͸Ժ

ผู้เขียน หัวข้อ: สวิตเซอร์แลนด์รั้งอันดับ 1 ประเทศน่าอยู่ เดนมาร์กอันดับ 2  (อ่าน 87 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Cindy700

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15687
  • การ์ม่า: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
สวิตเซอร์แลนด์รั้งอันดับ 1 ประเทศน่าอยู่ เดนมาร์กอันดับ 2 สหรัฐหลุดโผ Top 10

CS Global Partners บริษัทการตลาดและที่ปรึกษาของภาครัฐชั้นนำระดับโลก ได้เผยแพร่รายงาน World Citizenship Report (WCR) ซึ่งจัดทำดัชนี World Citizenship Index (WCI) เพื่อเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองของประเทศต่าง ๆ จากมุมมองของพลเมืองทั่วโลก โดยได้ประเมิน 187 ประเทศและดินแดน ใน 5 ปัจจัยหลักที่กำหนดความเป็นพลเมืองของพลเมืองทั่วโลก

สวิตเซอร์แลนด์ทำคะแนนได้สูงสุด (88.1) ตามมาด้วยเดนมาร์ก (88.0) ในอันดับ 2 ส่วนอันดับ 3 ร่วมตกเป็นของฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน (86.9) นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ามหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาไม่ติด 10 อันดับแรก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งทั่วโลกมีมุมมองที่เปลี่ยนไปอย่างมากเกี่ยวกับความสามารถของประเทศยักษ์ใหญ่ในการมอบข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน เอเชียได้กลายเป็นศูนย์กลางของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากข้อได้เปรียบทางธุรกิจมากมาย ที่โดดเด่นคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งรั้งอันดับ 6 และสิงคโปร์ในอันดับ 7

สำหรับ 5 ปัจจัยหลักที่มีการประเมินประกอบด้วย ความมั่นคงปลอดภัย คุณภาพชีวิต โอกาสทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการเดินทางทั่วโลก และอิสระทางการเงิน โดยพิจารณาจากข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการ ได้แก่ ผลวิจัยจากธนาคารข้อมูลชั้นนำ บทสัมภาษณ์ และผลสำรวจนักลงทุนผู้มั่งคั่งกว่า 500 ราย ซึ่งในรายงาน WCR ไม่ได้มองในแง่ความแข็งแกร่งของพาสปอร์ตเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการเลือกขอสัญชาติที่สองด้วย

Micha Emmett ซีอีโอของ CS Global Partners กล่าวว่า รายงาน WCR มีความโดดเด่นเหนือรายงานอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม เพราะสำรวจประเทศที่มอบสิทธิประโยชน์สูงสุดให้แก่พลเมืองโลก โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด ซึ่งบรรดาผู้ที่มีช่องทางต่างแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ และความมั่นคงปลอดภัยมากกว่าเดิม

"ผู้มีความมั่งคั่งต้องพิจารณาปัจจัยมากมายก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างการขอสัญชาติที่สองและการลงหลักปักฐานในประเทศที่สอง แน่นอนว่าความแข็งแกร่งของพาสปอร์ตเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ปัจจัยนี้ก็มีความผันผวนอย่างมากเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการจำกัดการเดินทางในสถานการณ์โควิด" Micha Emmett กล่าว
นอกจากนี้ Micha Emmett กล่าวเพิ่มเติมว่า "เมื่อมีทางเลือกในการขอสัญชาติที่สองหรือสาม คำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจของผู้มีความมั่งคั่งคือ เราควรเลือกที่ไหนดี เราจึงต้องการนำเสนอสิ่งที่ได้รับความสนใจและส่งผลต่อพลเมืองโลกอย่างแท้จริง"

นอกเหนือจากการวิเคราะห์สมรรถภาพของประเทศต่าง ๆ แล้ว รายงาน WCR ยังสำรวจแนวทางที่ผู้มีความมั่งคั่งใช้ในการปกป้องและเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตนเอง หนึ่งในนั้นคือการวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องพิจารณาถึงภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์เกิดใหม่ที่มีมูลค่าอย่างเช่นสกุลเงินดิจิทัล

รายงานดังกล่าวยังค้นพบด้วยว่า การลงทุนเพื่อขอสัญชาติ (Citizenship by Investment: CBI) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้มีความมั่งคั่งที่สุดจากทั่วโลก และกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด โดย CBI มอบทางเลือกและทางออกที่ประหยัดเวลาในการขอสัญชาติ แม้ผู้ที่ไม่มีพันธะด้านการสมรส การสืบสกุล หรือการแปลงสัญชาติในประเทศนั้น ๆ ก็สามารถได้รับสัญชาติที่สองภายใน 3-4 เดือน เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน

รายงานระบุว่า ผู้ประกอบการและนักธุรกิจต่างกำลังมองหาการลงทุนที่มั่นคงท่ามกลางการล็อกดาวน์ทั่วโลก แม้ว่าอนาคตไม่อาจล่วงรู้ได้ แต่การตามทันกระแสโลกได้ช่วยให้ผู้มีความมั่งคั่งและพลเมืองโลกจำนวนมากสามารถคว้าโอกาสในสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน ทั้งนี้ รายงาน WCR ตั้งใจนำเสนอกระแสโลกเหล่านี้ และช่วยให้กระบวนการขอสัญชาติที่สองเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้มีความมั่งคั่งและครอบครัวให้ความสนใจมากที่สุด