͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: นายกฯ เรียกหารือด้านพลังงาน กำชับหาแนวทางเหมาะสมเกิดผลกระทบน้อยสุด  (อ่าน 59 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 14930
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
นายกฯ เรียกหารือด้านพลังงาน กำชับหาแนวทางเหมาะสมเกิดผลกระทบน้อยสุด

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เรียกนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ผู้บริหาร บมจ.ปตท. (PTT) พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา เข้าหารือที่ทำเนียบรัฐบาล คาดว่าจะเป็นการหารือเกี่ยวกับปัญหาราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นและยังมีความผันผวน จนอาจส่งผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรี ได้หารือด้านราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากสถานการณ์โลก โดยให้ทุกหน่วยงานร่วมพิจารณาเสนอแนวทางที่เหมาะสม และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อประชาชนทุกคน

พร้อมมีการหารือแผนการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (S-curve) โดยได้รับทราบการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการลงทุนโครงการอุตสาหกรรมอนาคต (S-curve) ในด้านต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ซึ่งมีพัฒนาการในการดำเนินการที่ดี มีความก้าวหน้า และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากนักลงทุน คาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในเร็ววันนี้ การพัฒนารูปแบบการรับวีซ่าแบบ Long-Term Resident (LTR) เพื่ออำนวยความสะดวก และปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการ ปัญหา อุปสรรค สำหรับทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่ประสงค์พักในประเทศไทยระยะยาว อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น

รวมทั้ง ที่ประชุมได้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับการหารือเพื่อเปิดการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย ในด้านสำคัญ ๆ อาทิ แนวทางเพื่อการลงทุนร่วมกันด้านอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี (Downstream partnership) การลงทุนด้านรถไฟฟ้า (EV Hub) การลงทุนเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวเคมี รวมทั้งการลงทุนสมัยใหม่อุตสาหกรรมวิดีโอเกมส์/อุตสาหกรรมบันเทิง เป็นต้น ซึ่งคาดว่าความร่วมมือระหว่างกันจะมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมภายในเดือนมีนาคมนี้

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ให้แนวทางในการทำงานแก่ที่ประชุมว่า ให้ทำงานเชิงรุก ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์ รวมทั้งต้องทำงานแบบก้าวหน้า และยั่งยืน รวมทั้งพิจารณาโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างรอบคอบ ซึ่งในส่วนของสถานการณ์การค้าการลงทุนที่มีแนวโน้มที่ดีนั้น ขอให้คิดคำนึงให้รอบด้าน ปรับแนวทางการทำงานให้เหมาะสมสอดคล้อง รองรับกับสถานการณ์ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย