวัคซีนที่ผลิตเอง ในไทยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ คาดว่าจะขึ้นทะเบียน วัคซีนได้ภายในปลายปี 2565.
mgwin88 ??