͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2565 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2565  (อ่าน 13 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 18534
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2565 และไตรมาสที่ 1 ของปี 2565

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 119.7 เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 8.6 (YoY) ซึ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกหมวดสินค้า โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานเป็นสำคัญ อาทิ น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน และอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างของประเทศ

ภาพรวมการก่อสร้าง ถึงแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคด้านต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงอุปทาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้อุตสาหกรรมการก่อสร้างที่กำลังจะเริ่มมีทิศทางและแนวโน้มดีขึ้น เริ่มชะลอลง

การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง

1. เทียบกับเดือนมีนาคม 2564 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 8.6 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.4 จากการสูงขึ้นของแผ่นไม้อัด ไม้แบบ ไม้คาน ไม้โครงคร่าว ไม้พื้น และไม้ฝา เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 5.6 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ยังคงมีสาเหตุหลักจากต้นทุนวัตถุดิบ (ถ่านหิน และน้ำมัน) ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 6.0 ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการสูงขึ้นของต้นทุนเป็นสำคัญ โดยสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น ได้แก่ ชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีต เป็นต้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 19.8 จากการสูงขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีความผันผวนและมีแนวโน้มที่ราคาจะยังคงสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและอุปทาน หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น กระเบื้องแกรนิต และกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของ สีรองพื้นโลหะ และซิลิโคนเนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากการสูงขึ้นของฝักบัวอาบน้ำ ราวแขวนผ้าติดผนัง กระจกเงา ที่ใส่กระดาษชำระ และฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 4.6 จากการสูงขึ้นของท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT ประตูน้ำ ท่อ PVC และถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นต้น เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบยังคงปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.0 จากการสูงขึ้นของ สินค้าในกลุ่มอลูมิเนียม ยางมะตอย และหินดินทราย เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบเป็นสำคัญ ได้แก่ น้ำมัน อลูมิเนียม เป็นต้น

2. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 2.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของ ไม้พื้น ไม้โครงคร่าว ไม้แบบ ไม้คาน และไม้ฝา เนื่องจากการสูงขึ้นต้นทุนการขนส่งและค่าน้ำมัน เป็นสำคัญ หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับตัวสูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน โดยสินค้าสำคัญที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ชีทไพล์คอนกรีต คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตผสมเสร็จ เป็นต้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 5.8 เนื่องจากราคาเหล็ก ในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยสินค้าสำคัญที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี และชีทไพล์เหล็ก เป็นต้น หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC ท่อ PVC และข้องอ-ข้อต่อท่อประปา เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากการสูงขึ้นของวงก.ูมิเนียม และยางมะตอย เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ได้แก่ น้ำมัน และอลูมิเนียม) มีการปรับตัวสูงขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดสุขภัณฑ์

3. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 7.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.3 จากการสูงขึ้นของไม้คาน ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว แผ่นไม้อัด ไม้ฝา และไม้พื้น เนื่องจากต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 4.8 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งยังคงสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนเฉลี่ยวัตถุดิบ (ได้แก่ ถ่านหิน และน้ำมัน) ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 5.7 ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสูงขึ้นของชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป และเสาเข็มคอนกรีต เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทั้งต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 14.9 จากการสูงขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งกลุ่มประเทศผู้ผลิตเหล็กมีการลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ราคาเหล็กเฉลี่ยยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น กระเบื้องแกรนิต และกระเบื้องลอนคู่ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยที่ยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.1 เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สีรองพื้นโลหะ และซิลิโคน หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากการสูงขึ้นของฝักบัวอาบน้ำ ราวแขวนผ้าติดผนัง ที่ใส่กระดาษชำระ กระจกเงา และฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 5.0 จากการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าสำคัญที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT ประตูน้ำ ท่อ PVC สามทางท่อประปา และข้องอ-ข้อต่อท่อประปา เป็นต้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 5.7 จากการสูงขึ้นของ สินค้าในกลุ่มอลูมิเนียม ยางมะตอย และอิฐหินดินทราย เนื่องจากราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบ ได้แก่ น้ำมัน และอลูมิเนียม เป็นต้น

4. ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 1.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสูงขึ้นของไม้คาน ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว แผ่นไม้อัด ไม้ฝา และไม้พื้น เนื่องจากต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 1.8 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนฉาบสำเร็จรูป ซึ่งยังคงสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสูงขึ้นของชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีต และคอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กร้อยสายไฟ ลวดผูกเหล็ก และชีทไพล์เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาเหล็กยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 3.4 เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น ได้แก่ กระเบื้องยาง PVC และบัวเชิงผนัง PVC เป็นต้น หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของสีรองพื้นโลหะ เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.3 จากการสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT ประตูน้ำ ท่อ PVC สามทางท่อประปา และข้องอ-ข้อต่อท่อประปา เป็นต้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มอลูมิเนียม ยางมะตอย และหินดินทราย เนื่องจากราคาเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบ ได้แก่ น้ำมัน และอลูมิเนียม เป็นต้น ในขณะที่หมวดสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่ หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.1 ลดลงเล็กน้อย จากการลดลงของที่ปัสสาวะเซรามิก

5. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาสที่ 2 ปี 2565

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาส 2 ปี 2565 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัว จากราคาสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวตามอุปทานเหล็กที่มีแนวโน้มตึงตัว อันเป็นผลจากปริมาณการผลิตเหล็กดิบโลก โดยเฉพาะผู้ผลิตและส่งออกรายสำคัญอย่างจีนลดกำลังการผลิตลงถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปีก่อน ตามนโยบายลดมลภาวะจากการผลิตเหล็กที่คาดว่าจะนำไปสู่การปรับลดการผลิตเหล็กดิบในระยะยาว ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลเพิ่มเติมต่อภาวะการตึงตัวของอุปทานเหล็กในตลาดโลก เพราะปริมาณส่งออกเหล็กของทั้ง 2 ประเทศรวมกันอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการส่งออกของจีน แม้ไทยจะได้รับผลกระทบอย่างจำกัดเพราะพึ่งพาเหล็กจากทั้ง 2 ประเทศในสัดส่วนน้อย แต่ยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากราคาเหล็กนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาน้ำมัน วัตถุดิบ ที่อยู่ในระดับสูงจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้าง และมีผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างอื่น อาทิ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (ยางมะตอย) ยังคงสูงขึ้นตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวดด้วยการล็อกดาวน์ในจีน และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จะเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่ออุปสงค์ของภาคการก่อสร้างและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์